การศึกษาวิจัย เรื่อง การสร้างสรรค์เทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของผู้ประกอบการศิลปะการแสดงพื้นบ้านของตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ 2. ศึกษาแนวทางและสร้างสรรค์การจัดเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ และ 3. เพื่อประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุน (ROI/SROI) วิธีการดำเนินการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม การถอดบทเรียนและการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาหลัก คือ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการศิลปะการแสดงพื้นบ้านฯ ทำให้หลายพื้นที่ไม่สามารถทำการแสดงได้ เจ้าภาพแจ้งเลื่อนหรือยกเลิก ปัญหารอง คือ ขาดการสื่อสารการตลาดความนิยมชมการแสดงพื้นบ้านที่ลดลง คนหันไปเสพสื่อใหม่ เน้นชมออนไลน์ แนวทางการจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้านฯ จำนวน 11 แนวทาง ได้แก่ 1. ชูอัตลักษณ์จากรากเหง้าทำให้โดดเด่น 2. จัดหมวดหมู่กิจกรรมและพื้นที่ 3. มีกิจกรรมการเรียนรู้ นิทรรศการและการเสวนา 4. สร้างแพลทฟอร์มเพื่อช่วยศิลปิน 5. สร้างจุดเน้นนำสายตาภายในงาน 6. สร้างโครงเรื่องให้น่าติดตาม 7. หยิบเรื่องราวของชีวิตนักแสดงมาเล่า 8. เชิญผู้เชี่ยวชาญ ศิลปินมาร่วมพูดคุยและทำกิจกรรม 9. จัดไลฟ์สดแบบออนไลน์ 10. มีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาขาย และ 11. ชุมชนเป็นเจ้าของเทศกาล หน่วยงานต่าง ๆ เป็นส่วนสนับสนุน โดยสร้างสรรค์การจัดงานเทศกาลศิลปะการแสดงพื้นบ้าน 5 ขั้นตอน เป็นรูปแบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Steaming) ผสานการจัดในสถานที่จริง (On ground) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุน (ROI) หลังจัดงานเทศกาลฯ คณะโขนสดเด็กครูวิกฉิมพลี ROI = 31 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 720,000 บ. คณะดนตรีไทยบ้านศรีเกตุ ROI = 82 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 1,440,000 บ. คณะกลองยาวบัญญัติศิลป์ ROI = 33 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 288,000 บ. คณะหมอทำขวัญนาคขวัญเรือนลูกปราการ ROI = 100 % รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี จำนวน 672,000 บ. สำหรับผลตอบแทนทางสังคม (SROI) มูลค่าการลงทุนโครงการจัดงานเทศกาลฯ จำนวนทั้งสิ้น 410,744.71 บ. สามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์จากการลงทุน จำนวน 3,741,866.35 บ. เมื่อนำมาคำนวณการประเมินผลกระทบทางสังคมเทียบกับเงินลงทุนดำเนินการ จำนวน 1 บาท จะได้ผลตอบแทนทางสังคม SROI = 9.11 บาท สรุปได้ว่า เป็นโครงการที่น่าลงทุน
This research study about the creation of a performing arts and folk festival with community participation that aimed to improve the local economy of Bang Saotong District, Samutprakarn. The objectives were 1. to study the problems of local performing arts entrepreneurs in Sisa Chorakhe Yai 2. to study the guidelines and creativity in organizing the Sisa Chorakhe Yai Folk Performing Arts Festival 3. to assess the Return on Investment and Social Return on Investment (ROI/SROI). A qualitative research methodology was used. The research took the form of participatory action research that consisted of: document gathering, related research reports, participant and non-participant observation, in-depth interviews, group chats, organizing a community forum, knowledge management and feedback to the community. The study found that the main problem was the severity of the COVID-19 epidemic which affected the folk performing arts entrepreneurs in Sisa Chorakhe Yai. The secondary problem was the lack of marketing communication. Moreover, people are now focusing on new media online which led to the decline in folk performances popularity. There were 11 guidelines for organizing the Folk Performing Arts Festival 1.emphasize identity from the root to make it stand out 2. categorize activities and areas 3.arrange learning activities, exhibitions and discussions 4. build a platform to help artists 5. create a visual focus within the event 6. create an engaging storyline from start to finish 7. create story telling from actors' lives 8. invite expert artists to talk 9. organize live online events 10. invite vendors 11. the community is the owner of the Folk Performing Arts Festival and various agencies act as supporters in 5 steps. The Folk Performing Arts Festival included both online broadcasting (Live Steaming) and on ground (onsite?) activities according to security measures necessitated by the COVID-19 situation. The assessment of economic return on investment (ROI) after the Folk Performing Arts Festival, Khon Sod Khru Wik Chimphli School ROI = 31 % with an average total income per year of 720,000 baht, Ban Sri Ket Thai Music Group ROI = 82 % with an average total income per year of 1,440,000 baht, Klong Yow Bunyadsil ROI = 33 % with an average total income per year of 288,000 baht, Tham Kwan Nak Kwan Ruen Luk Prakan group ROI = 100 % with an average total income per year of 672,000 baht. The Social Return on Investment (SROI) of 410,744.71 baht could generate value from the investment in the amount of 3,741,866.35 baht. When calculating the social impact assessment compared to the investment in the amount of 1 baht, the social return is SROI = 9.11 baht. Concluded that the project was worth investing in.