DSpace Repository

ฤทธิ์แอนติออกซิแดนซ์และต้านมะเร็งของสารสกัดหยาบจากมะรุม (Moringa oleifera Lam) ของไทยในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงต้นแบบชนิด K562

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา เสมศรี
dc.contributor.author ทรงยศ อนุชปรีดา
dc.contributor.author วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเทคนิคการแพทย์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเภสัชศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2024-01-21T06:22:28Z
dc.date.available 2024-01-21T06:22:28Z
dc.date.issued 2014
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1644
dc.description.abstract ปัจจุบันการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวมุ่งสู่ทางเลือกใหม่โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติได้ถูกศึกษาและพยายามที่จะรวบรวมความรู้ใหม่เพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นที่น่าสนใจว่าการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามะรุมมีฤทธิ์ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยการเสริมสร้างสถานะของสารต้านอนุมูลอิสระและระดับของอาร์โอเอส อย่างไรก็ตามความเป็นพิษของสารสกัดจากมะรุมกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังไม่เคยรายงาน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ การศึกษาฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็งของมะรุมไทยในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวต้นแบบชนิด K562 ความเป็นพิษของสารสกัดหยาบมะรุมถูกวัดโดยวิธีเอ็มทีที สารต้านอนุมูลอิสระถูกตรวจโดยวิธีดีพีพีเอช นอกจากนี้ยังตรวจระดับโปรตีนวิล์มทูเมอร์วันโดยวิธีเวสเทิร์นบลอท ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดย One-way ANOVA จากโปรแกรม SPSS จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบมีความเป็นพิษกับเซลล์ K562 โดยมีระดับความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ร้อยละ 50 (IC50) คือ 220 +- 22 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และความเข้มข้นที่ไม่เป็นพิษ (IC20) คือ 55 +-5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และยังพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงโดยวิธีดีพีพีเอช นอกจากนี้ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นระดับของโปรตีนวิล์มทูเมอร์วัน หลังจากเลี้ยงเซลล์ร่วมกับสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบในช่วงเวลาต่างๆ (24, 48 และ 72 ชั่วโมง) ลดลงร้อยละ 21,37 และ 61 ตามลำดับ ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถลดระดับโปรตีนวิล์มทูเมอร์วันได้ร้อยละ 32, 48 และ 68 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบที่ระดับความเข้มข้น IC20 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ และที่สำคัญสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบไม่กระทบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติ (PMBC) ฉะนั้นสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์และการแสดงออกของโปรตีนวิล์มทูเมอร์วัน ตามระยะเวลาและความเข้มข้นที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบน่าจะเกี่ยวข้องกับการคุมการแสดงออกที่ลดลงของโปรตีนวิล์มทูเมอร์วันในเซลล์ K562 ระดับการแปลรหัส จากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดหยาบมะรุมส่วนใบมีแนวโน้มที่จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและควรจะศึกษาต่อไปในอนาคต th
dc.description.abstract Currently, alternative leukemic treatments with natural products are being studied in an attempt to gather new information in the treatment of leukemia. Interestingly, previous studies have shown that Maringa oleifera mediates its chemopreventive effects by enhancing antioxidant status and quencing of ROS. However, the cytotoxicity of Moringo oleifera extract has never reported with leukemic cell lines. The purpose of this study was to study antioxidant and anti-cancer properties of Thai Horse radish tree (Moringa oleifera Lam) extract on K562 cell model. The cytotoxicity of crude Moringo oleifera extract was determined by MTT assay. The antioxidant was detected by DPPH assay. Moreover, the WT1 protein levels were exmined by Western blot analysis. All data were analyzed the statistically significant by one-way ANOVA from SPSS software. The result demonstrated that the crude Moringo oleifera leaves extract exhibited distinctly cytotoxic effect on K562 cells with the inhibitory concentration at 50% (IC50) valve of 220 +- 22 µg/ml and non-cytotoxic concentration (IC20)valva of 55 +-5 µg/ml. It also showed high antioxidant activity detected by DPPH assay. Moreover, the result showed that WT1 protein levels after crude Moringa oleifera leaves extract treatments in various time periods (24,48 and 72 hours) were decreased by 21,37, and 61% respectively. In addition, at 48 hours of incubation with various concentrations (45,55, and 65 µg/ml) could reduce WT1 protein levels by 32. 48, and 68% respectively. However, the crude Moringa oleifera leaves extract at IC20 doose clearly showed that it did not effect on cell morphology. Importantly, the crude Moringa oleifera leaves extract did not affect with PMBC. Conclusion, the crude Moringa oleifera leaves extract could inhibit cell proliferation and WT1 protein expression in a dose and time dependent manners. Therefore, it can be concluded that the crude Moringa oleifera leaves extract involved in down-regulation of translational process of WT1 protein expression in K562 cells. These results indicated that the Moringa oleifera leaves extract is a promising plant as an alternative choice for leukemia treatment and should be further investigated in the future. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject มะเร็งเม็ดเลือดขาว th
dc.subject Leukemia th
dc.subject มะรุม th
dc.subject Moringa oleifera th
dc.subject ความเป็นพิษต่อเซลล์ th
dc.subject Cell-mediated cytotoxicity th
dc.title ฤทธิ์แอนติออกซิแดนซ์และต้านมะเร็งของสารสกัดหยาบจากมะรุม (Moringa oleifera Lam) ของไทยในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงต้นแบบชนิด K562 th
dc.title.alternative Antioxidant and Anti-Cancer Properties of Thai Horse Radish Tree (Moringa oleifera Lam) Extract on K562 Cell Line th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account