การวิจัยหัวข้อ "การศึกษาการแพร่กระจายงานแปลวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อรวบรวมงานและจัดระเบียบงานแปลวรรณกรรมประเภทร้อยกรองจีนโบราณที่แพร่กระจายในสมัยรัตนโกสินทร์ให้เป็นระบบ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การกระจายผลงานแปลวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตามทฤษฎีวรรณคดีเปรียบเทียบแนวทางศึกษาอิทธิพลและการแพร่กระจายของวรรณคดีโดยศึกษาวิเคราะห์ขอบเขตของการแพร่กระจายวรรณคดี โดยศึกษาวิเคราะห์ขอบเขตของการแพร่กระจายวรรรกรรมพิจารณาจากตำแหน่งที่แพร่กระจายหรือประเทศเจ้าของวรรณกรรมเป็นหลัก (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการกระจายงานแปลวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้านขอบเขต ลักษณะหรือรูปแบบของการแพร่กระจายวรรณคดี โดยพิจารณาจากตำแหน่งประเทศที่รับอิทธิพลวรรณกรรมนั้นเป็นหลัก (4) เพื่อศึกษากระบวนการแพร่กระจายหรือปัจจัยที่่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขอบเขตของงานวิจัยนี้ได้ศึกษารวบรวมงานแปลวรรณกรรมประเภทร้อยกรองจีนยุคประวัติศาสตร์จีนตอนต้น (ยุคก่อนราชวงศ์โจวหรือก่อนคริสศตวรรษที่ 11) จนถึงปลายสมัยราชวงศ์ชิง (คริสตวรรษที่ 19) ซึ่งได้แพร่กระจายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จวบจนรัชกาลปัจจุบัน โดยศึกษารวบรวมข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2011) ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้แก่ สิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่ หมวด ก กลุ่มข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่งานแปลวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณเฉพาะด้านหรือประเภทงานเขียนที่มีบทร้อยกรองจีนโบราณปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรโดยตรง ได้แก่ (1) ประเภทหนังสือและตำราประกอบการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีจีน (2) ประเภทหนังสือแปลร้อยกรองจีนหรือกวีนิพนธ์จีน (3) ประเภทหนังสือนิยายจีนโบราณ (ศึกษาเฉพาะกลุ่มนิยายประวัติศาสตร์และอิงประวัติศาสตร์ งานวิจัยนี้ไม่ได้ศึกษาหนังสือกลุ่มนวนิยายกำลังภายใน (4) ประเภทงานวิจัยที่เกี่ยวของ (5) ประเภทวารสารและนิตยสารที่เกี่ยวข้อง หมวด ข กลุ่มคาดคะเนหรือกลุ่มสุ่มตัวอย่่าง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ผู้วิจัยคาดการณ์ว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามีการแพร่กระจายของงานแปลวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณ ในที่นี้ได้ศึกษารวบรวม 2 ประเภทคือ (1) ประเภทหนังสือเรียนหรือตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์จีน อารยธรรมจีน วัฒนธรรมจีนและปรัชญาจีน (2) ประเภทหนังสือหรือตำราเรียนวิชาอารยธรรมตะวันออกและวรรณคดีเปรียบเทียบ หมวด ค เอกสารสำคัญอื่นๆ หรือหมวดของสิ่งพิมพ์ที่เคยแพร่กระจายในรูปแบบของการจดจารในสถานที่สำคัญที่ได้ปรากฏในประเทศไทย การวิเคราะห์ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านการกระจายผล ด้านผลการกระจายและด้านกระบวนการแพร่หลาย ตามทฤษฎีวรรณคดีเปรียบเทียบ แนวทางศึกษาอิทธิพลและการแพร่กระจายของวรรณคดี ผลการศึกษาวิจัยพบประเด็นที่สำคัญๆ แต่ละด้านที่ศึกษา ได้แก่ ด้านการกระจายผล พบว่าวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณที่แพร่หลายในประวัติศาสตร์จีนมีหลักฐานปรากฏตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ฉินจนกระทั่งปลายรางวงศ์ชิง โดยวรรณกรรมร้อยกรองจีนแต่ละยุคสมัยต่างมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนภายใต้วิวัฒนาการที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงทางขนบนิยมวรรณคดีจีนที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งนี้พบว่าวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ถังประเภท "ซือ" (诗) และวรรณกรรมประเภท "ฉือ" (词) ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้รับความนิยมในการแพร่หลายอย่างสูงสุด ทั้งสองยุคสมัยนี้มีนักกวีชาวจีนที่มีชื่อเสียงได้แก่ หลี่ไป๋ ตู้ฝู่ ไป๋จวีอี้ หวังเหวย เมิ่งห้าวหราน หลี่โห่วจู่ หลี่ชิงจ้าว เป็นต้น ด้านผลการกระจาย หรือขอบเขตและลักษณะของการแพร่กระจายวรรณกรรมร้อยกรองจีนโบราณที่แพร่หลายมายังประเทศไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับการกระจายผลภายในประเทศแหล่งกำเนิด พบว่ามีการแพร่กระจายของงานแปลประเภทร้อยกรองจีนโบราณที่สำคัญๆทุกยุคสมัยของประวัติศาสตร์จีนเป็นสำนวนภาษาไทย นอกจากความนิยมแปลงานร้อยกรองจีนโบราณยุคถังและซ่ง นักกวีชาวจีนทั้งสองยุคสมัยได้รับความนิยมเป็นอันมาก ได้แก่ หลี่ไป๋ ตู้ฝู่ หวังเหวย เมิ่งห้าวหราน ตู้มู่ หลี่ชิงจ้าว ซูซื่อ เป็นต้นแล้ว ยังพบว่าผลงานแปลบทกวีนิพนธ์ของเถาหยวนหมิวยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเท่าเทียมกัน ส่วนบทกวีจีนที่ได้รับความนิยมแปลเป็นสำนวนภาษาไทย ได้แก่ บทกวีจีนโบราณที่ได้รับความนิยมอันดับต้น คือ "จิ้งเยี่ยซือ" 静夜思 ของหลี่ไป๋ และ "จู๋หลี่กว่าน" 竹里馆 ของหวังเหวย รองลงมาคือ "ชุนเสี่ยว" 春晓 โดยเมิ่งห้าวหราน นอกจากนั้นยังมีบทกวีที่มีชื่อว่า "เจียงเสวี่ย" 江雪 ของหลิวจงหยวน "หุยเซียวโอว่ซู" 回乡偶书 ของเห้อจือจาง "เจิงเปี๋ย" 赠别 ของตู้มู่ "อิ๋วจื่ออิ่น" 游子吟 ของเมิ่งเจียว "เติงกวานเชวี่ยโหลว" 登鹳雀楼 โดยหวังจือฮว่าน ซึ่งล้วนเป็นบทกวีที่ได้รับความนิยมแปลซ้ำกันมากกว่า 4 แหล่งพิมพ์ ด้านกระบวนการแพร่กระจาย พบว่า สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีส่วนในการส่งเสริมการแพร่กระจายที่สำคัญ มีทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ผลงานแปลร้อยกรองจีนโบราณเฉพาะด้าน ตำราเรียนประวัติวรรณคดีจีน รวมไปถึงตำราเรียนวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ พบว่าสิ่งพิมพ์ประเภทตำราเรียนโดยมากมีงานแปลที่ค่อนข้างครอบคลุมร้อยกรองจีนทุกยุคสมัย โดยเฉพาะมีการเผยแพร่งานแปลร้อยกรองจีนประเภท "ซือจิง" "ฉู่ฉือ" "เย่ว์ฝู่" มากกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือแปลเฉพาะด้าน งานแปลบทกวีจีนที่เผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ประเภทตำราเรียนข้ามสาขาวิชา กล่าวคือที่ไม่ใช่ตำราเรียนประวัติวรรณคดีจีน แต่เป็นตำราเรียนวิชาอารยธรรมจีน วิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ เป็นต้นนี้ พบว่ามีการอ้างอิงและแปลบทกวีจีนจากภาษาอังกฤษหรือภาษาตะวันออก ซึ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในด้านการถ่ายทอดชื่อนักกวี ชื่อบทกวีและเนื้อหาบทกวีค่อนข้างมาก ส่วนสิ่งพิมพ์ประเภทนิยายจีนโบราณ พบว่าการเขียนนิยายจีนโบราณมีขนบนิยมของการสอดแทรกรูปแบบงานประพันธ์ประเภทร้อยกรองผสมผสานกับร้อยแก้ว แต่เมื่อนิยายเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยกลับพบว่ามีการละเลยและข้ามเนื้อหาส่วนร้อยกรองนั้นไป มีเพียงนิยายบางเรื่อง เช่น "สามก๊ก" บางสำนวน และ "ความฝันในหอแดง" ที่พบว่ามีแปลบทร้อยกรองเป็นบางบท ส่วนเงื่อนไขหรือปัจจัยอันเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการแพร่กระจายงานแปลร้อยกรองจีนโบราณ คือ ความสนใจและการตระหนักถึงคุณค่าของการเผยแพร่วรรณคดีจีนร้อยกรองจีนโบราณของผู้แปลมากกว่า ปัจจัยที่มาจากความต้องการของผู้อ่าน ผู้แปลบทกวีจีนส่วนใหญ่เติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริม การอ่าน การเขียน ประกอบกับความรัก ความสนใจต่อการเรียนภาษาไทยและภาษาจีน มีข้อสังเกตด้วยว่าใช่ว่าผู้แปลจะต้องมีความรู้ภาษาจีนและภาษาไทยในระดับดีถึงดีมากจึงจะแปลบทกวีจีนได้ งานวิจัยนี้พบว่ามีผู้แปลบางรายไม่ได้มีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาจีนในระดับดีแต่มีความรู้ภาษาไทยค่อนข้างดีก็สามารถผลิตงานแปลออกมาได้จำนวนไม่น้อย
Objectives of research on "Diffusion of Thai Translation of Chinese Classical Poetry in Rattanakosin" are to (1) collect works and systematically categorize Chinese Classical Poetry disseminated during Rattanakosin Era, (2) to study and analyze the diffusion of Chinese Classical Poetry during Rattanakosin Era according to the comparative literature theory of influence of literary dissemination by analysis scope of literary dissemination mainly considering dissemination location or country of the literature's origin, (3) to study result of diffusion of Chinese Classical Poetry during Rattanakosin Era focusing on scope, characteristics, or pattern of literary dissemination mainly location of influenced countries, and (4) to study dissemination process or factors influencing Chinese Classical Poetry during Rattanakosin Era. Scope of this research covered collection of early Chinese Classical Poetry (before Zhou Dynasty or before the 11th century, A.D.) until late of Qing Dynasty (the 19th century, A.D.) which is the dissemination during Rattanakosin Era since the King Rama I until the King Rama IX. Poetry is collected up until B.E. 2553 (2011 A.D.). Study target group are any form of printed matters which is categorized into 3 groups; Group A Evidence Information including printed matters to disseminate specialty of Chinese Classical Ancient Poetry or any writing where Chinese Classical Poetry is directly presented in written such as (1) books and textbooks for Chinese literature class (2) books of translated poetry or Chinese poetry, (3) classical Chinese novels (study only history or based on history novels but not include internal power novels), (4) related researches, and (5) related journals and magazines. Group B Forecasted or Random including printed matters the researcher forecasted that there is possibility of disseminate of Chinese Classical Poetry. Two