DSpace Repository

พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดภาษี แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author อุษณา เฑียรแสงทอง
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2023-12-09T11:28:42Z
dc.date.available 2023-12-09T11:28:42Z
dc.date.issued 2005
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1476
dc.description การศึกษาด้วยตนเอง (สส.ม) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
dc.description.abstract การศึกษา เรื่อง “ พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนวัดภาษี แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนวัดภาษีฯ จำนวน 118 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยรวม และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะปัญหาของครอบครัวที่กำลังประสบอยู่โดยเรียงตามลำดับ คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาด้าน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ส่วนลักษณะปัญหาของ ครอบครัวที่มีความสำคัญ มีอิทธิพล และมีผลกระทบต่อครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคม ปัญหาด้านด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และปัญหาด้านความรุนแรงในครอบครัว ตามลำดับ พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรม การจัดการปัญหาทั้ง 3 วิธีผสมผสานกันตามแต่ละสถานการณ์ของลักษณะปัญหาในครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรง ระดับดีมาก ประกอบด้วย พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ระดับดีมาก และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง ระดับดีมาก ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิต ระดับปานกลาง ประกอบด้วย การปฏิเสธความจริง การแยกทางอารมณ์และความคิด การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก การเก็บกด การแทนที่ การชดเชย การโทษผู้อื่น การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง การเฟ้อฝัน และการถดถอย การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการสนับสนุนทางสังคม โดยรวม ระดับปานกลาง ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมด้านจิตใจและอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมด้านเงิน สิ่งของ และบริการ การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการปัญหา จำแนกตาม ตัวแปรต่างๆ พบว่า เพศชาย-หญิง และผู้ที่มีบทบาทในครอบครัวต่างกัน มีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิตที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการจัดการปัญหารายด้าน กับ ลักษณะปัญหาของครอบครัว พบว่า ผู้ที่มีลักษณะปัญหาครอบครัวต่างกัน มีการใช้พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวรายด้าน กับพฤติกรรมการจัดการปัญหารายด้าน โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ พบว่า การสนับสนุนทางสังคมด้านจิตใจและอารมณ์ และการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ พฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงตนเอง และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิต ส่วนการสนับสนุนทางสังคมด้านเงิน สิ่งของ และบริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยตรงแบบการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และพฤติกรรมการจัดการปัญหาโดยการใช้กลไกป้องกันทางจิต th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรงเรียนวัดภาษี th
dc.subject Wat Pasi School th
dc.subject ครอบครัว th
dc.subject Families th
dc.subject ผู้ปกครองกับเด็ก th
dc.subject Parent and child th
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม th
dc.subject Social support th
dc.subject การแก้ปัญหา th
dc.subject Problem solving th
dc.title พฤติกรรมการจัดการปัญหาของครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดภาษี แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร th
dc.title.alternative Behaviors on Family Problem Management : A Case Study of Parents of the 4th - 6th Grade Student, Wat Pasi School, Klongtan Sub-District, Wattana th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การบริหารสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account