การศีกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปีงบประมาณ 2559 มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือน 1 พฤษภาคม 2560-30 เมษายน 2561 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้เลี้ยง เจ้าของบ่อและแรงงานในการเลี้ยง การแปรรูปและการจำหน่ายปลาสลิด จำนวน 85 คน อสม. ในพื้นที่ จำนวน 35 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 จำนวนคน และผู้อำนวยการของ รพ. สต. จำนวน 1 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามตามแบบโครงสร้างเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการตรวจร่างกายกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางจัดทำโครงการ/กิจกรรมดูแลสุขภาพเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อโดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน ภายหลังจัดกิจกรรมได้จัดทำพัฒนาแผนสุขภาพแบบมีส่วนร่วม และสังเคราะห์รูปแบบการดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาดิบบางบ่อแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาภาวะสุขภาพทั้งที่เกี่ยวเนื่องและไม่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ระดับอ้วน (>25 kg/m2) ระดับไขมันผิดปกติ ได้แก่ ไขมัน เอชดีแอล, แอล ดี แอล และคอเลสเตอรอล สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และกลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คนในครอบครัวมีประวัติการมีโรคประจำตัว 2. ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดปัญหาภาวะสุขภาพที่พบ คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพยังไม่เพียงพอ ทั้งในด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปฏิบัติตน การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการจัดการ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง 3. ปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งคุกคามทางสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ได้แก่ ลักษณะงานที่ทำส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย การยืนตากปลา นั่งขอดเกล็ด/ตัดหัวปลา และยก/ขนลังปลา น้ำหนักสิ่งของที่ยกเป็นประจำมีน้ำหนักมากที่สุด 15-10 กิโลกรัม โดยยกสิ่งของในแต่ละวันมากที่สุด 1-5 ครั้ง ลักษณะงานที่ทำต้องทำในท่าทางเดิมซ้ำๆ ตลอดระยะเวลาทำงาน ส่วนใหญ่ทำงานทุกวัน มีเวลาในการพักในระหว่างทำงาน 10-30 นาทีต่อวัน ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับเวลาทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น จะเห็นได้ว่าลักษณะงานที่เป็นงานที่ค่อนข้างหนัก เนื่องจากต้องทำงานแข่งกับเวลาา มีเวลาพักน้อย หากทำงาานมากก็จะได้เงินมากเช่นกัน จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดโหมทำงานต่อเนื่องทำให้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานส่วนใหญ่ คือ มีอาการปวดเมื่อยทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อตำแหน่งที่มีอาการอันดับแรก คือ ปวดหลังส่วนล่าง ปวดไหล่ และปวดเข่า (ตามลำดับ) 4. การสังเคราะห์รูปแบบการดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้การดูแล ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและแปรรูปเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ แบ่งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิด ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มสุขภาพดี 2) กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค และ 3) กลุ่มเจ็บป่วย โดยมีการจัดกิจกรรมในการดูแลสุขภาพครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟู ซึ่งการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม โดยกลุ่มที่สุขภาพแข็งแรง เน้นการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง ต้องเน้นการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และกลุ่มเจ็บป่วยเน้นเรื่องการรักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรค ภาคีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมดูแลสุขภาพกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงและแปรรูป มี 5 ภาคส่วน ได้แก่ นายจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)โรงพยาบาบส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสถาบันการศึกษา ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยนี้ ควรมีโครงการเพื่อติดตามปัญหาภาวะสุขภาพของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสลิดอย่างต่อเนื่องและศึกษาถึงผลความสำเร็จของโครงการในระยะยาว เช่น ภาวะสุขภาพ การควบคุมโรค หรือประเด็นความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพเพื่อพัฒนาการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และบทบาทในการทำงานของหุ้นส่วน นอกจากนี้ควรหากลยุทธ์ในการกระตุ้นให้เกษตรกรเลี้ยงปลาสลิด และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ผลงานวิจัยนี้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสุขภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและป้องกันเชิงรุก และสามารถต่อยอดและขยายผลกิจกรรมและโครงการที่่เกี่่ยวข้องเพื่อนำไปพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยการนำแผนพัฒนาสุขภาพที่ได้จัดขึ้นนี้ไปบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป
The Participatort Action Research (PAR) was aimed to study the health status and factors affecting the health of farmers and stakeholders in Snakeskin Gourami fish farming Bang Bo District, Samutprakarn Province. The objectives of this study were to investigate the health status and factors affecting the health of farmers and stakeholders in Snakeskin Gourami fish farming Bang Bo District and Support funding from the Thailand Research Fund (TRF) in fiscal year 2016. Research Areas from May 1, 2016 to April 30, 2018 . Population and sample were 122 people include farmer and stakeholders in Snakeskin Gourami fish farming of 35 persons nurse 1 people and head of health promotion hospital 1 person. The researcher constructed a structured questionnaire to serve as a tool to collect both quanntitative and qualitative data. This includes the questionnaire. In-depth interview and physical examination. To initiate a project/health, activity synthesized the health care model of farmers and stakeholders in Snakeskin Gourami fish farming and integrating research into teaching students of Huachiew Chalermprakiet University. The result results were as follow: 1. Health-related and non-work-related health problem is those at risk for chronic disease, including BMI (>25 kg/m2). LDL, LDL and cholesterol, smoking, alcohol, and chronic disease include high blood lipids. Hypertension, diabeted, family history of congestive heart disease. 2. Factors that cause health problems are health and health behaviors. In the field of health knowledge to practice. Access to health information and services Information Access and Health Services Communication skills Management Skills and self-care behaviors. 3. Risk factors or health threats related to work: Most of the work done consisted of standing with fish, scabbard, fish head, and raised/raised fish. Maximum 15-10 kilograms by lifting items in most days 1-5 times the work done in the same manner repeatedly. During work time. Mostly work every day. There is a 10 to 30 minutes per day work period, which is very little compared to working hours from morning to evening. It can be seen that the work is quite heavy. Because I have to work against them. Have a little break. If you work a lot, it will be very money as well. As a result, fishers working on fish gills continue to work. Most of the health problems caused by the work are pain, skeletal system and muscular disease. The first symptoms were back pain, lower back pain and shoulder pain. Knee pain (in order). 4. Synthesis of health care models of farmers and those involved in participatory fish farming. Target groups that need to be cared for being the group of farmers, fishermen and fish processing. There are 3 groups of fish farmers: 1) the healthy groups 2) the risk of disease group and 3) the illnesses groups. Health promotion activities in 4 dimensions: Health promotion, disease pervention, treatment and rehabilitation. Health care activities must be aligned with the target group. By healthy groups focusing on health promotion, the risk group need to focus on preventing to illness. And the illness groups focuses on treatment and rehabilitation. The network of health care providers, farmers and processors is divided into 5 sub-sectors: employers, sub-district administration organizations, Sub-district Health Promoting Hospital, sub-district health volunteers, and educational institutes. Recommendation: There should be a project too monitor the health status of farmers and fish farmers, and to study the success of the project inn the long-term, for health screening, diseased control, or strengthen the community. Including study of factors affecting the participation process in health development for participatory development and the role of the partner. In addition, should find strategies to encourage farmers and fish farmers to join in the project. This research was conducted utilizing the data from the health database of fish farmers, some gilts and related persons to promote and proactively protect them. It can expand and expand and the activities and related projects to develop a sustainable health care model. The development of this health is included in the strategy to improve the quality of life of farmers in the area.