การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ พุทธศักราช 2546 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะผู้วิจัยศึกษาโดยใช้รูปแบบการประเมินในลักษณะของแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ประเมินเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร ด้านปัจจัยเบื้องต้น ประเมินเกี่ยวกับผู้เรียน ผู้สอน และสื่อการเรียน ด้านกระบวนการ ประเมินเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และด้านผลผลิต ประเมินเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาโดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาซึ่งมี 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คน บัณฑิตจำนวน 17 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 11 คน และนักศึกษาจำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) ในรูปของความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท
1.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร อาจารย์มีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย เนื้อหารวมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตร
1.2 โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร อาจารย์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรว่า สัดส่วนจำนวยหน่วยกิตของหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลางทั้งในภาพรวมและในแต่ละกลุ่มวิชาของหมวดวิชา คือ หมวดวิชาการศึกษาทั่่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี สอดคล้องกับบัณฑิตส่วนใหญ่ที่มีความคิดเห็นว่าโครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสมใน 3 หมวดวิชา กล่าวคือ หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี สำหรับนักศึกษาก็มีความคิดเห็นว่าโครงสร้างหลักสูตรของทั้ง 3 หมวดวิชา คือ หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะและหมวดวิชาเลือกเสรี โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีทั้งด้านเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความทันสมัยของเนื้อหา เมื่อพิจารณาในแต่ละรายวิชานักศึกษาก็มีความคิดเห็นว่า เหมาะสมในระดับดีเป็นส่วนใหญ่ในรายวิชาของหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะของกลุ่มวิชาแกนและหมวดวิชาเลือกเสรี แต่ในหมวดวิชาเฉพาะของกลุ่มวิชาเอกบังคับและกลุ่มวิชาโท นักศึกษามีความคิดเห็นว่าเหมาะสมระดับดีในทุกรายวิชา นอกจากนี้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรว่ามีความซ้ำซ้อนกัน/ไม่มีความซ้ำซ้อนกันหรือไม่ นักศึกษาทุกคนและบัณฑิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่มีความซ้ำซ้อนกัน มีบัณฑิตเพียงรายเดียวที่คิดว่ามีความซ้ำซ้อนกันในรายวิชา GE1053 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 และ GE1063 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น
2.1 ผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนมีความคิดเห็นว่าาผู้เรียนมีคุณลักษณะส่วนใหญ่ของการเป็นนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง และต้องการให้นักศึกษาเรียนแบบร่วมมือ ขณะที่แบบเรียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นแบบจำใจเรียนและแบบร่วมมือ
2.2 ผู้สอนและสื่อการสอน ประสบการณ์การสอนของอาจารย์มีมากกว่า 10 ปี การเรียนการสอนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมของหลักสูตร อาจารย์มีพฤติกรรมการสอนทั้งในภาพรวมและพฤติกรรมการสอนในแต่ละด้านโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะของอาจารย์ที่ตนเองมีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก วิธีการสอนใช้แบบบรรยายมากที่สุด และสื่อการสอนส่วนใหญ่นำเสนอด้วย Power Point หรือโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับนักศึกษามีความคิดเห็นว่าสภาพห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ขณะที่บัณฑิตมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามบัณฑิตและนักศึกษาต่างมีความคิดเห็นเหมือนกัน คือ website ของผู้สอน สื่อการสอนในรูป CD ROM จำนวนหนังสือค้นคว้าในห้องสมุด จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง
3. ด้านกระบวนการ
3.1 กิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการเรียนที่บัณฑิตชอบ คือ แบบอิสระ ขณะที่แบบร่วมมือและแบบพึ่งพาจะทำให้ประสบความสำเร็จ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมบัณฑิตมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับดี แต่นักศึกษามีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของการจัดการเรียนการสอนทั้งบัณฑิตและนักศึกษาต่างมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับดี ส่วนที่ทั้ง 2 ฝ่าย คือ บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นตรงกันว่าเหมาะสมอยู่ในระดับดี ได้แก่ การประเมินผลการเรียนในแต่ละรายวิชา การประเมินการสอนของผู้สอนรายวิชา การติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอน การให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอนรายวิชา การติดต่อสื่อสารและการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา
3.2 การวัดและประเมินผล ผลประเมินการสอนของผู้สอนรายวิชา และผลประเมินการเรียนในแต่ละรายวิชาบัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นเหมือนกันถึงการประเมินว่าเหมาะสมอยู่ในระดับดี
4. ด้านผลผลิต
คุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
1. บัณฑิตประเมินตนเองในภาพรวมว่า มีความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติงานในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านส่วนใหญ่ก็ประเมินอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน สำหรับคุณสมบัติต่างๆ ที่ตนเองมีต่อการปฏิบัติงานทั้งในภาพรวมและในแต่ละด้าานจะอยู่ในระดับมาก มีด้านความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผู้ใช้บัณฑิต ผลประเมินศักยภาพการทำงานของบัณฑิตในด้านความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เสริมการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพการทำงานของบัณฑิตกับสถาบันอื่น พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับเท่ากัน แต่เมื่อพิจารณาคุณลักษณะเหล่านี้ในแต่ละด้านจะเห็นได้ว่า มี 3 ด้าน ที่บัณฑิตมีมากกว่า สถาบันอื่น คือ ความกล้าแสดงความคิดเห็น ความสามารถในการเรียนรู้งาน และความกล้าในการตัดสินใจ
