DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author บังอร ฉางทรัพย์
dc.contributor.author เมตตา โพธิกลิ่น
dc.contributor.author อัญชลี ชุ่มบัวทอง
dc.contributor.author รุ่งรัตน์ นิลธเสน
dc.contributor.author ภาสินี สงวนสิทธิ์
dc.contributor.author ระพีพันธุ์ุ ศิริเดช
dc.contributor.author อลิศรา พรายแก้ว
dc.contributor.author พิมพ์ภัค ภัทรนาวิก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี th
dc.date.accessioned 2024-02-10T08:50:30Z
dc.date.available 2024-02-10T08:50:30Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1699
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพและหาแนวทางการปรับปรุงการจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2556) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสูตร ตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต และผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรทุกด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีรายละเอียดดังนี้1. การประเมินด้านบริบทของหลักสูตร 3 ด้าน ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์หลักสูตร จำนวนหน่วยกิตของโครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหาของหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.33 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ลดรายวิชาหรือหน่วยกิตที่ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตรออก และควรเพิ่มรายวิชาหรือเนื้อหาในกลุ่มวิชาชีพ โดยเน้นทักษะการปฏิบัติให้แก่นักศึกษามากขึ้น2. การประเมินปัจจัยนำเข้าหลักสูตร 3 ด้าน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณสมบัติของอาจารย์ และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.42 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเพิ่มเติมในการจัดหาปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและสอดคล้องกับการเรียนในหลักสูตร นอกจากนี้ควรพัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของหลักสูตร3. การประเมินกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล พบว่ากลุ่มตัวอย่างประเมินความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.57 โดยกลุ่มตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้แก่นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ การพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษา และการวัดประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ4. การประเมินด้านผลผลิตหลักสูตรหรือบัณฑิตของหลักสูตร โดยอาจารย์ในหลักสูตร มีการประเมินในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.57 ส่วนผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต ประเมินความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 3.92 จึงมีข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมกิจกรรมด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพในด้านต่างๆ จากผลการวิจัยข้างต้น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2556 โดยการปรับลดรายวิชาที่ไม่เกี่ยวข้อง และเพิ่มหรือปรับปรุงรายวิชาที่เพิ่มทักษะด้านการปฏิบัติให้แก่นักศึกษา รวมทั้งการเพิ่มความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพมากขึ้น นอกจากนี้ ควรทำการปรับปรุงวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับผลการวิจัย อีกทั้งควรเพิ่มปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพต่อไป th
dc.description.abstract The program in four aspects 1) context 2) input 3) process and 4) product. The specific samplesurpose of this research were to evaluation and to find ways to improve the Bachelor's Degree in Medical Science Curriculum (New Edition 2013), Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. The CIPP Model was used to evaluate the were 220 persons consisted of students, graduates, instructors, employers, and curriculum experts. The quality questionnaire were developed to evaluate the curriculum. Quantitative data were analyzed statical values of frequency, percentage, mean, and standard deviation but qualitative section by content analysis. The results revealed that participants evaluated the appropriateness of the curriculum at the high and the highest level.The details are as follows:1. Contextual assessment of three curriculums: The sample groups assessed the appropriateness of the curriculum objectives, number of credits and course contents at the high level with an average score of 4.17. The sample had additional comments to reduce the courses or cerdits that did not correspond to the curriculum content. And should add courses or content in professional groups that focus on practical skills for students.2. Inout assessment of three curriculum: The sample groups assessed the student requirements, instructor qualifications and supportive factors that conductive to teaching at the high level with an average score of 4.42. The sample groups provided addtitonal comments on the factors contributing to the teaching and learning. In addition, potential instructors should be trained to meet the curriculum requirements.3. Assessment of curriulum management include teaching, measurement and evaluation: It was found that the sample was rated this curriculum at the highest level with an average score of 4.57. The samples gave their opinions and suggestions on teaching activities, supplemental activities to students, development of potential advisors, and effective measurement and evaluation.4. Graduation assessment of the curriculum. Instructors assessed the quality of graduates at the highest level with an average score of 4.57 but the employers assessed them at the high level with 3.92. The sample has suggested that the graduates should have a good knowledge, ethics, diligence and good behavior in various fields. So there are suggestions for additional teaching and extra activities to develop students in various fields.According on the results, the researcher suggested to improve the Bachelor's Degree in Medical Science Curriculum (New Edition 2013). The person responsible for the course shouls reduce the irrelevant subjects by the reduction of irrlevant courses and add or update courses that increase student operational skills as well as increasing the knowledge related to the profession. In addition, the curriculum objectives should be adjusted to reflect the findings. The factors contributing to teaching and learning should be adequate and effective. th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2559 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject วิทยาศาสตร์การแพทย์ -- หลักสูตร th
dc.subject Medical sciences -- Curricula th
dc.subject วิทยาศาสตร์การแพทย์ -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Medical sciences -- Study and teaching th
dc.title การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative The Evaluation of Medical Science Curriculum : Bachelor' s Degree Programme, New Edition 2013, Science and Technology Faculty, Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account