Abstract:
งานวิจัยสำหรับการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินี้ จัดทำตามนโยบายของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ที่กำหนดให้ต้องมีการดำเนินการตามหลักประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การผลิตที่มีคุณภาพที่ดีนั้นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนและผู้สอน เป็นต้น ทำให้การจัดทำงานวิจัยต้องทำการศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้แก่ นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาวางแผนและการพัฒนาประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ ให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งทำให้ทราบว่าหลักสูตรนั้นๆ ได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และต้องการปรับปรุงในส่วนใด และต้องปรับปรุงอย่างไร การทำวิจัยนี้มีประชากร 4 กลุ่ม คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และผู้ใช้บัณฑิต เนื่องจาก กลุ่มประชากรมีจำนวนไม่มาก จึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมด โดยใช้สถานภาพของประชากรเป้นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลลิตหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม แบบสอบถามจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ จากการเก็บข้อมูลได้มีอัตราการตอบกลับมาค่อนข้างต่ำ จึงใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยใช้อัตราร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 10 ชุด และได้รับการตอบกลับมาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยอาจารย์มีความเห็นส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การบริหารและการจัดการหลักสูตรโดยรวมมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตร รวมถึงการใช้สื่อการสอนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และเห็นด้วยกับการบริหารหลักสูตรในรูปแบบของคณะกรรมการผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 173 ชุด และได้รับการตอบกลับมา 20 ชุด คิดเป็นร้อยละ 11.56 โดยบัณฑิต เห็นว่า จำนวนหน่วยกิตในปัจจุบันมีความเหมาะสม และเห็นว่ายังมีความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีสำหรับการประกอบอาชีพความรู้พื้นฐานทางด้านการจัดการ ความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหาอยู่ในระดับน้อย และพบว่าบัณฑิตประเมินคุณลักษณะของตนเองโดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับน้อยผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใข้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 139 ชุด และได้รับการตอบกลับมา 15 ชุด คิดเป็นร้อยละ 10.79 โดยผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่า บัณฑิตจากสาขาวิชาการจัดการมีความสามารถในการปฏิบัติงาน การเรียนรู้งาน ความมานะอดทนสู้งานมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น และเห็นว่าความรู้ทางด้านวิชาการ ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาไทย ความคิดริเริ่ม การมองการณ์ไกล ความกล้าแสดงออก ความคิดเห็น ความมีระเบียบวินัย การอุทิศเวลามีค่าเท่ากับความสามารถของบัณฑิตจากสถาบันอื่นผลการศึกษาจากนักศึกษา คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 56 ชุด และได้รับการตอบกลับจำนวน 30 ชุด คิดเห็น 53.57 โดยนักศึกษาให้ความคิดเห็นโดยรวมต่อเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น และความทันสมัยของรายวิชาอยู่ในระดับดี และเห็นว่ามีการจัดการเรียนการสอนโดยส่วนใหญ่มีความเหมาะสมแล้ว