DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะกรรมการประเมินหลักสูตร สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ th
dc.date.accessioned 2023-06-01T05:38:08Z
dc.date.available 2023-06-01T05:38:08Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1354
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ. 2549 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และ สื่อการเรียนการสอน ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียน และการบริหารหลักสูตร และด้านผลผลิต (Product) ได้แก่ คุณภาพบัณฑิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน 8 คน นักศึกษา 50 คน บัณฑิต 50 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต 50 คน รวม 158 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ และ 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ได้ผลการประเมิน ดังนี้ 1. การประเมินบริบท วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหาโดยรวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน จำนวนหน่วยกิตรวมเหมาะสมมาก สำหรับหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทุกกลุ่มวิชา วิชาเอกบังคับ เอกเลือกและหมวดวิชาเลือกเสรีมีความเหมาะสมปานกลาง รายวิชาส่วนใหญ่ของทุกหมวดวิชามีความเหมาะสมมากทั้งในด้านเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้และความทันสมัย สำหรับ GF 2232 GE1102 GE 1072 FN 1603 MG 1303 EC 1003 AC 4323 AC 4233 AC 4273 AC 4313 และ AC 4019 สหกิจศึกษา ควรจัดไว้เทอมสุดท้าย 2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ผู้เรียน : คุณลักษณะของนักศึกษาในการเรียนโดยรวมเหมาะสมปานกลาง นักศึกษาเข้าเรียนสม่ำเสมอมาก แต่ให้ความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์ มีพื้นฐานความรู้ระดับสามัญ มีความสนใจ ตั้งใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเหมาะสมปานกลาง และนักศึกษาอ่านหนังสือประกอบ / ค้นคว้าเพิ่มเติม ตามที่อาจารย์สั่งน้อย อาจารย์ผู้สอน : มีคุณวุฒิตรงตามสาขาที่สอน มีประสบการณ์การสอน 10 ปี ขึ้นไป แต่จำนวน คุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง คือ อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก และอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ สื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน: นวัตกรรมการเรียนการสอนและปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ อุปกรณ์การเรียนการสอน สื่อการสอนสำเร็จรูป หนังสือในห้องสมุด เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ เหมาะสมปานกลางเท่านั้น 3. ประเมินกระบวนการ อาจารย์มีวิธีการสอนแบบผสมผสานหลายรูปแบบแต่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย โดยอาจารย์และบัณฑิตเห็นตรงกันในวิธีการเรียนที่เหมาะสม คือ การเรียนแบบร่วมมือ ส่วนนักศึกษาส่วนใหญ่เรียนแบบจำใจและพึ่งพา อาจารย์ประเมินพฤติกรรมการสอนของตนนเองว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด โดยเฉพาะการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นคนดี รู้จักตนเอง มีความรอบคอบ ไตร่ตรองเหตุผลมีความรับผิดชอบและมีศีลธรรมมีความเหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษามีความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล โดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นทักษะในการถ่ายทอดความรู้ และการให้คำปรึกษาของอาจารย์เหมาะสมปานกลางเท่านั้น ส่วนการบริหารหลักสูตร อาจารย์มีความเห็นว่า การบริหารหลักสูตรเหมาะสมมาก โดยมีการบริหารหลักสูตรในรูปของคณะกรรมการ มีแผนการบริหารหลักสูตรชัดเจนและมีคณะกรรมการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตร 4. การประเมินผลผลิต บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติงานและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานโดยรวมเหมาะสมมาก สำหรับมีความรู้ทางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านการจัดการการผลิต ด้านการตลาด และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเหมาะสมปานกลาง ผู้บังคับบัญชา มีความเห็นว่า บัณฑิตมีความสามารถตามหลักวิชาชีพโดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นการมีความรู้ทางด้านการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ พื้นฐานเชิงทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน ความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหา ความสามารถในการนำเสนอความรู้ต่อผู้บริหารได้ถูกต้องและชัดเจน และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ มีความเหมาะสมปานกลางเท่านั้น คุณลักษณะที่เสริมการปฏิบัติงานของบัณฑิตโดยรวมเหมาะสมมาก ยกเว้นความสามารถในการพูดโน้มน้าว มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเหมาะสมปานกลางเท่านั้น ทั้งนี้ศักยภาพการทำงานของบัณฑิตโดยรวมเทียบเท่ากับบัณฑิตสถาบันอื่น ยกเว้น ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการเรียนรู้งาน ความมีระเบียบวินัยที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพมากกว่าสถาบันอื่น th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject การบัญชี -- หลักสูตร th
dc.subject Accounting -- Curricula th
dc.subject การบัญชี -- การศึกษาและการสอน
dc.subject Accounting -- Study and teaching
dc.title การประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative An Evaluation of the Bachelor of Accountancy Degree's Curriculum for Academic Year 2006 Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account