dc.contributor.author | พรพรรณ จันทโรนานนท์ | |
dc.contributor.author | ไพศาล ทองสัมฤทธิ์ | |
dc.contributor.author | Pornpan Juntaronanon | |
dc.contributor.author | 刘丽芳 | |
dc.contributor.author | Phaisan Thongsamrit | |
dc.contributor.author | 陈慕贤 | |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies | th |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies | |
dc.date.accessioned | 2023-06-07T14:31:28Z | |
dc.date.available | 2023-06-07T14:31:28Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1368 | |
dc.description.abstract | ปากน้ำเมืองท่าโบราณ มีบทบาทด้านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาและเป็นเมืองที่เรือใหญ่ต้องจอดแวะพักเพื่อถ่ายสินค้าลงเรือเล็กเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เมืองท่าแห่งนี้จะเป็นแห่งหนึ่งที่ชาวจีนอพยพมาประเทศไทยกระโดดลงจากเรือหนีการจ่ายค่าเข้าเมืองก่อนถึงปากน้ำทั้งที่ฝั่งปากน้ำและฝั่งตรงกันข้ามคือฝั่งพระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำจึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของผู้ที่รอญาติมารับและเป็นที่อยู่ถาวรของพวกเสี่ยงภัยที่เดินทางมาหาอนาคตข้างหน้า ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุดและชาวจีนอพยพที่ปากน้ำก็เช่นกัน มีชาวจีนแต้จิ๋วเป็นหลัก ชาวฮากการองลงมา และชาวจีนแต้จิ๋วอยู่ที่นี่มากว่า 7-8 ชั่วอายุคนแล้ว การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพที่ปากน้ำก็เหมือนกับที่อื่นๆ กล่าวคือจะอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มตามบ้านเกิด สายโลหิตและอาชีพ (地缘(dìyuán)、血缘(xiěyuán)、业缘(yèyuán))และมีวิถีชีวิตตามแบบบ้านเกิด ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของพวกเขากลายเป็นเมืองจีนขนาดเล็ก(唐人街)โดยเริ่มต้นจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ(城隍庙)หรือที่ชาวจีนในพื้นที่เรียกกันว่า"ศาลเจ้าเซี่ยอึ่งกง"(แต้จิ๋ว)เลียบถนนประโคนชัย ข้ามสะพาน ไปตามถนน ถึงวงเวียนนาฬิกา แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนท้ายบ้าน แถบเมืองขนาดเล็กนี้แบ่งแหล่งชุมชนชาวจีนได้เป็น 3 แห่งด้วยกัน แห่งที่ 1 คือชุมชนย่านศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ แห่งที่ 2 คือย่านโรงเจถ่งเสียง(同善坛)(แต้จิ๋ว) ศาลเจ้าเล่าปุงเถ่ากง(老本头公庙)(แต้จิ๋ว) และศาลเจ้าลีเอี่ยกง (แต้จิ๋ว) (ความจริงชื่อนี้อ่านตามเสียงแต้จิ๋วคือเทพเจ้าเหี่ยงเทียงเสี่ยงตี่ แต่ชาวจีนที่นี่เรียกว่าลีเอี่ยกง)(玄天上帝庙)ซึ่งเป็นเขตโรงเรียนป้วยฮั้วเก่า และที่หัวถนนท้ายบ้านมีศาลเจ้าแม่ทับทิม(本头妈庙)ย่านนี้จัดว่าเป็นชุมชนที่อยู่ตรงกลางระหว่างย่านศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ และ ชุมชนชาวจีนแห่งที่ 3 คือย่านศาลเจ้าไต้ฮง(大峯祖庙)(แต้จิ๋ว) ซึ่งอยู่ที่ถนนท้ายบ้านระหว่างซอย 13-15 สำหรับมูลนิธิร่วมกุศลสมุทรปราการหรือเทียงเต็กเสี่ยงตึ้ง(天德善堂)(แต้จิ๋ว)ที่ถนนท้ายบ้านซอย 17 เป็นองค์กรการกุศลของชาวจีนปากน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ ชาวจีนที่ปากน้ำแต่เดิมคงอยู่กันอย่างหนาแน่นในชุมชน 3 แห่งที่กล่าวมานี้ นอกเหนือจากนั้นก็คงกระจายกันอยู่ในพื้นที่ระหว่าง 3 ชุมชน พวกเขาส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน ที่ใดมีจีนใช้แรงงานที่นั่นก็มี"โรงฝิ่น"ซึ่งที่ปากน้ำมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ด้านหลังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ และที่เยื้องกับศาลเจ้าไต้ฮงที่ถนนท้ายบ้าน ในปัจจุบันสังคมชาวจีนมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก พวกเขามีฐานะการเงินมั่นคง และอาชีพที่ประกอบการนั้นแตกต่างไปจากบรรพบุรุษมาก แต่ยังมีบางส่วนที่ยึดอาชีพเกี่ยวข้องกับการประมง ทั้งนี้เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป บ้านเมืองมีพัฒนาการมากขึ้น ความเป็นสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมากขึ้น บุตรหลานต้องอยู่ไกลจากครอบครัวเพื่อการเรียน และเมื่อจบการศึกษาสร้างครอบครัวก็ไม่ได้กลับมาพื้นที่เดิม ทำให้ชุมชนชาวจีนเปลี่ยนไป แม้ว่าชาวจีนรุ่นที่ให้ข้อมูลสำคัญนี้ ยังมีการปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนาเหมือนเดิม และจัดการเซ่นไหว้เทพเจ้าในเทศกาลประจำปีเหมือนเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุตรหลานของพวกเขาจะยังคงปฎิบัติเช่นเดียวกับพวกเขาต่อไป