dc.contributor.advisor |
Nuch Sattachatmongkol |
|
dc.contributor.author |
พวงชมพู โจนส์ |
|
dc.contributor.author |
อรรถพล ธรรมไพบูลย์ |
|
dc.contributor.author |
มณฑล สรไกรกิติกูล |
|
dc.contributor.author |
นุช สัทธาฉัตรมงคล |
|
dc.contributor.author |
Puangchompoo Jones |
|
dc.contributor.author |
Monthon Sorakraikitikul |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
th |
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-02T05:53:34Z |
|
dc.date.available |
2023-06-02T05:53:34Z |
|
dc.date.issued |
2009 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1359 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยสำหรับประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดทำตามนโยบายของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การผลิตที่มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศ้ยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนและผู้สอน เป็นต้น ทำให้การจัดทำงานวิจัยต้องทำการศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนและพัฒนาประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อีกทั้งยังทำให้ทราบว่าหลักสูตรนั้นๆ ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้หรือไม่ และต้องการปรับปรุงในส่วนใดและต้องปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้มีประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และผู้ใช้มหาบัณฑิต เนื่องจากลุ่มประชาการมีไม่มาก จึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างคือประชากรท้้งหมดแบบสอบถามจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิจัยประเมินคุณภาพหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจาก 4 แหล่ง คือ 1. นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ส่งแบบสอบถามสำรวจ 21 ชุด ตอบกลับ 18 ชุด 2.มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จำนวน 31 คน ตอบกลับ 23 ชุด 3. อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ส่งแบบสอบถามสำรวจ 30 ขุด ตอบกลับ 17 ชุด 4. ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ส่งแบบสอบถามสำรวจ 31 ชุด ตอบกลับ 9 ชุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาปัจจุบันที่มีต่อปัจจัยในการประเมินหลักสูตรในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้บรรยายพบว่า นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1. ความมีคุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นครู ความเป็นแบบอย่างที่ดีในวิชาชีพ อันดับที่ 2 ความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ความสามารถในการทำวิจัย ทักษะในการถ่ายทอด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาที่สอนเป็นอย่างดี อันดับที่ 3 มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา พบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 จำนวนหน่วยกิตรวม (42 หน่วยกิต) มีความเหมาะสม อันดับที่ 2 เนื้อหารายวิชาให้มีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ และอันดับที่ 3 เนื้อหารายวิชาของหลักสูตรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการปฏิบัติงานจริง ด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 นักศึกษาสามารถซักถามเมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจ อันดับที่ 2 อาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน อันดับที่ 3 นักศึกษามีส่วนร่วมในการอภิปรายเนื้อหาในการเรียนการสอน สำหรับความพึงใจของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยเกี่ยวกับงานพบว่า ปัจจัยที่นักศึกษามีควาามพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงานอันดับที่ 2 คุณค่าและความสำคัญของงานที่ปฏิบัติ อันดับที่ 3 สภาพแวดล้อมในการทำงานหัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา การปกครองบังคับบัญชาและความก้าวหน้าในงาน ในด้านความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อปัจจัยในการประเมินหลักสูตรในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนบรรยายพบว่านักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 ความมีคุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นครู อันดับที่ 2 ความมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ อันดับที่ 3 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาที่สอน ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา พบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 เนื้อหารายวิชาให้มีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ อันดับที่ 2 จำนวนหน่วยกิตรวม (45 หน่วยกิต) มีความเหมาะสม และอันดับที่ 3 เนื้อหารายวิชาส่งเสริมเป็นนักธุรกิจที่ดี ด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่าปัจจัยที่นักศึกษาให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ อันดับที่ 1 นักศึกษาสามารถซักถามเมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่ เข้าใจ อันดับที่ 2 อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาล่วงหน้า อันดับที่ 3 อาจารย์ผู้เสนอเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน สำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยเกี่ยวกับงาน พบว่าปัจจัยที่นักศึกษามีความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 คุณค่าและความสำคัญของงานที่ปฏิบัติ อันดับที่ 2 ความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีกลมเกลียวในองค์กร อันดับที่ 3 การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนของความคิดเห็นจากอาจารย์ประจำหลักสูตรพบว่าการบริหารหลักสูตรกิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการบริหารหลักสูตรในรูปของคณะกรรมการ คณะมีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน มีการกำกับดูแลมาตรฐานการศึกษา ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาในการศึกษา พบว่าปัจจัยที่อาจารย์เห็นด้วยมากที่สุดเรื่องรายวิชาต่างๆ ควรเรียงลำดับจากง่ายไปยาก รองลงมาคือ การสามารถนำไปประยุกต์และใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ด้านประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตร พบว่าปัจจัยที่อาจารย์เห็นด้วยมากที่สุด เรื่อง การมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ระหว่างการศึกษา รองลงมาคือมีกิจกรรมที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตร สำหรับข้อมูลที่รวบรวมจากผู้ใช้มหาบัณฑิต พบว่า ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างส่วนใหญ่ที่มีต่อมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มากที่สุด คือความพึงพอใจในด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ในเรื่องการปฏิบัติงานเสร็จตามกำหนดเวลา ในด้านทัศนคติ ค่าความนิยมและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ในเรื่องความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ และด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ สำหรับคุณลักษณะของมหาบัณฑิตที่ผู้ประกอบการพึงประสงค์พบว่า ลำดับที่ 1 คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ลำดับที่ 2 คือ มีความเป็นผู้นำ ลำดับที่ 3 มีความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถทำงานเป็นทีม และมีความสามารถในการประสานงาน |
th |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2551 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
การประเมินหลักสูตร |
th |
dc.subject |
Curriculum evaluation |
th |
dc.subject |
การบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร |
th |
dc.subject |
Industrial management -- Curricula |
th |
dc.subject |
การบริหารธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน |
th |
dc.subject |
Industrial management -- Study and teaching |
th |
dc.title |
โครงการวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.title.alternative |
การวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีพุทธศักราช 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.title.alternative |
The Evaluation of Master of Business Administration, Academic Year 2006 Huachiew Chalermprakiet University |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |