DSpace Repository

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.author บุษบงก์ วิเศษพลชัย
dc.date.accessioned 2023-12-29T03:44:11Z
dc.date.available 2023-12-29T03:44:11Z
dc.date.issued 2007
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1512
dc.description การศึกษาอิสระ (พย. ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 th
dc.description.abstract การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน ภายใต้หลักการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ของแนวทางของ Melnyk and Fineout-Overholt (2005) โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลจากการทบทวนวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยจำนวน 21 เรื่อง 2) ขั้นตอนการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทดสอบความเป็นไปได้ในการใช้จริงกับบุคลากรสุขภาพและผู้สูงอายุในชุมชนผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบประเมินผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ประกอบด้วย 1) การประเมินข้อมูลทั่ว ได้แก่ เพศ อายุและค่าดัชนีมวลกาย 2) การประเมินความรุนแรงของอาการปวดเข่า ได้แก่ ระยะเวลาที่ปวดเข่าและการใช้ยาบรรเทาอาการปวด 3) การตรวจร่างกายด้วยการดูและการคลำ 4) การประเมินความปวดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ 10 กิจกรรม 5) การประเมินความวิตกกังวล คะแนนที่ได้จากการประเมินทั้งหมดนำมาวินิจฉัยแยกระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ คือ รุนแรงน้อย รุนแรงปานกลาง และรุนแรงมาก ส่วนที่ 2 เป็นแนวปฏิบัติเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนแยกตามระดับความรุนแรงที่วินิจฉัยได้ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้และสอนเรื่องข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกาย การประคบสมุนไพร การควบคุมน้ำหนัก การคลายเครียดและการเยี่ยมบ้าน 2) แนวปฏิบัติของผู้สูงอายุและครอบครัว ได้แก่ การออกกำลังกาย วิธีการลดแรงกดต่อข้อ การจัดสิ่งแวดล้อมครัวเรือน ภายหลังการนำ แนวปฏิบัติการพยาบาลไปทดสอบความเป็นไปได้ในการใช้จริงในชุมชนกับบุคลากรสุขภาพ พบว่าสามารถใช้ได้สะดวก ทำให้ประเมินความรุนแรงครอบคลุมทั้งร่างกายและจิตใจ แยกระดับความรุนแรงของโรคได้ชัดเจน ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัวพึงพอใจมากต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้โดยเฉพาะลักษณะกิจกรรมที่ควรปฏิบัติและการติดตามเยี่ยมบ้านซึ่งปรากฎว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปวดเข่าและวิตกกังวลลดลงข้อเสนอแนะของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนควรมีการประเมินซ้ำทุก 1 เดือนและทดลองใช้กับผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเพื่อความต่อเนื่องในการดูแลและเพิ่มความแม่นตรงของแนวปฏิบัติโดยเฉพาะการประเมินมิติด้านจิตใจ ส่งเสริมให้มีการใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันสุขภาพและควรเผยแพร่แนวปฏิบัติในกลุ่มวัยทำงานเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การพยาบาลผู้สูงอายุ th
dc.subject Geriatric nursing th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล th
dc.subject Older people -- Care. th
dc.subject ข้อเสื่อม th
dc.subject Osteoarthritis th
dc.title การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน th
dc.title.alternative The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Elderly with Osteoarthritis Care in Community th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account