Abstract:
การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2557 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างทีมีต่อบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม โดยทำการสำรวจจากกลุ่มประชากรจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 98 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 97.9 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 85 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมกลุ่มตัวอย่างบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ในปีการศึกษา 2556 จำนวนรวมทั้งสิ้น 96 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.1) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 47.9) มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด (ร้อยละ 27.1) และบัณฑิตส่วนใหญ่สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร 4 ปี (ร้อยละ 74.0) ในขณะที่ทำการสำรวจบัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำแล้ว (ร้อยละ 88.5) และมีบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทร ร้อยละ 6.25 บัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทำภายหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี (ร้อยละ 85.4) มีระยะเวลาในการได้งานทำครั้งแรกหลังสำเร็จการศึกษา 1-3 เดือน (ร้อยละ 45.8) บัณฑิตที่มีงานทำส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.6) ที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 63.5) ส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ช่วยนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 49.4) ได้รับเงินเดือน 13,001-16,000 บาท (ร้อยละ 48.2) ทำงานที่่เกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์หรือสวัสดิการสังคม (ร้อยละ 61.2) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับงานที่ทำในปัจจุบันมาก (ร้อยละ 64.7) และบัณฑิตได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้มาก (ร้อยละ 38.8) บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะและความสามารถในการทำงาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̄=4.30) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.41) เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละคุณลักษณะของบัณฑิต พบว่า ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะของบัณฑิตเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x̄=4.64) 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x̄=4.47) 3) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (x̄=4.28) ส่วนค่าเฉลี่ยคุณลักษณะของบัณฑิตในลำดับท้ายสุด ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=4.07) บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ประเมินคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 51.0) และคุณลักษณะที่ควรปรับปรุง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 56.3)2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างได้ทำการประเมินและส่งแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2 ของบัณฑิตที่มีงานทำทั้งหมด ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่ทำการประเมิน ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับต้น/หัวหน้างาน (ร้อยละ 57.4) ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 70.2) และมีระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกับบัณฑิตในช่วงมากกว่า 3 เดือน-6 เดือน (ร้อยละ 40.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง ที่มีต่อบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education: TQF) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄=4.01) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) เมื่อพิจารณาผลการประเมินคุณลักษณะของบัณฑิตในมุมมองของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) 2) ด้านความรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.98) 3) ด้านทักษะทางปัญญา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.89) 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=4.09) 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.84) 6) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.95) ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) โดยคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ 1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x̄=4.53) 2) มีจิตอาสา (x̄=4.53) 3) มีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (x̄=4.45) 4) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (x̄=4.34) 5) มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (x̄=4.28) 6) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (x̄=4.21) ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตประเมินว่า บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มีคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 55.31) และคุณลักษณะที่ควรปรับปรุง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 29.78)