การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของวัดบัวโรย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้างโดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ที่จาพรรษาในวัดบัวโรย ปราชญ์ชุมชน นายกองค์การบริหารส่วน ตำบลบางเสาธง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในองค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ผู้นาชุมชน ประชาชนท้องถิ่นที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับวัดบัวโรย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เชื่อมโยงข้อมูล และสรุปผล ผลการวิจัย พบว่าอัตลักษณ์ของวัดบัวโรยประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ได้แก่ หลวงพ่อเพชร 2) อัตลักษณ์ด้านคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์หรือความงามได้แก่ ความสวยงามของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดบัวโรย 3) อัตลักษณ์ด้านคุณค่าทางสังคมได้แก่ งานประจำปีวัดบัวโรย (กิจกรรมสักการะหลวงพ่อเพชร และงานฉลองพระมหาเจดีย์ศรีบัวโรย) และ 4) อัตลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ วิถีชีวิตริมคลองบางเสาธงที่ติดกับวัดบัวโรย ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ให้กับวัดบัวโรยในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งมีพื้นฐานจากการความโดดเด่นของวัดบัวโรยเอง นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาสามารถนาไปจัดทำคลังข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการส่งเสริมให้สังคมท้องถิ่นมีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมต่อไป
This research aims to study the identity of Wat Bua Roi, Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province to promote cultural tourism. A qualitative method was employed by collecting data from in-depth interviews. The key informants included the abbot and monks who spent the Buddhist Lent at Bua Roi Temple, community scholars, the president and officials of the Bang Sao Thong Subdistrict Administrative Organization, community leaders, and local people. Data analysis used content analysis by linking the data and concluding the results. The results showed that the identities of Wat Bua Roi consisted of 1) historical identity is Luang Por Petch Buddha image 2) the aesthetic or beauty value identity is the aesthetics of sacred things in Wat Bua Roi 3) Social value identity is annual event at Wat Bua Roi (activities such as paying respect to Luang Pho Phet and the celebration of Phra Maha Chedi Sri Bua Roi) and 4) environmental identity, way of life along the Bang Sao Thong canal adjacent to Bua Roi Temple. The results of the study can be constructively useful for Wat Bua Roi in driving cultural tourism based on the prominence of Wat Bua Roi itself. In addition, the data from the study can be used to create resources and basic information of Bua Roi Temple as a cultural tourist attraction. Moreover, the research data contributes to the development of cultural tourism and promoting local societies to preserve cultural heritage.