DSpace Repository

การลดการสูญเสียก๊าซในขบวนการจัดส่ง : กรณีศึกษาบริษัท ไอจี จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิรัตน์ ทองรอด
dc.contributor.author ปวรปรัชญ์ ปรัชญาวรกุล
dc.date.accessioned 2023-12-29T08:16:11Z
dc.date.available 2023-12-29T08:16:11Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1536
dc.description การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (คณะบริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549. th
dc.description.abstract การศึกษาด้วยตัวเองครั้งนี้เป็นการศึกษาหาสาเหตุของการสูญเสียของก๊าซอาร์กอน ไนโตรเจน และออกซิเจนในการกระบวนการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัท ไอจี จำกัด เพื่อคิดค้นหาแนวทางและแก้ไขให้บรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนในกระบวนการจัดส่งก๊าซอุตสาหกรรมเริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมเพื่อพัฒนาแบบบันทึกข้อมูลของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปเก็บข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อยืนยันปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางแก้ไข แล้วจึงนำแนวทางไปปฏิบัติจริงเพื่อเก็บข้อมูลหลังการปรับปรุงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลเบื้องต้นของก๊าซทั้งสามชนิดประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และอาร์กอน มีอัตราการสูญเสียร้อยละ 7.31, 7.45, และ 6.72 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลเบื้องต้นไปวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับร้อยละการสูญเสียของก๊าซพบว่าร้อยละของการสูญเสียก๊าซออกซิเจน = 4.723+032 (ความดันแทงค์) + 0.001 (จำนวนลูกค้าต่อเที่ยว) + 0.828 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.001 (จำนวนน้ำหนักบรรทุกก๊าซต่อเที่ยว) + .10 (จำนวนเวลาการเดินปั๊มในขณะเติมก๊าซ) ซึ่งมีค่า R2 = 0.679 (P-value = 0.000) ร้อยละของการสูญเสียก๊าซไนโตรเจน = 26.982-1.895 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.426 (จำนวนลูกค้าต่อเที่ยว) + 0.22 + (จำนวนเวลาการเดินปั๊มเติมก๊าซ) + 0.0001 (จำนวนน้ำหนักการขนส่งต่อเที่ยว) + 0.004 (ความดันแทงค์) ซึ่งมีค่า R2 เท่ากับ 0.761 (P-value = 0.000) ร้อยละของการสูญเสียก๊าซอาร์กอน = 24.060 - 1.744 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.68 (จำนวนลูกค้า ต่อเที่ยว) + 0.006 (ความดันแทงค์) ซึ่งมีค่า R2 เท่ากับ 0.765 (P-value = 0.000) เมื่อนำปัจจัยที่ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการปรับปรุงประกอบด้วยความดันสูงแนวทางในการแก้ไขต้องรักษาความดันให้มีค่าที่ต่ำไม่เกิน 100 psig ขนาดของแทงค์บรรจุก๊าซที่ลูกค้าต้องเหมาะสมกับปริมาณการใช้ไม่เล็กจนเกินไป ทำให้การเติมมีความถี่มากขึ้น ส่งผลต่อการสูญเสียสภาพของรถจัดส่งรวมถึงปั๊มที่ใช้ในการขนถ่ายควรมีแนวทางในการซ่อมบำรุงรักษาอย่างใกล้ชิด มีแผนการซ่อมที่ชัดเจน และในการจัดการด้านการจัดการในการจัดส่ง เกี่ยวกับจำนวนเที่ยวในการขนส่งต่อครั้งควรจัดให้อยู่ประมาณไม่เกินสามรายต่อการจัดส่งต่อเที่ยว เมื่อนำแนวทางการปรับปรุงมาปฏิบัติและข้อมูลหลังการปรับปรุงพบว่าก๊าซทั้งสามชนิดมีร้อยละของการสูญเสียดังนี้ ก๊าซออกซิเจน 5.10 ก๊าซไนโตรเจน 5.08 และก๊าซอาร์กอน 5.09 และเมื่อเปรียบเทียบของการวิเคราะห์อัตราร้อยละของการสูญเสียก๊าซ ก่อนและหลังจะเห็นว่ามีข้อแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.33 สำหรับก๊าซออกซิเจน P = 0.037 สำหรับก๊าซไนโตรเจน และP = 0.014 สำหรับก๊าซอาร์กอน) หรือก๊าซออกซิเจน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีที่ลดต้นทุนได้เท่ากับ 0.43 ล้านบาท ก๊าซไนโตรเจน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีที่ลดได้เท่ากับ 0.43 ล้านบาท และก๊าซอาร์กอน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีได้เท่ากับ 8.17 ล้านบาท เทียบกับปี 2548 ตามลำดับ th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject บริษัท ไอจี จำกัด th
dc.subject IG Company th
dc.subject ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) th
dc.subject Six sigma (Quality control standard) th
dc.subject ก๊าซ th
dc.subject Gas. th
dc.subject การควบคุมความสูญเปล่า th
dc.subject Loss control th
dc.subject การขนส่ง th
dc.subject Transportation th
dc.title การลดการสูญเสียก๊าซในขบวนการจัดส่ง : กรณีศึกษาบริษัท ไอจี จำกัด th
dc.title.alternative Decreasing the Loss of Industrial Gas Via Distribution Processes : A Case Study of IG Compan th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account