การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2542) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้รูปแบบการประเมินที่ดัดแปลงจากรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) โดยประเมินหลักสูตรใน 5 ด้าน คือ ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ การประเมินปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ได้แก่ การประเมินภาพรวมของหลักสูตร รายละเอียดเนื้อหาของแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา คุณลักษณะของอาจารย์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์ ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ การประเมินการบริหารจัดการทั่วไป กระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ การวัดและประเมินผล กิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษา และระบบดูแลช่วยหลือนักศึกษา ด้านผลการใช้หลักสูตร ได้แก่ การประเมินประสิทธิภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต ได้แก่ การประเมินความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสายวิชาชีพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 155 คน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตร จำนวน 40 คน บัณฑิต จำนวน 302 คน ผู้ว่าจ้างบัณฑิต จำนวน 182 คน และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่้ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยกำหนดเกณฑ์ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยที่ความเหมาะสมเท่ากับ 3.00
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ด้านบริบทของหลักสูตร นักศึกษา อาจารย์ บัณฑิตและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากและมีความเหมาะสมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าภาพรวมของหลักสูตรเหมาะสมในระดับมาก ส่วนรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรเหมาะสมดีแล้ว โครงสร้างของหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด เนื้อหาของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา นักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิตเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก คุณลักษณะของอาจารย์พบว่ามีสัดส่วนของอาจารย์ประจำต่อนักศึกษาและภาระงานสอนอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด ผลงานวิชาการและการให้บริการทางวิชาการของอาจารย์ประจำในสาขาวิชาอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานมาตรฐานการอุดมศึกษา (สมศ.) กำหนด การประเมินตนเองของอาจารย์ผู้สอนพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์ ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน พบว่านักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิตเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลาง
ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร นักศึกษา อาจารย์ และบัณฑิตมีความเห็นว่าการบริหารจัดการทั่วไป กิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนการสอน กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมในระดับมาก
ด้านผลการใช้หลักสูตร บัณฑิตประเมินคุณสมบัติและความสามารถของตนเอง โดยรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก
ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต ผู้ว่าจ้างบัณฑิตมีความเห็นว่าความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสายวิชาชีพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตมีความเหมาะสมในระดับมาก
เมื่อเปรียบเทียบค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่กำหนดพบว่าผลการประเมินทั้ง 5 ด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ยกเว้นในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ประเภทโสตทัศนูปกรณ์ ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดเล็กน้อย
นักศึกษา อาจารย์ บัณฑิตและผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาวิทยากรคอมพิวเตอร์ มีข้อเสนอแนะต่อหลักสูตรว่าควรเน้นทักษะการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ เน้นทฤษฎีที่ใช้งานจริงและประยุกต์กับการทำงานได้ โปรแกรมที่ใช้ให้ทันสมัย ควรเพิ่มรายวิชาฝึกงาน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนในหลักสูตร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ควรได้รับการปรับปรุงทุกๆ 2-3 ปี และเพิ่มจำวนให้พอเพียงกับนักศึกษา ห้องสมุดตำราที่ทันสมัยและจำนวนเพียงพอต่อการยืม มีคะแนนเก็บจากการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ เพิ่มกิจกรรมด้านศึกษาดูงาน การเรียนการสอนให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้ว่าจ้างบัณฑิตมีข้อเสนอแนะต่อคุณลักษณะของบัณฑิตว่าควรมีการพัฒนาตนเองโดยการติดตามเทคโนโลยีใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการทำงานและศึกษาต่อได้
The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's curriculum for Bachelor in Computer Science (1999 revised edition). The model modified from the five aspects of the CIPP Model including context, input, process, product and mamagement process was applied. The subjects consisted of 155 computer science major students in the second-year, third-year and fourth-year groups, and 40 instructors, 302 computer science graduates, 182 graduates employers and 7 computer experts. Five-rating scale questionnaires were conducted. Data was analyzed in terms of mean, frequency, and percentage. The results of this research were as follows:
Context : It was found that students, instructors and graduates thought that the objectives of the curriculum were at a high level and even higher than the standard.
Process : According to the students, instructors and graduates, extra curricular activities and teaching processes in computer subject area were moderate while evaluation proces was at a high level.
Product: In terms of qualifications and abilities, the graduates evaluation themselves at high levels.
Curriculum administration trend in the future : Employers felt that HCU graduates had good qualifications, so HCU graduates were evaluated at a high level.
When looking at the five aspects above, all of them, except the buildings, facilities and text books that were a little lower than the standard, were higher than the standard.
Recommendation from the open-ended questionnaires suggested that the instructional process should emphasize the practical use of computers. Practicum focusing on English and Chinese should be applied to this program. Computers should be updated every 2 years. New books should be provided in the library points on practicum should be increased. Student-centered approach should be applied. Employers suggested that graduates should always update themselves and be creative when working or studying for Mater of Science.