DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author พันธุ์รวี ณ ลำพูน
dc.contributor.author วริยา ภัทรภิญโญพงศ์
dc.contributor.author อัญชลี สมใจ
dc.contributor.author คณพศ สิทธิเลิศ
dc.contributor.author อุจฉริต์ อาจาระศิริกุล
dc.contributor.author จิตติณชุลี บุญช่วย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2024-02-10T04:42:07Z
dc.date.available 2024-02-10T04:42:07Z
dc.date.issued 2017
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1693
dc.description.abstract การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบทปัจจัยนำเข้า กระบวนการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2556-2558 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2556-2558 จำนวน 51 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 30 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 17 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แนวทาง การวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร และ 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา1) ผลการประเมินด้านบริบท การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรตรงกับวัตถุประสงค์และปรัชญาของหลักสูตร นั่นคือ ผลิตบัณฑิตด้านการท่องเที่ยวที่มีความรู้ คุณธรรม ตระหนักคุณค่าของความเป็นไทยและทักษะในวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการผลิตกำลังคันเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยและภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ในชั้นปีสุดท้ายนักศึกษาต้องลงเรียนวิชาสหกิจศึกษา เพื่อฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชน ที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอีกด้วย2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า บัณฑิตประเมินคุณลักษณะด้านความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านความสามารถด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม และประเมินการให้เวลาของอาจารย์ในการปรึกษาทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่นักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะ ด้านความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านความสามารถด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม และประเมินการให้เวลาของอาจารย์ในการปรึกษาทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆ แก่นักศึกษาอยู่ในระดับมากบัณฑิตประเมินปัจจัยนำเข้าด้านสภาพแวดล้อมภายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ว่าสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา (เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เนต เครื่องเสียง เครื่องฉาย ฯลฯ) มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก หนังสือ ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในห้องสมุดมีเพียงพอ และทันสมัยอยู่ในระดับมาก ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพออยู่ในระดับมาก ห้องทำงานสำหรับอาจารย์เอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก สถานที่ทำงานสำหรับนักศึกษาเอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก นักศึกษาปัจจุบันประเมินปัจจัยนำเข้าด้านสภาพแวดล้อมภายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ ว่าสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา (เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เนต เครื่องเสียง เครื่องฉาย ฯลฯ) มีความเพียงพออยู่ในระดับมาก หนังสือ ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในห้องสมุดมีเพียงพอ และทันสมัยอยู่ในระดับมาก ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้ เพียงพออยู่ในระดับมาก ห้องทำงานสำหรับอาจารย์เอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก สถานที่ทำงานสำหรับนักศึกษาเอื้อต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากคณาจารย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ว่า หนังสือ ตำรา บทความ ด้านการท่องเที่ยวยังมีจำนวนจำกัด บางอย่างเป็นข้อมูลไม่ทันสมัย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ จะไม่มี/มีน้อย เนื่องจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไม่มีปริญญาโทด้านการท่องเที่ยว ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ยังมีไม่เพียงพอ เพราะเป็นการใช้งานร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย 13 คณะวิชา ห้องเรียน ห้องประชุม/สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรม มีโต๊ะ เก้าอี้มีเพียงพอ สถานที่สำหรับนักศึกษา ในตึกที่ทำการคณะ ไม่มีสำหรับนักศึกษาในการพักผ่อนที่เอื้อต่อการเรียนการสอน3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิต นักศึกษาปัจจุบันประเมินด้านกระบวนการด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน กระบวนการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการท่องเที่ยว และกระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอนมีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในขณะที่บัณฑิตประเมินด้านกระบวนการด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน กระบวนการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการท่องเที่ยว และกระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอนมีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในขณะที่บัณฑิตประเมินด้านกระบวนการด้านพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน กระบวนการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการท่องเที่ยว และกระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอนมีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาการท่องเที่ยวมีระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน กำกับติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน มีคณะกรรมการวิชาการ ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (TQF) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การอภิปราย การสัมมนา และการศึกษาดูงาน นอกจากนี้นักศึกษาทุกคนยังต้องผ่านการฝึกสหกิจอีกด้วยการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินนักศึกษาหลายแบบทั้งการสอบ การทดสอล การมอบหมายงาน การให้นักศึกษาประเมินตนเอง และประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนกิจกรรมการจัดโครงการทั้งภายในและการออกไปแข่งขันภายนอกวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมซึ่งตรงกับปณิธานของมหาวิทยาลัยการประเมินการสอนของอาจารย์ ใช้ระบบประเมินการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นระบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย เมื่อรับทราบผลการประเมินจากนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะนำข้อเสนอและประเด็นที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงวิธีการสอนและสื่อการสอน นอกจากนี้ยังใช้วิธีประเมินเชิงคุณภาพในชั้นเรียน4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตรการใช้เวลาศึกษาตามแผน บัณฑิตใช้เวลาศึกษาและสำเร็จการศึกษาตามแผน จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2559 มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.74คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานหรือการศึกษาต่อของบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยรวม 4.06 อยู่ในระดับมาก ประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานหรือการศึกษาต่อของบัณฑิตมีค่าเฉลี่ยรวม 4.24 อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต มีค่าเฉลี่ยรวม 4.02 อยู่ในระดับมากประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต บัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวมีงานทำแล้ว คิดเป็นร้อยละ 56.7 และทำงานตรงสาขาที่เรียน คิดเป็นร้อยละ 82.4ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหาสาระและโครงสร้างของหลักสูตรควรปรับให้มีวิชาต่างๆ มีเนื้อหาที่ทันสมัยมากขึ้นดังนี้1. เพิ่มเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความสำคัญของยุคดิจิทัล และการเป็นผู้ประกอบการในวิชาเอกบังคับ เช่น การตลาดดิจิตัลเพื่อการท่องเที่ยว การจัดการธุรกิจนำเที่ยวในยุคดิจิตัล เป็นต้น2. เพิ่มวิชา ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในวิชาเอกบังคับ รวมวิชาทรัพยากรท่องเที่ยวของโลกและของไทยให้เป็น 1 วิชา จากเดิม 2 วิชา คือ ทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติของโลกและของไทย ทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของโลกและของไทย และอาจะเพิ่มวิชาภาษาอาเซียน เพื่อสอดรับกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีตามข้อตกลงร่วมกัน MRAs (Mutual Recognition Agreements) th
dc.description.abstract The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's Curriculum 2013 for Bachelor Degree in Liberal Arts, Tourism Major. The study evaluated four aspects: (1) Curriculum context (2) Input factors (3) Process of curriculum administration and (4) Outcome. The samples applied in this study consisted of 5 instructors, 51 sophomore, junior and senior Tourism major student academic year 2017, 30 Tourism graduates, 17 employers and one expert. The research tools for data collecting was group discussion and questionnaire. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, and mean. The results of the researh were as follows:(1) Curriculum context:The curriculum context in terms curriculum administration process were rated at the highest level in every aspects. Especially the ability and knowledge of instructors were rated as highest level. As well as curriculum's strengths and weaknesses were rated at the highest level in every aspects. Especially the instructor's factors were rated as highest.(2) Input factors:Graduates and students agreed that the ability and knowledge of instructors were in the highest level. Graduates were rated the learning supporting factors in highest level while students rated in high level. In the opposite, the result from instructors found that learning supporting factors such as text book, journals were insufficient as well as the lack of privacy in working space.(3) Process of curriculum administration:Graduated and students were rated the highest level in every factors which are the instructor's behavior, the learner's behavior, the procedure of co-operative internship and teaching's procedure by instructor.(4) Outcome:Employers rated graduates' qualifications in both characteristics and performance in the highest level. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2559 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject การท่องเที่ยว -- หลักสูตร th
dc.subject Travel -- Curricula th
dc.subject การท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Travel -- Study and teaching th
dc.subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- หลักสูตร th
dc.subject Tourism -- Curricula th
dc.subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Tourism -- Study and teaching th
dc.title การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative Evaluation of Bachelor of Arts Program in Tourism Revised Edition 2013, Faculty of Liberal Arts Bachelor's Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account