DSpace Repository

วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรโชติ เกิดแก้ว
dc.contributor.author Li, Man
dc.date.accessioned 2022-04-24T09:38:25Z
dc.date.available 2022-04-24T09:38:25Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/146
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564 th
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและวิเคราะห์การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกหลานชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตำบลปากน้ำโพ จำนวน 40 คน และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยด้านวิถีชีวิตพบว่า 1) ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายจีนในตำบลปากน้ำโพดำเนินชีวิตแบบผสมผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในสังคมไทย แต่พวกเขายังคงสืบทอดและรักษารูปแบบวิถีชีวิตความเป็นจีนไว้ได้ ทั้งด้านที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ภาษา การแต่งกาย การรักษาโรค การนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ และการศึกษา 2) คุณธรรมสำคัญที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวจีนในพื้นที่แห่งนี้ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษของตนและยังคงรักษาไว้ที่พบ คือ ความกตัญญูและการเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ครูอาจารย์ 3) ความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ยังคงรักษาไว้อย่างเข้มแข็ง คือ ความเชื่อเรื่องการไหว้เจ้า และความเชื่อเรื่องการไหว้บรรพบุรุษ 4) ประเพณีจีนที่ยังคงยึดถือปฏิบัติและสืบทอดต่อให้แก่ลูกหลานอย่างเหนียวแน่น คือ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ การแต่งงาน การจัดพิธีศพ และประเพณีเกี่ยวกับสังคม ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน เชงเม้ง ทิ้งกระจาด และกินเจ ส่วนด้านการสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนในตำบลปากน้ำโพ พบว่า 1) ปัจจัยที่ทำให้การสืบทอดวิถีชีวิตความเป็นจีนยังคงดำรงอยู่ คือ สมาชิกในครอบครัว ชาวบ้านในชุมชน และสมาคมคนไทยเชื้อสายจีนต่าง ๆ 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยภายในตัวบุคคลทั้งความกลัว ทัศนคติ ความต้องการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การศึกษา และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างวัฒนธรรม ความไม่เข้มงวดในขนบประเพณีของครอบครัว การแต่งงานกับคู่สมรสที่ไม่ใช่คนจีน ค่านิยมทางสังคม ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ระบบการศึกษาไทย การรับประเพณีวัฒนธรรมอื่นมาผสมผสานกับประเพณีวัฒนธรรมของตน รวมถึงการพยายามเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากคนจีนต่างด้าวมาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่มีบทบาทในการพัฒนาสังคมท้องถิ่นและประเทศชาติให้เจริญในหลายด้าน th
dc.description.abstract This research aimed to study the way of life, inheritance and changes the way of life of the Chinese-Thai people in Tambol Pak Nam Pho, Muang Nakhon Sawan, Nakhon Sawan Province. This research is a qualitative research studying from documentation, research and filedwork study in the field by using participatory and non-participatory observation and in-depth interviews with sample of 40 people in Tambol Pak Nam Pho. The research findings were reported as a descriptive analysis. The research finds that the way of life of Chinese-Thai people in Tambol Pak Nam Pho 1) Nowadays, they live a life of integration with the Thai social environment, but they still inherited the traditional Chinese way of life either living, eating, language, dressing, disease treatment, religion, occupation and education. 2) They're still gratitude, respect, and listen to the teachings of parents and teachers. 3) The beliefs that are inherited from their ancestors are Worship of the gods, and offering sacrifices to ancestors. 4) There are two annual traditions of the Chinese-Thai people, that is lifestyle customs, including marriage, funeral affairs, etc. Social custom including Chinese New Year, Qingming, vegetarian festival, etc. And, the research also finds that 1) The factor that makes the Chinese-Thai people still inherited traditional Chinese way of life from their ancestors are family members, villagers in the community and various associations of Chinese-Thai people. 2) The factors causing changes in way of Chinese-Thai people in Tambol Pak Nam Pho can be divided into two aspects. First, human intrinsic factor including fear danger; standpoint; the purpose of change is to adapt the social environment, in order to make oneself can be continued to live in Thailand; financial position; with higher education. 2) Environmental factor including contact with the Thai people in all aspects; Marrying a Thai Partner; the values of people in Thai society; Thai education system; social media, etc. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ชาวจีน -- ไทย -- นครสวรรค์ -- ความเป็นอยู่และประเพณี th
dc.subject Chinese -- Thailand -- Nakhon Sawan -- Social life and customs th
dc.subject ชาวจีน -- ไทย -- นครสวรรค์ -- ภาวะสังคม th
dc.subject Chinese -- Thailand -- Nakhon Sawan -- Social conditions th
dc.subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม th
dc.subject Social change. th
dc.subject ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) th
dc.subject Pak Nam Pho (Nakhon Sawan, Thailand) th
dc.title วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนในตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ th
dc.title.alternative Way of Life of Chinese - Thai People in Tambol Pak Nam Pho Amphoe Mueang Nakhon Sawan Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account