งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบวัดค่าจุดศูนย์กลางความดัน (Center of pressure, COP) แบบเวลาจริงเพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัวขณะยืนนิ่งในผู้สูงอายุ ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนโครงสร้างและส่วนโปรแกรม โดยส่วนโครงสร้างมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดจำนวน 2 อัน เพื่อรับรู้ค่าแรงกดที่เท้าแต่ละข้างของผู้รับการประเมินในขณะยืนบนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยข้อมูลสามารถจัดเก็บเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองสามารถปรับตามระยะห่างระหว่างเท้าได้ ส่วนโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้แสดงค่าการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของแรงกดและค่าจุดศูนย์กลางความดันเพื่อใช้ประเมินความสามารถในการทรงตัวแบบเวลาจริง ผลลัพธ์ของการประเมินพร้อมด้วยข้อมูลของผู้รับการประเมินจัดเก็บอยู่ในไฟล์คอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถนำมาใช้ติดตามผลและวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ ผลการทดสอบกับผู้สูงอายุจำนวน 30 คน แสดงว่าค่าร้อยละอัตราส่วนความดันของเท้าซ้ายและเท้าขวาที่ได้จากระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับร้อยละอัตราส่วนน้ำหนักเท้าซ้ายและเท้าขวาจากเครื่องชั่งน้ำหนักระบบเดิม โดยมีค่าความแตกต่างเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.54 และระยะเยื้องค่าศูนย์กลางความดันที่วัดได้มีความสัมพันธ์กับค่าอัตราส่วนความแตกต่างการลงน้ำหนักเท้าเป็นสมการเชิงเส้น โดยสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.94 รวมทั้งผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจที่สูงกว่าระบบเดิมที่ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักในทุกด้าน อันได้แก่ การใช้งานที่ง่ายและดีขึ้น การแสดงผลที่ชัดเจนและรวดเร็ว รวมถึงสามารถบันทึกข้อมูลได้
This research presents the development of a real-time center of pressure measurement system for static balancing assessment in the elderly. The system consists of two parts: the structure and the software. The structure was equipped with two pressure sensing devices that sensed the pressure value of each foot while the assessee was standing on the devices. The sensing data can be stored in a computer. The distance between the two devices can be adjusted according to the distance between the assessee’s feet. In the software part, a program was developed to visualize the spatial pressure distribution and show the center of pressure (COP) position which the latter provides the assessment of balancing capability in real-time. The results, along with the assessee’s data, were stored in computer files that can be used for further follow-up and analysis. The evaluation results conducted among 30 elderly assessees show that the pressure ratio percentage between left and right foot, from the developed system, is correspond to the weight ratio percentage between left and right foot, from the existing weighing scale; with the mean difference percentage of 5.54. The relationship between the deviation of center of pressure and the pressure ratio between the two feet is linear equation; with the decision coefficient (R2) of 0.94. The user satisfaction assessment results show that the developed system has higher satisfaction than the existing weighing scale in all aspects which are ease of use, clear and fast display, and ability to store data.