ดังนั้นประเพณีวัฒนธรรมจีนอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวจีนอาจจะค่อยๆหมดไปตามกาลเวลา ชาวจีนที่ให้ข้อมูลสำคัญที่ตำบลปากน้ำมีตั้งแต่รุ่นที่ 2-4 ส่วนชาวจีนที่ตำบลนาเกลือมีรุ่นที่2-3 ที่ตำบลปากน้ำนั้นยังเหลืออัตลักษณ์ของประเพณีจีนไว้อย่างเข้มข้นทั้งระดับมหภาคและจุลภาค ทั้งนี้เพราะชาวจีนยังเกาะกลุ่มกันแน่น โดยมีนักธุรกิจใหญ่ 2 ท่านที่ชาวจีนในพื้นที่นับถือ และแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการที่ชาวจีนในปากน้ำจัดตั้งขึ้น คณะกรรมการที่กล่าวนี้มีการแบ่งตำแหน่งหน้าที่ไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อบริหารจัดการองค์กรต่างๆที่เป็นของชาวจีน นับตั้งแต่ศาลเจ้า โรงเจ มูลนิธิทุกแห่งในตำบลปากน้ำ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่เหมือนสมาคมพ่อค้าจีน พวกเขาจะประชุมหารือกันเดือนละหลายครั้ง องค์กรที่ชาวจีนจัดตั้งขึ้นที่ตำบลปากน้ำจึงกลายเป็นตัวกลางที่ยึดเหนี่ยวความผูกพันระหว่างชาวจีนด้วยกันอันอาจส่งผลต่อด้านการค้าธุรกิจด้วย ทำให้ชาวจีนในตำบลนี้ที่เป็นนักธุรกิจใหญ่ส่วนมากเข้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้นจึงส่งผลให้องค์กรของชาวจีนที่ตำบลปากน้ำทุกแห่งล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้อัตลักษณ์จีนเข้มแข็งอยู่ตลอดไป ตราบเท่าที่บุตรหลานชาวจีนที่ยังมีความต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกในคณะกรรมการดังกล่าวนี้ ตรงกันข้ามที่ตำบลนาเกลือหมู่บ้านสาขลาตลาดโบราณเนื่องจากการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพที่นี่มีชาวพื้นถิ่นมาก อีกทั้งไม่มีองค์กรของชาวจีนใดๆทั้งสิ้นที่เป็นปัจจัยบวก จึงส่งผลให้บุตรหลานของพวกเขากลายเป็นไทยอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเพียงสองชั่วอายุคนเท่านั้น | th |
dc.description.abstract | Pak Nam, ancient seaport, has had commercial roles since Ayutthaya era and it is the city that large vessels shall port or stop over to discharge goods onto small vessels into Chaophaya River. For Chinese immigrants coming to Thailand, this seaport was a place having Chinese people jump from vessels so that they would not pay immigration fees before they arrived at Pak Nam and opposite site, at the coast of Phra Samut Chedi. Pak Nam became the temporary residence of persons waiting for relatives to pick them up and became the permanent residence of risk persons coming to find future. Tae Jiw Chinese immigrated to Thailand the most and Chinese immigrants at Pak Nam were Tae Jiw Chinese the most. Hakka people were the secondary Tae Jiw Chinese lived here for more than 7-8 generations. Settlement of Chinese immigrants in Pak Nam was like other places. Chinese immigrants live in group according to homeland, blood and occupation(地缘, 血缘, 业缘)and they had way of living in their homeland style. Therefore their living source became small China(唐人街), starting from Samut Prakan City God Shrine(城隍庙), or Chinese people in the area called Shia Ung Kong Shrine (Tae Jiw), along Prakhonchai Road, crossing a bridge, going along the road reaching the circle and turning right to Thai Ban Road, in this small city; Chinese community sources were divided into three sources, the first source was Samut Prakan City God Shrine; the second source was Thong Siang(同善坛)Vegetarian Building, Lao Pun Thao Kong(老本头公庙)Shrine and Li Eia Kong(玄天上帝庙)Shrine and Thai Ban Road corner, Thab Thim Goddess Shrine(本头妈庙).which was the area of the old Puay Hua School. This area was the community located in the middle between Samut Prakan City God Shrine area and the third Chinese community, the area, of Tai Hong(大峯祖庙)Shrine area, on Thai Ban Road between Alley 13-15. Samut Prakan Foundation(天德善堂)on Thai Ban Road, Alley 17, was a charitable organization of Pak Nam Chinese people which was newly constructed. Chinese people in Pak Nam previously lived in crowded area in three sources of community. Furthermore, Chinese people lived in several places among three communities. Most of them were