งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนการเลี้ยงและผลิตภาพที่เหมาะสมต่อราคาปลาสลิดหน้าบ่อที่เป็นธรรมต่อผู้เลี้ยงปลาสลิดของกลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการรวมกลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่ของกลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง ในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก วิธีการคำนวณวิเคราะห์หาต้นทุนท้้งหมด ต้นทุนเฉลี่ย รายได้ ผลิตภาพการเลี้ยงปลาสลิด และกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้พร้อมกับการฝึกปฏิบัติลงบันทึกบัญชีฟาร์มให้แก่กลุ่มเกษตรกร กรอบการวิจัยนี้มีพื้นที่วิจัยคือกลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่ของกลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 26 ราย พื้นที่ร่วมโครงการประมาณ 740 ไร่ และมีการขยายการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดรายย่อยในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแปรผลการศึกษาโดยนำข้อมูลได้จากแบบสอบถามมาเรียบเรียงและประเมินผล ค่าทางสถิติพรรณนา ดังนี้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน ค่าสูง และค่าต่ำ ผลการวิจัยพบว่่า ต้นทุนทั้งหมดชองรูปแบบการเลี้ยงที่ 3 (แบบดั้งเดิมเสริมหญ้าเนเปียร์) มีต้นทุนน้อยที่สุด คือ 4,487 บาทต่อไร มีแนวทางการลดต้นทุนวัตถุดิบ คือ การนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ผสมกับหญ้าเนเปียร์ ส่วนต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่ ดังนี้ ค่าเช่าที่ดิน และค่าปรับบ่อ และมีค่าผลิตภาพรวมมากที่สุด 4.74 ซึ่งสอดคล้องตามด้วยผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพพลังงาน และผลิตภาพมูลค่าเพิ่มที่มากที่สุด ผลิตภาพเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งทางคุณภาพและปริมาณ ซึ่งสะท้อนได้ถึงต้นทุนการผลิตที่คุ้มค่า ผลการศึกษากระบวนการรวมกลุ่มของเกษตรแบบแปลงใหญ่ของกลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อ เกิดขึ้นด้วยกลไกการขับเคลื่อนด้วยสมุดบันทึกบัญชีฟาร์ม และถ่ายทอดไปยังกลุ่มย่อยรายอื่นในพื้นที่สมุทรปราการ มีถ่ายทอดองค์ความรู้จากเกษตกรต้นแบบสู่เกษตรกรรายอื่น และเกิดการรร่วมมือก้บกรมประมงจังหวัดสมุทรปราการ ในการพัฒนาต้นแบบสมุดบันทึกบัญชีฟาร์มของปลาสลิด ถอดบทเรียนจากหลักปฏิบัติจริงสามารถประยุกต์ใช้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรต่อไป
The associated objectives of this research are to: 1) to study on the cost and productivity that is suitable for the just price on the gourami farmers of the big farm and 2) to study the public participation in the gourami farmers of the big farm and transfer knowledge to the gourani farmers in Mueang Samut Prakan District, Bang Phli District, Bang Bo District and Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province. This research is used that the mixed method as a research tool for analyzing the data (total cost, average cost, production cost and income). Furthermore, the information on the best practice of the big farm. This research framework contains two areas, organized as follows the big farm (740 Rai) that has 26 farmers and the general farm, and has less than 740 Rai with 26 farmers in Samut Prakan Province. Analysis of variance for statistical values is described as follows: percentage, mean, deviation, high and low. The results show that the total cost of the 3rd form of farming (supplemented with Napier grass) is the least cost, 4,487 Baht per Rai. The fixed cost is to make a big impact on the land rent and renovated pond. The highest overall productivity (4.74) which is consistent with labor productivity and energy productivity. The results suggest that increases in productivity could be implemented by exchanging knowledge management through public participation in snakeskin gourami fishery of large scale farming, Samut Prakan Province. In the development of a prototype of the snakeskin gourami farm logbook which is to take lessons from the best practice. The organization of farmer groups could be applied to the benefit of aquaculture in the future.