ปลาสลิดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี คือ ปลาสลิดอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อย่างไรก็ตามยังมีการเลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่อื่นๆ อีกด้วย โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการเลี้ยง อาหารที่ใช้ คุณภาพของน้ำ ดิน ชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนน ว่าส่งผลอย่างไรต่อคุณลักษณะทางโภชนาการและแร่ธาตุในปลาสลิดจากแหล่งต่างๆ 6 แหล่ง 7 บ่อเลี้ยง ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทิ้ง 7 บ่อเลี้ยง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีความเหมาะสมกับการเลี้ยงปลาสลิด โดยบ่อเลี้ยงปลาสลิดที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ (บางบ่อ และบางเสาธง 2 สมุทรปราการ)) จะพบความชุกของแพลงก์ตอนพืชมากกว่าแพลงก์ตอนสัตว์อย่างเห็นได้ชัด แต่บ่อเลี้ยงปลาสลิดที่เลี้ยงแบบให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป (บ่อเมือง (สมุทรปราการ) บางปะกง (ฉะเชิงเทรา) บ้านแพ้ว (สมุทรสาคร) และอัมพวา (สมุทรสงคราม)) จะพบว่ามีปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ชุกกว่าบ่อที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ความชุกของแพลงก์ตอนในลำไส้ปลาจากทุกแหล่ง พบว่ามีความชุกของแพลงก์ตอนพืชมากกว่า 90% แสดงให้เห็นว่า ปลาสลิดกินแพลงก์ตอนพืชเป็นหลัก ปลาสลิดมีปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าไขมันอิ่มตัว และมีไขมันชนิดทรานส์ปริมาณต่ำมาก หากพิจารณาปริมาณไขมันรวมในเนื้อปลาสลิด พบว่า หากเลี้ยงปลาด้วยอาหารเลี้ยงปลาที่มีไขมันรวมสูง มีแนวโน้มจะทำให้เนื้อปลาสลิดทีได้มีไขมันรวมสูงเช่นกัน โปรตีนในเนื้อปลาสลิดไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโปรตีนในอาหารเลี้ยงปลาที่เด่นชัด โดยโปรตีนในเนื้อปลาสลิดทั้ง 7 แหล่งมีค่าใกล้เคียงกัน แม้ว่าปริมาณโปรตีนในอาหารเลี้ยงปลามีความแตกต่างกัน แร่ธาตุที่พบในเนื้อปลาสลิดทุกแหล่งมากที่สุด คือ โพแทสเซียม ทั้งนี้แร่ธาตุในอาหารและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อปริมาณแร่ธาตุในเนื้อปลาสลิด ในภาพรวม แม้ว่าอิทธิพลของอาหาร แพลงก์ตอน คุณภาพน้ำและดิน ที่มีต่อคุณลักษณะทางโภชนาการและแร่ธาตุในปลาสลิดในแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่เด่นชัดนัก แต่อิทธิพลของไขมันในอาหาร สำหรับบ่อที่บ้านแพ้ว (สมุทรสาคร) และอัมพวา (สมุทรสงคราม) ซึ่งใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปในการเลี้ยงเป็นหลักส่งผลต่อปริมาณไขมันในเนื้อปลาอย่างเห็นได้ชัด และส่งผลต่อลักษณะสัณฐานภายนอกของปลาสลิด คือ ปลาจะมีสีดำอ่อนค่อนไปทางเหลืองน้ำตาล และมีลักษณะที่อ้วนกว่าปลาที่เลี้ยงแบบธรรมชาติแท้ (บางบ่อ บางเสาธง 1 และบางเสาธง 2 (สมุทรปราการ)) หรือผสมผสานโดยการให้อาหารเม็ดเสริมตอนก่อนจับขาย (เมือง (สมุทรปราการ) บางปะกง (ฉะเชิงเทรา))
Trichogaster pectoralis (Snakeskin gourami) is the famous fish in the area of Bang Bo District, Samut Prakan Provinces. However, there are also fish farming in other areas. This study investigated the feeding methods, feeds, water and soil quality and planktons, on nutritional and mineral characteristics of Trichogaster pectoralis from different sources in Thailand. They were composed of 6 different sources and 7 ponds. The study indicated that the almost water quality in all 7 ponds were in the interval of standard values and were suitable for fish farming. The prevalence of phytoplankton is dignificantly higher than that of zooplankton in the natural Trichogaster pectoralis ponds (Bang Bo and Bang Sao 2 Thong District (Samut Prakan)). In contrast, ponds fed with pelleted feeds (Mueang District (Samut Prakan Province),, Bang Pakong District (Chachorngsao Province), Ban Phaeo District (Samut Sakhon Province) and Amphawa District (Samut Songkhram Province) were found to have higher prevalence of zooplankton than natural ponds. When analyzing the prevalence of plankton in digestive fish from all sources, it found that the prevalence of phytoplankton was greater than 90%. It indicated that Trichogaster pectoralis eat mainly phytoplankton. Trichogaster pectoralis found unsaturated fat higher than saturated fat. Moreover, they are very low Trans-fat. Considering the total fat content in fish, it founded that high fat content in feed affected high fat content in fish meat. Protein in fish meat did not show the prominent correlation with the protein content in the fish diet. There were close values although protein content in fish diet showed different values. The dominant mineral found in Trichogaster pectoralis was potassium. However, the amount of mineral in fish diet and environment did not show the strong correlation with the minieral in fish meat. Overall, the effect of feeds, planktons, water and soil quality did not show the strong correlation with the nutritional and mineral characteristic of Trichogaster pectoralis in different areas. However, the fat content in feed pellets in Ban Phaeo District (Samut Sakhom Province) and Amphawa District (Samut Songkhram Province) affect to high fat content in dish meat significantly. Moreover, it was affect to the external morphology of fish by making the fish color to light brown to yellowish brown and plump than the natural feeding fish (Bang Bo and Bang Sao Thong 1,2 Districst (Samut Prakan Provinces)) or pellet supplement feeding fish before the selling (Mueang District (Samut Prakan Province) and Bang Pakong District (Chachoengsao Province).