laborers. Wherever there were Chinese laborers, that place had "opium house". At Pak Nam, there were two houses, at the rear side, Samut Prakan City God Shrine and another place was the opposite of the Tai Hong Shrine at the corner of Thai Ban Road. Presently, Chinese society has changed a lot. Chinese people had stable financial status, but the operation occupation is different from ancestors a lot. Only some portion had fishery occupation, as time period has changed, the country has development a lot. Modernity has to play roles more in ways of living, children and grandchildren have to live far from family for studying. When they complete education and they create new families, they do not return to the former area. This causes Chinese communities to be changed. Even though Chinese people in the generation giving important information, having performing the same religious rites and making offerings to Gods in annual festivals in the same way; but it does not mean whether their children will perform in the same way as they ever did further or not. Therefore, the Chinese customs and culture which are identity of Chinese people may gradually be diminished as per the period of time. Chinese people who gave important information in Pak Nam Sub-district comprising the Generations No. 2-4. Chinese people in Na Klua Sub-district having generations No. 2-3 in Pak Nam Sub-district left identities of Chinese customs intensely in macro and micro levels, as Chinese people grouped together tightly. Two large businessmen that Chinese people in the area pay respect and appoint to be the chairman of the Board; Chinese people in Pak Nam establish this board. The board mentioned above has positions and duties which have been divided systematically in order to manage organization belonging to Chinese people, ranging from shrines, vegetarian buildings, foundations in Pak Nam Sub-district. The said board performs the duty like Chinese Merchant Associations. They will hold several meetings in each month. The organizations established by Chinese people in Pak Nam Sub-district became mediators binding relations among Chinese people so it affects business and trading, so most Chinese people in this sub-district who are large businessmen enter to be members in such board. Therefore, it affects Chinese organizations in Pak Nam Sub-district. It is the factor promoting Chinese identity to be strong for all the time; in the extent that Chinese children who want to be members of this board. In the opposite manner, in Na Klua Sub-district, Sakhla Village, ancient market, because Chinese immigrants settle here, there were a lot of local people. There is no organization of Chinese people that is positive factor, affecting their children to acquire Thai nationality to be Thai person completely during the period of the second generation only. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2556 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | ชาวจีน -- ไทย | th |
dc.subject | Chinese -- Thailand | th |
dc.subject | ความเชื่อ | th |
dc.subject | Belief and doubt | th |
dc.subject | อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม | th |
dc.subject | ปากน้ำ (สมุทรปราการ) | th |
dc.subject | Pak Nam (Thailand, Samut Prakarn) | th |
dc.subject | จีน -- ความเป็นอยู่และประเพณี | th |
dc.subject | China -- Social life and customs | th |
dc.subject | สมุทรปราการ -- ความเป็นอยู่และประเพณี | th |
dc.subject | Samut Prakarn -- Social life and customs | th |
dc.title | ปากน้ำเมืองท่าโบราณ : ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวจีน | th |
dc.title.alternative | Paknam the Old Port : Chinese Believes and the Way of Life | th |
dc.title.alternative | ความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวจีน | |
dc.type | Technical Report | th |