DSpace Repository

รายงานผลการวิจัย การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2557

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์สวัสดิการสังคม. th
dc.date.accessioned 2023-07-19T08:38:33Z
dc.date.available 2023-07-19T08:38:33Z
dc.date.issued 2014
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1370
dc.description.abstract การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2557 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างทีมีต่อบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม โดยทำการสำรวจจากกลุ่มประชากรจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 98 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 97.9 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 85 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมกลุ่มตัวอย่างบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ในปีการศึกษา 2556 จำนวนรวมทั้งสิ้น 96 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 78.1) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 47.9) มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด (ร้อยละ 27.1) และบัณฑิตส่วนใหญ่สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร 4 ปี (ร้อยละ 74.0) ในขณะที่ทำการสำรวจบัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำแล้ว (ร้อยละ 88.5) และมีบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทร ร้อยละ 6.25 บัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทำภายหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปี (ร้อยละ 85.4) มีระยะเวลาในการได้งานทำครั้งแรกหลังสำเร็จการศึกษา 1-3 เดือน (ร้อยละ 45.8) บัณฑิตที่มีงานทำส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.6) ที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 63.5) ส่วนใหญ่ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์/ผู้ช่วยนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 49.4) ได้รับเงินเดือน 13,001-16,000 บาท (ร้อยละ 48.2) ทำงานที่่เกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์หรือสวัสดิการสังคม (ร้อยละ 61.2) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับงานที่ทำในปัจจุบันมาก (ร้อยละ 64.7) และบัณฑิตได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้มาก (ร้อยละ 38.8) บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะและความสามารถในการทำงาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (x̄=4.30) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.41) เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละคุณลักษณะของบัณฑิต พบว่า ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะของบัณฑิตเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x̄=4.64) 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (x̄=4.47) 3) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (x̄=4.28) ส่วนค่าเฉลี่ยคุณลักษณะของบัณฑิตในลำดับท้ายสุด ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (x̄=4.07) บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ประเมินคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 51.0) และคุณลักษณะที่ควรปรับปรุง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 56.3)2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างได้ทำการประเมินและส่งแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2 ของบัณฑิตที่มีงานทำทั้งหมด ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่ทำการประเมิน ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับต้น/หัวหน้างาน (ร้อยละ 57.4) ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 70.2) และมีระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกับบัณฑิตในช่วงมากกว่า 3 เดือน-6 เดือน (ร้อยละ 40.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง ที่มีต่อบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework for Higher Education: TQF) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x̄=4.01) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) เมื่อพิจารณาผลการประเมินคุณลักษณะของบัณฑิตในมุมมองของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) 2) ด้านความรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.98) 3) ด้านทักษะทางปัญญา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.89) 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=4.09) 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.84) 6) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄=3.95) ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.29) โดยคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ 1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (x̄=4.53) 2) มีจิตอาสา (x̄=4.53) 3) มีความพร้อมในการทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (x̄=4.45) 4) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ (x̄=4.34) 5) มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (x̄=4.28) 6) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (x̄=4.21) ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตประเมินว่า บัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มีคุณลักษณะที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็ง คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (ร้อยละ 55.31) และคุณลักษณะที่ควรปรับปรุง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ร้อยละ 29.78) th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- บัณฑิต -- การจ้างงาน th
dc.subject Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare -- College students -- Employment th
dc.subject การจ้างงาน th
dc.subject Employment th
dc.title รายงานผลการวิจัย การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2557 th
dc.title.alternative การศึกษาภาวะการมีงานทำของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ปีการศึกษา 2557 th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account