การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ชนิดการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ (HbA1C>7%) จำนวน 95 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด และพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดระดับพอใช้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค ส่วนปัจจัยด้านอื่น ได้แก่ การเรียกร้องและความชอบอย่างอื่นที่เกิดขึ้น อิทธิพลด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและรักษาโรค สิ่งจูงใจสู่การปฏิบัติ และอิทธิพลด้านสถานการณ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรค ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ -0.240 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากข้อค้นพบของการวิจัยนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ ควรจัดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความตระหนัก การฝึกทักษะในการปฏิบัติ แก่ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน และการติดตามเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่่ยวข้องสามารถนำผลที่ได้นำไปเป็นแนวทางในการติดตามและให้คำแนะนำในผู้ป่วยรายบุคคลเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อการมารับการรักษา การปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้รวมถึงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
Descriptive research was used in conjunction with correlational research. This research aimed to study factors that could predict behaviors that reduced blood sugar levels of diabetic patients in Bangpoomai Tambon Health Promoting Hospital, Samutprakarn province. The samples were diabetic patients who had HbA1C of more than seven percent. Samples of 95 diabetic patients were selected using a simple random sampling technique. A questionnaire was used as a research instrument, which consisted of demographic data, factors related to behaviors that reduced blood sugar level and behaviors to reduce blood sugar levels. The data were analyzed by multiple regression analysis. The study findings showed that diabetic patients had an overall behavior to reduce sugar levels in a fair level. Factors related to behavior that reduced blood sugar levels were a perceived susceptibility and severity. However, the immediate competing demand and preference, interpersonal influences, perceived barriers, perceived benefits, motivation of action and situational influences were not realted to behavior which reduces blood sugar levels that were statistically significant at the 0.05 level. A perceived susceptibility and severity could predit behaviors to reduce blood sugar levels of diabetic patients with the coefficient at -0.285. As a result of the findings of this research, The Bangpoomai Tambon Health Promoting Hospital should events to strengthen awareness skills practice diabetic patients in the community and monitoring to ensure people with diabetes have a habit of lowering blood suagr levels better. Moreover, other personnel can use the findings of this study for monitoring and advising patients individually to achieve a good relationship with treatment and regular follow-up which will reduce blood sugar levels including and long-term complications.