DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author บงกช เดชมิตร
dc.contributor.author สริตา ศรีสุวรรณ
dc.contributor.author คณพศ สิทธิเลิศ
dc.contributor.author อัญชลี สมใจ
dc.contributor.author ศาริณี ตั้งอุทัยสุข
dc.contributor.author Bongkot Detmit
dc.contributor.author Sarita Srisuwan
dc.contributor.author Khanapoj Sittilert
dc.contributor.author Unchalee Somjai
dc.contributor.author Sarinee Tanguthaisul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
dc.date.accessioned 2024-02-20T14:35:23Z
dc.date.available 2024-02-20T14:35:23Z
dc.date.issued 2011
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1732
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประเมินหลักสูตรใน 5 ด้าน คือ ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ การประเมินปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ได้แก่ การประเมินภาพรวมของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร คุณลักษณะของอาจารย์ คุณลักษณะของผู้เรียน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ การประเมินการบริหารจัดการทั่วไป กระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาการท่องเที่ยว การวัดและประเมินผล ด้านผลผลิต ได้แก่ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา คุณภาพบัณฑิต ความพึงพอใจของนายจ้าง และความพึงพอใจของบัณฑิตและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต และด้านสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ บัณฑิต จำนวน 10 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ของสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 45 คน อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการท่องเที่ยว จำนวน 7 คน อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว จำนวน 3 คน และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยคำนวณด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านบริบทของหลักสูตร นักศึกษา อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ บัณฑิต มีความคิดเห็นต่อวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พบว่า วัตถุประสงค์ท้้ง 4 ข้อ มีความเหมาะสมมาก โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์เห็นด้วยมากที่สุดกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 4 ข้อ ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ภาพรวมของหลักสูตรเหมาะในระดับมากที่สุด โครงสร้างของหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตโดยรวม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด คุณลักษณะของอาจารย์ มีความเหมาะสมในระดับมาก สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน มีความเหมาะสมในระดับปานกลางเท่านั้น ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร การบริหารจัดการทั่วไป ด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา ในภาพรวมของนักศึกษา อาจารย์และบัณฑิต มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมปานกลาง ยกเว้น ความทันสมัยของหนังสือ วารสารต่างๆ ความเหมาะสมของอาคารสถานที่ ห้องเรียนในด้านความสะอาด และบรรยากาศวิชาการ ความมีประสิทธิภาพของอาคารสถานที่ ห้องเรียน ความทันสมัยของอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกในห้องเรียน และของสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่กลุ่มบัณฑิตและอาจารย์มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมในระดับมาก กระบวนการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ และบัณฑิต มีความคิดเห็นต่อสิ่งสนับสนุนการศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมปานกลาง ยกเว้นความเหมาะสมด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ความสะดวกรวดเร็วของบริการสืบค้นข้อมูล ความเพียงพอของที่นั่งในห้องสมุด ความเหมาะสมของอาคารสถานที่ ห้องเรียนในด้านความสะอาด และบรรยากาศวิชาการ และความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่กลุ่มอาจารย์มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมในระดับมาก การวัดและการประเมินผล ด้านการวัดและการประเมินผลการเรียนในส่วนของการวัดและการประเมินผลการเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีการประเมินผลการเรียน แต่อยากให้อาจารย์ออกข้อสอบที่ต้องใช้การวิเคราะห์ การนำสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้กับความรู้ที่ได้เรียนมาและมีนักศึกษาบางส่วนมีความคิดเห็นว่าควรเพิ่มช่องทางการประเมินให้หลากหลายขึ้น ด้านผลผลิต ผู้บังคับบัญชา บัณฑิตมีความคิดเห็นว่าคุณลักษณะโดยรวมของบัณฑิตสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการท่องเที่ยว มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บัณฑิตสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยวมีคุณลักษณะเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกข้อ ยกเว้นด้านการมีจิตบริการ ความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต นักศึกษา บัณฑิต อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นว่าควรปรับรายวิชาที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกันให้เป็นหมวดหมู่ที่เหมาะสม และเพิ่มความทันสมัยของเนื้อหาเพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ในภาพรวมมีความต้องการให้บัณฑิตสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการเพื่อการท่องเที่ยวมีความสามารถพิเศษ ตามลำดับ ดังนี้ การสนทนาภาษาอังกฤษ ติดต่อประสานงานในและนอกองค์กรการใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน งานเลขานุการ การจดรายงานการประชุมต่างๆ การสืบค้นข้อมูล และการจดบันทึก ข้อเสนอแนะต่อคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ผู้บังคับบัญชา บัณฑิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าต้องการให้บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนารายวิชาที่มุ่งเน้นในด้านดังนี้ 1. เน้นด้านภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส 2. เน้นงานการจัดการ งานการตลาด งานบัญชี งานประชาสัมพันธ์ และงานฝึกอบรม th
dc.description.abstract The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's Curriculum 2008 for Bachelor Degree in Liberal Arts, Hospitality Induatry for Tourism Major. The study evaluated five aspects: (1) curriculum context including its philosophy and objectives, (2) fundamental learning administration including overall evaluation, curriculum structure, instructors' and students' qualifiactions, facilities, equipment, textbooks, and learing environment, (3) process of curriculum administration including general administration, tourism courses, and learning evaluation, (4) outcome including the total number of graduates, students' qualifiactions, satisfaction of students and employers, and required personalities of students, and (5) synthetic suggestion focusing on the systematic administration in the future. The samples applied in this study consisted of 10 Tourism graduates and 45 sophomore, junior and senior Hospitality Industry for Tourism major students academic year 2011, 7 instructors, 3 experts and analyzing the data were frequency, percentage, and mean. The results of the research were as follows: (1) Curriculum context The objectives of the curriculum perceived by the samples of the study were overall rated at high level except experts and instructures were rated at the highest level. (2) Fundamental learning administrayion The experts perceived that overall curriuclum appropriateness were rated at the highest level while facilities, equipment, textbooks, and learning environment were at moderate level. (3) Process of curriculum administration General administration: Students, graduates, and instructors agreed that the learning supporting factors were at moderate level while modern textbooks, published materials, facilities enviornment, appropriateness and building and classroom cleanliness were at high level. Learning process: students, graduates, and instructors perceived that overall learning process was at moderate level. As each point was considered, it was found that instructors were rated the sufficiency of libray seat and learning atmosphere at high level. Learning eveluation: students agreed with the evaluation methods but more analysis and different methods should be applied. (4) Outcome Employers felt that graduates' qualifications were at the highest level. (5) Trends of curriculum administration Students, graduates, instructors and experts suggested to categorize the duplication of some modules. The updated module's context to support ASEAN free labour exchange. The required graduates' abilities skills in; - English, Japanese and French languages - Management, Marketing, Accounting, Public relation and Training th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject อุตสาหกรรมบริการ -- หลักสูตร th
dc.subject Service industries -- Curriculum th
dc.subject อุตสาหกรรมบริการ -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Service industries -- Study and teaching th
dc.subject การท่องเที่ยว -- หลักสูตร th
dc.subject Tourism -- Curriculum th
dc.subject การท่องเที่ยว -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Tourism -- Study and teaching th
dc.title การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการเพื่อการท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative The Evaluation fo Tourism Major Curriculum (2008) : Bachelor's Degree Program, Department of Hospitality Industry for Tourism, Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account