รายงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์และผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีนที่มีต่อความต้องการกำลังคนหลักสูตรธุรกิจจีน สำรวจความร้องการและศักยภาพการผลิตกำลังคนหลักสูตรธุรกิจจีนในระดับอุดมศึกษา รองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีน และกำหนดแนวทางสำหรับสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรธุรกิจจีนที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารหรือตัวแทนสถานประกอบการจำนวน 189 คน และการสัมภาษณ์เจ้าของสถานประกอบการ ผู้บริหารหรือตัวแทนที่ประกอบธุรกิจกับจีน จำนวน 22 คน และตัวแทนสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรธุรกิจนีนอีก 3 คน รวมจำนวน 25 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน และจีน ส่งผลทำให้ตลาดขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันทำให้คู่แข่งขันทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ คือ ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของตลาดอาเซียนและจีน ความจำเป็นเร่งด่วนของภาครัฐที่จะะต้องดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพทางด้านกำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการที่ว่าควรเตรียนความพร้อมด้านกำลังคนหรือบุคลากรในอนาคต ในด้านความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อสถาบันการศึกษาในการผลิตบัณฑิตหลักสูตรธุรกิจจีนเพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีน คือ สามารถพูดภาษาจีนหรือภาษาประเทศอาเซียนในเชิงธุรกิจได้ (x̄=33.86) รองลงมา คือ เน้นการเรียนรู้ทางทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ (x̄=23.81) สำหรับรายวิชาเอกบังคับในหลักสูตรธุรกิจจีนที่มีความสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีเพียงวิชาเดียว คือ วิชาการจัดการธุรกิจส่งออกและนำเข้ากับประเทศจีน (x̄=3.69) สำหรับวิชาเอกเลือก ได้แก่ วิชาการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนายย่อมของจีน (x̄=3.59) ด้านคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์หรือมีความจำเป็นในการทำงาน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีเพียงคุณลักษณะเดียวคือ ความซื่อสัตย์ (x̄=3.59) รองลงมา ได้แก่ ความมีทัศนคติเชิงบวก (x̄=3.58) และความมีระเบียบวินัย (x̄=3.56)
The research aimed to analyze situation and impact from ASEAN and China Free Trade Area to the need of manpower in Chinese Business Program, to study the corporation' need and academic institute's potential of Chinese Business for the preparation of ASEAN Economic Community and China and relevant to labor market's need. Triangle was research methodology by qualitative and quantitative. The participants were 189 entrepreneur, administrators or representative and 3 academic institute representations. The research tools were questionnaire and interview. Both quantitative and qualitative data were analyzed bu using descriptive statistics, frequency, percentage, mean and standard deviation. As the result, it was recommended that the expansion of market as the results of ASEAN and China Free Trade Area meanwhile there will have more business competitors. The great barrier of Thai entrepreneur were lack of knowledge in ASEAN and China market. Entrepreneur's request in advance was the attempt to manpower potential development to labor market. The development of potential skill labor in immediately for government sector in accordance with the entrepreneur. The entrepreneur's expectation toward academic institute in Business Chinese Program for ASEAN Economic Community and China was knowledge in technical term vocabulary in Business Chinese or ASEAN language (x̄=33.86) and able to apply theory in work. For subjects of the curriculum, Thai and China Import-Export management was excess mean (x̄=3.69) in major subject and Small and Medium Enterprise of China (x̄=3.59) is minor subject. The excess mean of desirable characteristic of undergraduate in work were honesty (x̄=3.59), positive attitude (x̄=3.58) and discipline (x̄=3.58).