งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของนโยบายภาครัฐเกี่ยวกับเกษตรแปลงใหญ่ที่มีต่อเกษตรกรและห่วงโซ่อุปทานปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับระบบและกลไกของนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ด้านการลดต้นทุน การกำหนดราคา การเจรจาต่อรอง และช่องทางการจำหน่าย สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรแปลงใหญ่ ผู้เลี้ยงผู้แปรรูป ผู้รับซื้อ ผู้ขายปลาสลิด และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงและแปรรูปปลาสลิดให้สามารถสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันได้ ใช้แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 48 ราย วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ การแจกแจงความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงและแปรรูปปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการรวมตัวตามนโยบายเกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับมาตรฐานการรับรองฟาร์ม GAP ทุกแปลง ทำให้เป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค มีความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน แหล่งข้อมูลความรู้ ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ปัญหาสำคัญของเกษตรกรปัจจุบัน คือ เงินทุนในการเลี้ยงปลาสลิดที่มีผลโดยตรงต่อผลผลิต ใช้เวลาในการเลี้ยงแต่ละรอบมีระยะเวลานานมีผลผลิตปีละ 1 ครั้ง และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) แนวทางการลดต้นทุน คือ เกษตรกรควรมีการแลกเปลี่ยน เพาะพันธุ์และจำหน่ายพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยงกันเอง และการรวมตัวกันจัดหาวัตถุดิบในการเลี้ยงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สามารถเจรจาต่อรองราคาปลาสลิด ภาครัฐควรให้การส่งเสริมผลักดันด้านการเลี้ยง การเพิ่มผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การดำเนินงานของเกษตรแปลงใหญ่ปลาสลิดมี 2 ประเด็น ได้แก่ การอนุมัติวงเงินกู้ (จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) อัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.01 เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและจัดตั้งห้องเย็นสำหรับแช่ปลาสลิด ที่ผ่านมายังไม่มีผลลัพธ์เป็นรูปธรรม การรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่จะช่วยให้เกษตรมีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง ผลดีจะเกิดจากการประกันราคาขายปลาสลิดสด การกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงยังทำได้ยากเพราะผู้เลี้ยงแต่ละคนมีเทคนิคและวิธีเลี้ยงที่แตกต่างกัน ควรกำหนดเป็นแบบอย่างเดียวกันเพราะมีผลต่อขนาดของปลาสลิดและการกำหนดราคา
This research aims to study government policy's results about large agricultural land plot toward farmers and snakeskin gourami supply chain in Samutprakarn Province, SWOT analysis of system and mechamism of the policy in cost reduction, pricing, bargaining and channel distribution. The opinion survey of large agricultural land plots plot's policy, farmers, processors, buyer and sellers and government sector's representative to find guideline of potential development in farming and processing to have competitive advantage. The samples were undertaken 48 using survey technique, questionnaire, interview and focus group. Statistically analyze by using average, percentage, frequency and content analysis. Research results found that large agricultural land plot' performance have system and mechanism must get cooperation between farmers, enterpreneurs and government sectors to have the participate seriously and continuously in the career fish farmer and processor snakeskin gourami in Samutprakan Province. The result of gathering along with large agriculural land plot to have standardization in GAP every farming to be organic product relevant to consumer' need. The accessibility to funding source, knowledge sources and the help government and private agencis. The farmer's primary problem in nowadays were funding that effort to productivity, long period farming, productivity one time per year and have not register in GI. The guideline of cost reduction were there should have farmer's discussion and exchange views about fish species farming and selling, materials source's cooperation in own group not via middleman, have skill in price's negotiation. The government sectors should promote and encourage in farming, productivity and product processed. The operation of large agricultural land plot have 2 issues, loan approval (from Bank of Agriculture and Cooperatives) minimum rate of interesst 0.01 for working capital and to have cold room for snakeskin gourami fish which have not still not concrete. The integration of large agricultural land plot will create bargaining power with the middleman. The advantage of fresh fish price guarantee, set the same standard was difficult because farmers have own and different techniques and patterns of farming they should gave the same pattern whoch effct to size and pricing.