การวิจัยประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง 2564) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรในบริบท (Context) ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร (Input) ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน 3) เพื่อประเมินกระบวนการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร (Process) ได้แก่ กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน 4) เพื่อนำผลการวิจัยประเมินหลักสูตร (Outcome) ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาเอก พ.ศ. 2559 และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งกำหนดให้ทุกหลักสูตรจะต้องทำการพัฒนาหลักสูตร และมีการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย1. อาจารย์ประจำหลักสูตร : อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน จำนวน 5 คน2. ผู้สำเร็จการศึกษา : บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน3. ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา : ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยและคณะได้สร้างขึ้น โดยศึกษาจากทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร และการทบทวนเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสร้างเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามผู้สำเร็จการศึกษา แบบสอบถามผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษาโดยใช้รูปแบบมาตรฐาน ส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการของหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และผลลัพธ์ของหลักสูตร แบบสอบถามอาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของรายวิชาในหลักสูตรและข้อเสนอแนะในการบริหารหลักสูตรผลการศึกษาเป็นดังนี้1. ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับรายวิชาในหลักสูตรของผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 4 รายวิชา ดังนี้1. CN 9010 วิวัฒนาการสอน ภาษาจีนในฐานภาษาต่างประเทศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 ระดับมากที่สุด2. CN 9020 การวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ระดับมากที่สุด3. CN 9030 ระบบภาษาจีนกับการเรียนการสอนภาษาจีน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ระดับมากที่สุด4. CN 9040 วัฒนธรรมจีน-ไทยเชิงเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ระดับมากที่สุดภาพรวมความคิดเห็นจากคำถามปลายเปิดของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มีข้อเสนอแนะว่า การปรับปรุงหลักสูตร ในส่วนของรายวิชามีความครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและทักษะการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ แต่ควรมีรายวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านและการสืบค้นข้อมูลจากภาษาจีนโบราณ เพื่อนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลและบูรณาการในการเขียนดุษฎีนิพนธ์ได้ ในส่วนของกระบวนการและการบริหารหลักสูตร โดยภาพรวมผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจต่อกระบวนการและการบริหารหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.80 อยู่ในระดับดีมากผลการประเมินผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา1. ด้านคุณธรรม/จริยธรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 คือ ระดับดีมาก2. ด้านความรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 คือ ระดับมาก3. ด้านทักษะทางปัญญา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 คือ ระดับมาก4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 คือ ระดับมาก5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 คือ ระดับมาก 6. ด้านอื่นๆ คุณภาพโดยรวมของดุษฎีบัณฑ์ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 คือ ระดับมากผลการประเมินความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร แบ่งเป็น 3 หมวด ดังนี้1. โครงสร้างหลักสูตรอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 100 มีข้อเสนอแนะว่าควรปรับโครงสร้างหลักสูตรจากเดิม (แบบ 1.1) 54 หน่วยกิตมาเป็น (แบบ 2.1) 69 หน่วยกิต2. ปรับรายวิชาในหมวดบังคับอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 80 ให้ข้อเสนอแนะว่า จากเดิมรายวิชาแกน 4 รายวิชา (ไม่นับหน่วยกิต) ควรปรับเป็น วิชาบังคับ 4 รายวิชา (นับหน่วยกิต) โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 3 ท่าน มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเพิ่มรายวิชาที่เกี่ยวกับการอ่านและการสืบค้นวิชาภาษาจีนโบราณเพิ่มอีก 1 รายวิชา3. ปรับชื่อรายวิชาให้เหมาะสมอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้ง 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 100 มีข้อคิดเห็นว่า ควรมีการปรับชื่อรายวิชาให้สอดคล้องกับชื่อหลักสูตรและควรปรับแก้ไขคำอธิบายในทุกรายวิชาให้มีความสอดคล้องและทันสมัยมากยิ่งขึ้นข้อเสนอแนะอื่นๆมีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร 4 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 80 ที่มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดการระบบการติดตามการทำดุษฎีนิพนธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 100 เสนอให้เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาให้มากขึ้น เช่น วีแชท ไลน์ เฟสบุ๊ค อีเมล์
Research on curriculum evaluation on the Doctoral degree of Chinese Language Teaching Program had the following objectives: 1) analyze the curriculum and evaluation its quality in context of the objectives, structure and content, 2) evaluate the curriculum's inputs such as lectures, students, and teaching and learning support factors 3) evaluate the administration and teaching management process, including teaching and learning activities, and evaluating learning outcomes, 4) apply the results of the research as a guideline for the improvement and development of the curriculum in accordance with the guideline and developing plan of the doctoral program in 2017 and the national qualification framework year 2009 which required all courses to develop a curriculum and that which, must be assessed continuously every five years; thus this evaluation. Population and samples of the evaluation on the Doctoral Degree, Chinese Language Teaching Program (Curriculum Revision 2021) were divided into 4 groups as follows:1. Program Instructors: Five program instructors who teach the courses in the curriculum2. Graduates: Three graduates who successfully earned the Doctoral Degree of Chinese Language Teaching Program in the academic year 20193. Graduates Employers: Three employers of graduates of the Doctoral degree of the year 2019.The research tools used to collect research data were the questionnaires created by the researchers from studying theories and concepts of curriculum evaluation. The researchers also reviewed relevant studies to create research tools consisting of questionnaires for the graduates and their employers using a standard format: 5 level evaluation sections and open-ended questions about course revision, curriculum updates, course process, course administration, and course results. Questionnaires for instructors were questions of suitability of course subjects and recommendations for curriculum administration. The results were as follows: Evaluation from the graduates on the following 4 courses:1. CN 9010 Evolution of Teaching Chinese as a foreign language was at the average of 4.87 (highest level)2. CN 9020 Research on Chinese Language Teaching was at 4.67. (highest level)3. CN 9030 Chinese Language System and Chinese Teaching was at 4.67 (highest level)4. CN 9040 Comparative Chinese-Thai Culture was at 4.73 (highest level)An overview of the open-ended questions of the graduates was suggested that apart from the revision of curriculum of theories and skills of teaching Chinese as a foreign language course, there should be courses that contain contents on reading and searching for information from ancient Chinese. These can be used in researching and integrating in writing a dissertation. The graduates were satisfiesd with the process and administration of the curriculum. The overall average was at 4.80, which was in the highest level.Employers of Graduates Assessment Results:1. Morality and Ethics was at the average of 4.37. (highest level)2. The graduates' knowledge was at the average of 4.33. (highest level)3. Intellectual skills was at the average of 4.24 (highest level)4. Interpersonal skills and responsibility was at 4.44 (highest level)5. Numerical Analysis, Communication, and Information Technology Skills were at the average of 4.41. (highest level)6. Others, Overall Quality of the program was at the average of 4.66 (highest level)The instructors' evaluation of the curriculum was divided into three categories as follows:1. Program StructureAll the five program instructors (100%) suggested that the curriculum should be restructured from the original (Form 1.1) 54 credits to (Form 2.1) 69 credits.2. Adjusting Professional Courses80% of five program instructors suggested that the original four professional courses (excluding credits) should be adjusted to the four compulsory subjects (credits count). Three instructors suggested that there suggested that there should be an additional course related to reading and searching of Ancient Chinese subjects.3. Adjust the cours names.100% of the program instructors suggested that the course names should be adjusted in accordance with the program and the descriptions of all courses to be more consistent and up-to-date.Other suggestions:80% of instructors of the program suggested that there should be a more efficient management of the dissertation tracking system. The five instructors in the curriculum (100%), proposed to increase communication channels between instructors and students using a variety of communication platforms such as WeChat, Line, Facebook, or email.