การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP MODEL) โดยประเมินหลักสูตรใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียน สถานที่เรียน ด้านกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การบริหารหลักสูตร และด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินประสิทธิภาพ การทำงานของบัณฑิต ความรู้ความเข้าใจ ทักษะในการปฏิบัติงาน และทัศนคติทางเทคนิคการแพทย์ และความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อเนื้อหาวิชาของการเรียนเทคนิคการแพทย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 202 คน บัณฑิต จำนวน 167 คน อาจารย์ จำนวน 58 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร จำนวน 3 คนและผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยตั้งเกณฑ์ค่าเฉลี่ยความเหมาะสม คือ 2.50-3.50 ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านบริบท นักศึกษา บัณฑิต และอาจารย์ มีความเห็นว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร มีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น นักศึกษา บัณฑิต และอาจารย์ มีความเห็นว่า อุปกรณ์การเรียน การสอน ตำราเรียน สถานที่เรียน มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการ นักศึกษา บัณฑิต และอาจารย์ มีความเห็นว่ากระบวนการเรียน การสอน การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านผลผลิต ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ มีความเห็นว่า บัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ซึ่งปฏิบัติงานทางด้านห้องปฏิบัติการ และด้านการขาย มีประสิทธิภาพ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ความชำนาญ ด้านทัศนคติ และด้านปฏิบัติงาน มีความเหมาะสมในระดับมาก นักศึกษา มีข้อเสนอแนะต่อหลักสูตรว่า ควรปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรในหมวดวิชาเลือก เพื่อรองรับนักศึกษาที่ต้องการทำงานเฉพาะด้าน เช่น รายวิชาสำหรับนักศึกษาที่สนใจจะศึกษาต่อ ทำงานวิจัย ทำงานทางด้านห้องปฏิบัติการ หรือทางด้านธุรกิจ เป็นต้น
The purpose of this research was to evaluate The Bachelor of Science (Medical Technology) curriculum at Huachiew Chalermprakiet University, by using CIPP Model in for aspects ; context, input, process and product. The subjects consisted of 202 Third-year and fourth-year Medical Technology students, 167 Medical Technology graduates, 58 instructors 3 curriculum specialist and 167 graduates' users Four-rating scale questionaires were administered. Data were analyzedby percentage, mean, and standard deviation. The result of this research was as follows : Context : It was found thatinstructors, students and graduates thought that the objectives of the curriculum were at a high level. Input : It was found that instructors, students and graduates thought that the learning resources were at a moderate level. Process : the students, graduates and instructors thought the instructional process, and the measurement and evaluation processes were at a high level.Product : the graduate's users thought the graduates were socially accepted on knowledge, skill, attitude and performance at a high level. The curriculum should include elective subjects for students who have different interest such as advanced courses in medical technology, laboratory management and business management.