dc.contributor.author |
อรรถพล ธรรมไพบูลย์ |
|
dc.contributor.author |
เมธี รัชตวิศาล |
|
dc.contributor.author |
สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์ |
|
dc.contributor.author |
นิรมล เจริญสวรรค์ |
|
dc.contributor.author |
ปยุต ถาวรสถิตย์ |
|
dc.contributor.author |
เมตตา ภู่ตระกูล |
|
dc.contributor.author |
วิโรจน์ รัตนสิงห์ |
|
dc.contributor.author |
นทสรวง มหาชนก |
|
dc.contributor.author |
พวงชมพู โจนส์ |
|
dc.contributor.author |
สุเมษ เลิศจริยพร |
|
dc.contributor.author |
เกรียงศักดิ์ อวยพรชัยเจริญ |
|
dc.contributor.author |
Utterpon Thumpiboon |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ |
th |
dc.date.accessioned |
2024-02-19T13:56:14Z |
|
dc.date.available |
2024-02-19T13:56:14Z |
|
dc.date.issued |
2002 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1725 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการตลาด จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร
การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการตลาด ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช่สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ
ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 11 ชุด มีการตอบกลับมา 11 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 100 และทั้งหมดมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ ประสบการณ์การสอนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 3-6 ปี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 81.8 ความเห็นต่อสัดส่วนของหมวดวิชาต่างๆ ในหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีสัดส่วนอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย ส่วนหมวดวิชาเฉพาะ อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย-ปานกลาง โดยมีความเห็นว่ากลุ่มวิชาแกนมีสัดส่วนปานกลาง ส่วนกลุ่มวิชาเอกและกลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโทมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย สำหรับกลุ่มวิชาเลือกเสรี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย ความเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของตนเอง อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมในการสอนในระดับดีมากในทุกหัวข้อ คุณลักษณะที่อาจารย์ผู้สอนคิดว่าตนเอมีมากที่สุด คือ การมีศีลธรรม คุณลักษณะสำคัญ ที่รองลงมาได้แก่ มีความรับผิดชอบ และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ คุณลักษณะที่สำคัญในการเป็นอาจารย์ผู้สอนการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ส่วนคุณลักษณะที่สำคัญที่รองลงมา คือ ขวนขวายติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ผู้สอนใช้รูปแบบการสอนแบบการบรรยาย แบบบรรยายเชิงอภิปราย และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติสูงสุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับน้อย มีความเห็นว่านักศึกษามีความสนใจ ตั้งใจ และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนในรายวิชาที่สอนสม่ำเสมอ ในระดับปานกลาง และอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งอยู่ในระดับน้อย
ผลการศึกษาข้อมูลนักศึกษา คณะวิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้บัณฑิตหลักสูตรการตลาด (ต่อเนื่อง 2 ปี) จำนวนทั้งหมด 110 ชุด บัณฑิตตอบแบบสอบถามและส่งกลับมาทั้งสิ้น 10 ชุด คิดเป็นร้อยละ 9.09 ของบัณฑิตทั้งหมด บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายุ 26 ปี โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ เป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 50 บัณฑิตมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษาตั้งแต่ 2.5 แต่ไม่เกิน 3.25 คิดเป็นร้อยละ 50 และบัณฑิตมีการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทคิดเป็นร้อยละ 10 ด้านการทำงานบัณฑิตทุกคนมีงานทำ โดยมีบัณฑิตทำงานในหน่วยงานของเอกชน และกิจการของตัวเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 เท่ากันในขณะที่ ร้อยละ 20 ทำงานราชการ ร้อยละ 50 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท และร้อยละ 30 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 15,0001-20,000 บาท ในความคิดเห็นของบัณฑิตต่อหลักสูตรพบว่าในหมวดการศึกษาทั่วไป วิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์&คณิตศาสตร์ กับในหมวดวิชาเฉพาะวิชาแกน และวิชาเอกบังคับนั้น ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมดี โดยที่บัณฑิตมีความเห็นต่อรายวิชาที่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยต่อการทำงาน แตกต่างกันออกไป บัณฑิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่าวิธีการเรียนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน คือ วิธีการเรียนแบบร่วมมือมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา คือ แบบอิสระการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นว่าตนเองมีความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานในด้านความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีสำหรับการประกอบอาชีพ ความรู้ทางด้านการตลาด และความสามารถในการนำเสนอความรู้ต่อผู้บริหารได้ถูกต้องชัดเจนในระดับมาก คุณลักษณะที่บัณฑิตเห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติงานได้ก่ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าตัดสนใจ และมีวิสัยทัศน์มีความเป็นผู้นำ บัณฑิตเห็นว่าคุณสมบัติที่บัณฑิตมีมากที่สุด ได้แก่ มีความคิดว่าตนเองมีคุณลักษณะด้านการกล้าตัดสินใจและมีความรับผิดชอบ
ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะวิจับส่งแบบสอบถามที่ส่งไปถึงผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมด 90 ชุด ได้รับตอบกลับมา 9 ชุด คิดเป็นร้อยละ 10 ผู้ใช้บัณฑิตมีความสัมพันธ์กับบัณฑิตใกนากรเป็นผู้ร่วมงาานถึงร้อยละ 62.5 ในภาพรวมนั้นผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในระดับสูงในทุกประเด็นยกเว้นในเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความสามารถในระดับปานกลาง โดยบัณฑิตมีความสามารถในการติดต่อประสานงานผู้อื่นเป็นอันดับแรก รองลงมาอันดับ 2 คิดว่าบัณฑิตมีความเป็นผู้นำและความเชื่อถือยอมรับจากผู้ร่วมงานและมีความสามารถในการทำงานได้รวดเร็วทันกำหนด อันดับ 3 คือ ความสามารถในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเมื่อเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นพบว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาการตลาด มีศักยภาพการทำงานมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่นในด้านความสามารถในการเรียนรู้งาน ความคิดริเริ่ม และการมองการณ์ไกล (วิส้ยทัศน์)
ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษาปัจจุบัน คณะวิจัยได้ส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารการตลาด (ต่อเนื่อง 2 ปี) จำนวนทั้งหมด 31 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 29 ชุด นักศึกษาส่วนใหญ่ มีภูมิลำเนาอยู่ในสมุทรปราการและเป็นเพศหญิง 28 คน คิดเป็นร้อยละ 96.6 ความคิดเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่าในภาพรวมนั้้นทั้งเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับดี สำหรับความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับสูงเกือบทุกรายวิชา ความคิดเห็นต่อรายวิชาในหมวดวิชาแกน นักศึกษาโดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าในภาพรวมนั้นทั้งเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับดี สำหรับความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับสูงเกือบทุกรายวิชา ความคิดเห็นต่อรายวิชาในหมวดวิชาแกน นักศึกษาโดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าในภาพรวมนั้นทั้งเนื้อหารายวิชา และตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในหมวดวิชาเฉพาะและเอกเลือกมีความเหมาะสมในระดับดี สำหรับความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่นในหมวดวิชาเฉพาะ นักศึกษามีความเห็นว่ามีความซ้ำซ่อนในระดับสูงและความทันสมัยเนื้อหาโดยมากมีความเหมาะสมในระดับสูงเกือบทุกวิชา ความคิดเห็นต่อรายวิชาในหมวดวิชาเอกบังคับและเอกเลือกในภาพรวมพบว่าเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ นั้นอยู่ในระดับดี ความทันสมัยของเนื้อหาในระดับสูง และมีความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่นในระดับสูงเช่นกัน ความคิดเห็นต่อรายวิชา เลือกเสรีนั้นพบว่ามีนักศึกษาเลือกเรียนทั้งหมด 5 วิชา และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรดังต่อไปนี้ วิชาปรัชญาจีนและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญานั้น มีเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในระดับดี ความทันสมัยของเนื้อหาและความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่นอยู่ในระดับสูง วิชาศาสนาเปรียบเทียบพบว่า ทั้งเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ความทันสมัยของเนื้อหาและความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น อยู่ในระดับปานกลาง และวิชาความสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-จีน มีเนื้อหารายวิชา และตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในระดับดี ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่นอยู่ในระดับปานกลางและความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับน้อย |
th |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2545 |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
การประเมินหลักสูตร |
th |
dc.subject |
Curriculum evaluation |
th |
dc.subject |
การตลาด -- การศึกษาและการสอน |
th |
dc.subject |
Marketing -- Study and teaching |
th |
dc.subject |
การตลาด -- หลักสูตร |
th |
dc.subject |
Marketing -- Curricula |
th |
dc.title |
การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการตลาด ปีการศึกษา 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.title.alternative |
An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Marketing (2 Year Continuing Program) Degree's Curriculum for Academic Year 1999 Huachiew Chalermprakiet University |
th |
dc.type |
Technical Report |
th |