การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนและค้นหาปัจจัยทำนายภาวะก่อนความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูงและผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นความดันโลหิตสูง สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงได้จำนวน 273 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านจริยธรรมวิจัย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาได้เท่ากับ 0.70 แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพ ส่วนที่ 2 ระดับความดันโลหิตซีสโตลิค ความดันโลหิตไดแอสโตลิกและดัชนีมวลกาย ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.67) โดยมากอายุระหว่าง 41-60 ปี (64.47) ร้อยละ 42.49 ประกอบอาชีพรับจ้าง/ลูกจ้างชั่วคราว สองในสามมีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 83.15 อยู่กันเฉพาะครอบครัวตนเอง เกือบทั้งหมดฐานะทางเศรษฐกิจพอใข้ มีประวัติโรคทางพันธุกรรมที่พบมาก 3 อันดับแรก คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 89.38 มีค่าความดันโลหิตตัวบนระหว่าง 120-139 mmHg และค่าความดันโลหิตตัวล่างระหว่าง 85089 mmHg ส่วนใหญ่มีภาวะอ้วน รองลงมา คือ น้ำหนักเกินและปกติ กลุ่มตัวอย่างดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนสูงที่สุด รองลงมา คือ รับประทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูงและสูบบุหรี่ โดยมากไม่ออกกำลังกายแต่มีความเครียดระดับปกติ ปัจจัยที่ทำนายภาวะก่อนความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุมากที่สุด คือ ความเครียด (beta =-.205) รองลงมา คือ มีประวัติโรคทางพันธุกรรม (beta=-0.187) อายุ (betaa=0.138) และดัชนีมวลกาย (beta=0.133) ทั้งนี้ความเครียด มีประวัติโรคทางพันธุกรรม อายุและดัชนีมวลกายร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะก่อนความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุได้ร้อยละ 13.8 (R[superscript 2]=0.138) การวิจัยเสนอแนะว่าควรคัดกรองภาวะก่อนความดันโลหิตสูงและภาวะความดันโลหิตสูงในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป โดยปัจจัยที่คัดกรองควรครอบคลุมปัจจัยทำนายที่พบทั้งหมด และนำปัจจัยทำนายที่พบมาออกแบบกิจกรรมการพยาบาลหรือสร้างแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ให้ครอบคลุมกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงทั้งการเยี่ยมบ้านและการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลครอบคลุมผู้ใช้บริการรายบุคคล รายครอบครัวและรายกลุ่ม รวมทั้งนำมาออกแบบกิจกรรมการปฏิบัติสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถติดตามกลุ่มป่วยและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงได้
The survey research aimed to study the health behaviors and predicting factors of pre-hypertension and non-essential hypertension in Naklier Community, Pra Samut Jadee District, Samut Prakarn. The study samplings were 273 pre-hypertension clients and non-essential hypertension clients dianosed by physicians. The purposive sampling was employed under the consideration of the Ethical and Research Committee. The questionnaire was validated by experts and tested reliability by coefficient alpha of 0.70. It was divided into 3 parts: 1) Demographic characteristics and health status, 2) Systolic, diastolic, and body mass index assessment, and 3) Health behaviors related to diet and stress management. The data was analyzed by mean, standard deviation, correlation coefficient and multiple linear regression. The results showed that most of the respondents were female (66.67%), age between 41-60 years (64.47%), labour (42.49%). Two-third of them were married and 83.15% of them lived with their families. Most of the respondents had the economic status in moderate level. Top three of their heredity diseases were hypertension, Diabetes Mellitus, and stroke. About eighty nine percent (89.38%) of them had systolic blood pressure between 129-139 mmHg. and diastolic blood pressure between 85-89 mmHg. Most of the respondents were obese, followed by overweight, and normal body weight. The majority of health behaviors were drinking beverage that contained caffeine, followed by eating foods with high sodium, and smoking. Most of them lack of exercieses, but had stress in normal level. The predicting factors of pre-hypertension and hypertension of the resondents were stress (beta=-.205), followed by the parental hypertension (beta=-0.187), age (beta=0.138), and body mass index (beta=0.133). They could explained pre-hypertension and non-essential hypertension about 13.8% of the variance (R[superscript 2]=0.138). The research suggested that predicting factors of pre-hypertension and hypertension should be applied to be screening tool for clientss or risk groups who were older than twenty years old and nursing interventionss or clinical nursing practice guidelines for caring clients or risk groups for home visit or in health care setting. They should be designed for individual, family, and group levels of clients. In addition, the predicting factors should be designed for after caring clients and risk groups by health care volunteers to enhance the efficient of nursing interventions or clinical nursing practice guidelines.