DSpace Repository

วิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง: กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิมธิรา อ่อนคำ
dc.contributor.author Gao, Jingjing
dc.date.accessioned 2022-04-24T09:24:26Z
dc.date.available 2022-04-24T09:24:26Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/145
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564 th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและการลงภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวม้ง บ้านแม่สาใหม่ รวมทั้งสิ้น 40 คน และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านแม่สาใหม่แบ่งเป็น 1) ด้านวิถีชีวิต ชาวม้ง กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีวิถีชีวิตตามแบบบรรพบุรุษของตนเองเช่น อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปบ้างตามสังคมไทย 2) ด้านวัฒนธรรม ชาวม้งยังคงสืบทอดและรักษาวัฒนธรรมของตนเอง คือ ด้านศิลปะบนผืนผ้าเครื่องแต่งกาย เช่น การทอผ้าใยกัญชงและการปักผ้าม้ง ด้านความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ศาลประจำหมู่บ้าน และด้านภูมิปัญญา คือ ปัจจุบันชาวม้งยังคงทำเครื่องเงิน ตีมีด และทำเครื่องแต่งกายม้งสำหรับการนำมาใช้สอย 3) ด้านประเพณี พวกเขายังคงปฏิบัติตามประเพณีชีวิต เช่น ประเพณีการเกิด การแต่งงาน การไหว้ผีบรรพบุรุษ และประเพณีที่เกี่ยวกับการตาย ประเพณีสังคม เช่น ประเพณีปีใหม่ม้ง ประเพณีกินข้าวใหม่ ซึ่งยังคงปฏิบัติจนปัจจุบัน 4) การสืบทอดวิถีชีวิตจาก ครอบครัว ชุมชน ภาครัฐและสมาคม ที่ทำให้ชาวบ้านยังคงรักษาแบบแผนการดำรงชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตเกิดจาก 1) การพัฒนาจากภาครัฐ ระบบการศึกษา การประกอบอาชีพ และเทคโนโลยี จึงทำให้พวกเขาเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างรวดเร็ว 2) การผสมกลมกลืนพบว่า การรับนโยบายภาครัฐ การศึกษา การประกอบอาชีพ การแต่งงานและการย้ายถิ่นร่วมกับคนไทยจึงทำให้ชีวิตของชาวม้งเกิดการผสมกลมกลืนกับคนไทยมากขึ้น 3) บทบาทที่มีต่อสังคมไทย คือ ด้านเกษตรกรรมและด้านหัตถกรรม ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านยังคงปฏิบัติเป็นอาชีพหลักและมีการส่งออกไปจำหน่ายยังนอกพื้นที่ด้วย และการพัฒนาพื้นที่จนกลายเป็นการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านจึงทำให้หมู่บ้านได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศที่มีคุณค่าอีกพื้นที่หนึ่งในประเทศไทย th
dc.description.abstract This research aims to study the way of life and changes of Hmong ethnic group in Ban Mae Sa Mai, Pongyang sub-district, Maerim District, Chiangmai province. The researcher collects data in both documentation and field study by depth-interview with 40 Hmongs in Ban Mae Sa Mai. The research is presented in descriptive analysis. The research finds that the way of life of Hmong in Ban Mae Sa Mai can be divided into 1) Way of life, Hmong still have their ancestral lifestyle like eating, dressing, etc. But nowadays it has changed somewhat according to Thai society. 2) Culture, Hmong inherits their culture, i.e. the art on fabrics like hemp weaving and Hmong embroidery. The beliefs and ceremonies like the belief on ancestor ghost and village court. Their wisdom is that Hmong are still making silverware, forging knives and Hmong costumes for their use. 3) Traditions, they still follow life traditions like the tradition of birth, marriage, worshiping ancestors and death, social traditions like Hmong New Year and Eating New Rice which inherits until present. 4) Inheritance of lifestyle from family, community, government and association allows Hmong to maintain own lifestyle. Secondly, changes of way of life is due to following. 1) Government, education, occupation and technology make a quick change in lifestyle. 2) Blending, it was found that Government policy, education, occupation, marriage and migration with Thai and have made the life more harmonious with the Thai people. 3) Their role is in agriculture and handicrafts. Hmong keep as their main occupation and have been exported to outside the area. Moreover, with cooperation of Hmong, the village has been developed to be a cultural and ecological tourism community destinations in Thailand. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- เชียงใหม่ th
dc.subject Ethnic groups -- Thailand -- Chiangmai th
dc.subject ม้ง -- ไทย (ภาคเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject Hmong -- Thailand, Northern -- Social life and customs th
dc.subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม th
dc.subject Social change th
dc.subject บ้านแม่สาใหม่ (เชียงใหม่) -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject Ban Mae Sa Mai (Chiangmai) -- Social life and customs th
dc.title วิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง: กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ th
dc.title.alternative Way of Life and Changes of Hmong Ethnic Group : A Case Study of Ban Mea Sa Mai, Pongyang Sub-district Maerim District, Chiangmai Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account