types are studied, (1) textbook or course books for Chinese civilization, Chinese culture, and Chinese philosophy classes, (2) textbooks or course books for Eastern civilization and comparative literature classes. Group C Other significant documents or type of printed matters used to be disseminated in form of inscribing at important location in Thailand. An analysis of research results is divided into 3 aspects including result dissemination, dissemination results, and dissemination process according to the comparative literature theory of influence study and dissemination of literature. Research results have found important issues of each studied aspect as follows; Result dissemination it has been found that there is an evidence of Classical Chinese Poetry well disseminated in Chinese history since before Qin dynasty until late of Qing dynasty. Chinese Poetry of each dynasty is unique under relationship and connection of continual inherits of traditional Chinese literature. Also, it has been found that "Shi" literature during Tang dynasty and "Chi" literature during Song dynasty are the most popular with highest dissemination. There are several well-known poets of both dynasties such as Li Po, Tu Fu, Po Chu-i, Wong Wei, Meng Hao Ran, Li Ho Chu, Li Qingzhao, etc. Dissemination result or scope and dissemination pattern of Chinese Classical Ancient Poetry widely spread into Thailand during Rattanakosin Era in comparion with the dissemination in the origin has been found that there is the disseminaation of important Chinese Poetry translation of every era of Chinese history into Thai language. In addition of popularity in translation of Tang and Song dynasties Chinese Classical Poetry where the high reputation poets of both dynasties such as Li Po, Tu Fu, Wong Wei, Meng Hao Ran, Tu Mu, Li Qingzhao, Xu Si, etc. it has been also found that translated poetry of Tao Yuan Min of Eastern Jin dynasty is comparabel popular. Chinese poetry in favor to be translated into Thai include "Jung Yia Chi", "Jeng Wang Lun" of Li Po ( 李白:《静夜思》、《赠汪伦》 ) " Chun Wang" of Tu Fu ( 杜甫 : 《春旺》) "Xiaochun" of Meng Hao Ran ( 孟浩然 :《春晓》) "Kui Yan Tian Jwi" and "In Jew" of Tao Yan Ming ( 陶渊明:《归园田居》、《饮酒》), etc, which is distributed in different Thai names. Dissemination process has been found that printed matters involved in important dissemination promotion including printed matters to disseminate specific Chinese Classical Poetry, textbooks of Chinese literature history class, as well as textbooks of comparative literature class. It has been found that most of textbook printed matters contain nearly complete of each dynasty of Chinese poetry especially the dissemination of Chinese poetry on "Shi Jing" "Qu Shi" "Ye fu" more than specific translated books. It has been found that translation of Chinese poetry disseminated in textbook printed matters across subjects which are not textbooks for Chinese literature history but textbooks for Chinese civilization, comparative literature classes, etc., have referred to and translated of Chinese poetry from English or other Western languages resulting in much deviation of giving names of poets, poetry names, and context. It has been found that for Chinese classical novel printed matters, writing of Chinese classical novel has tradition to write in form of poetry and prose together. However, after these novels are translated into Thai, poetry contexts are ignored and skipped. There are only few novels such as "Romance of the Three Kingdoms" and "The Dream of the Red Chamber" where some of poetry are translated. Significant conditions or factors to drive the dissemination of translation of Chinese Classical poetry are the translators' interest and concern of Chinese Classical Poetry value rather than the readers' need. Most of Chinese poetry translators grown up in environment promoting reading and writing as well as their love and interest in Thai and Chinese languages study. In addition, another observation is thay, in order to translate Chinese poetry, translators does not require having good to excellence in Chinese and Thai. This research has found that some translators do not have good Chinese but quite in Thai then they can translate many works.