The study aimed to evaluate the B.E. 2003 Bachelor's degree in Business Economics Program of Economics Curriculum at Huachiew Chalermprakiet University, by using CIPP's Model of Evaluation in 3 perspective : Context, the alignment of the objectives, structue and contents of curriculum ; Fundamental factors, the alignment of learners, instructors and instructional materials ; Process, the alignment of teaching-learning activities, measurement and evaluation and ; Output, the alignment of the graduates' characteristics. The sample groups of this study were population category into 4 groups consist of 8 instructors, 17 graduates, 11 employers and 26 students. Data gathering tools was questionnaires and were analyzed statistically by using descriptive statistics such as frequency, percentage, average and standard deviation.
These were the following results
1. Context Evaluation:
1.1 Objectives of the Curriculum. For the supervisors assessment, it was found that the curriculums' objectives were commensurate with the University mission as well as the contents and the overall objectives.
1.2 Structure and Contents of the Curriculum : For the Instructors assessment, it was found that the proportion of credits in the curriculum were at moderate appropriate level in overall and specific in subjects' group of Department such as General Education Department, Specific Department and Free Elective Department. For students assessment, it was found the 3 curriculum structures such as General Education Department, Specific Department and Free Elective Department in the overall were suitable in good appropriate level of contents, application examples, and the up-to-date of contents. By considering in each subject of the students. It was found that there were almost good level in the subject of General Education, Specific Deprtment of Core Subjects and Free Elective Department. But in the specific subjects of compulsory primary subjects group and secondary subjects group assessed by the students were suitable of good appropriate level in every subjects. In addition, the opinion's assessment in each subjects of the curriculum were not complicate or redundancy, there was one answer that it was complicated in GE 1053 English for Communication 1 and GE1063 English for Communication 2.
2. Fundamental Factors Evaluation:
2.1 For the learners and instructors assessment, it was found that almost of students characteristics were moderate appropriate level and need to have cooperative study and at present, book materials were not free and cooperation.
2.2 For the instruction and instructional materials, it was found that the instructors have more than 10 years experience, the teaching-learning appropriate to overall objectives of the curriculum. The instructors have overall teaching behavior were at high appropriate level, overall characteristics of instructors have overall at high appropriate level. The teaching method almost by using lecture and instructional materials almost performed by Power Point or package program. For the students assessment, it were found that studying environment, instructional materials have good appropriate level contary to the graduate assessment, it was found that there were moderate appropriate level. It have common opioions about the instructor's website, CD Room, the number of books in the university's library, computers were moderate appropriate level.
3. Process Evaluation
3.1 Instructors' activities, it was found that the most favorite successful of learning method of the graduates were voluntary and cooperative learning and independent learning. In the opinion of overall teaching-learning for the graduated assessment were good appropriate level contrast to the student's opinion it was found that there were moderate appropriate level, but there were in common opinion in good appropriate level in each subjects evaluation, each instructor's evaluation and communication with instructors, instructor's advisor.
3.2 Measurement and Evaluation, the result of teaching evaluation in each subjects there were in common opinion in good appropriate level.
4. Output
Graduated Characteristics:
1.Self Evaluation of the Graduate in overall, it was found that knowledge in theory and work skills were high appropriate level according to the characteristics and were highest appropriate level in adaptive to comrade.
2. The Employer: the assessment of competency in work of graduate in knowledge and other characteristics of work's promotion were high appropriate level in overall compare with the potential in work and other universities students were equal but in each characteristics it was found that there were 3 perspective different in assertiveness, competency in learning how to work and self-decision.