DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author ชนาพร เครือแก้ว
dc.contributor.author กฤษณี เอี่ยมจรูญ
dc.contributor.author นุช สัทธาฉัตรมงคล
dc.contributor.author รุจิรัตน์ พัฒนะศรี
dc.contributor.author สุวรรณา อินคล้าย
dc.contributor.author ลาวรรณ์ อนันต์ชลาลัย
dc.contributor.author บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี
dc.contributor.author จรรยา ยอดนิล
dc.contributor.author ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ th
dc.date.accessioned 2024-02-21T06:20:36Z
dc.date.available 2024-02-21T06:20:36Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1734
dc.description.abstract การวิจัยประเมินหลักสูตรการบัญชี สาขาวิชาการบัญชี จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชาการทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบทด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 9 ชุด มีการตอบกลับมา 9 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเพศปญิง อาจารย์ทั้งหมด มีประสบการณ์สอน 7-10 ปี ร้อยละ 42.86 และมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 57.14 อาจารย์ทุกคนเห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย อาจารย์ทุกคนเห็นว่า คณะมีการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตร และเห็นด้วยกับการที่มีการบริหารหลักสูตรในรูปคณะกรรมการ อาจารย์มีความเห็นต่อสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวด โดยจำนวนหน่วยกิตของหมวดศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี มีความหมายเหมาะสมระดับปานกลางถึงมาก อาจารย์มีความเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของตนเองในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกข้อ เว้นแต่การให้โอกาสนักศึกษาแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก ความเห็นต่อคุณลักษณะสำคัญของการเป็นอาจารย์ผู้สอน คือ เป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ขวนขวายติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของความรู้ใหม่ๆ สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ ซึ่่งสอดคล้องกับคุณลักษณะต่างๆ ของตนเองโดยอาจารย์ทุกคนคิดว่าคุณลักษณะที่ตนเองมีมาก ได้แก่ การมีศีลธรรม มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไตร่ตรองเหตุผล รู้จักตนเอง อาจารย์ผู้สอนใช้แบบการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นแบบบรรยายเชิงอภิปราย และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสอนที่อาจารย์ผู้สอนใช้มากที่สุด คือ เครื่องฉายแผ่นใส / เครื่องฉายแผ่นทึบ รองลงมา คือ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อาจารย์มีความเห็นต่อคุณลักษณะของนักศึกษาในระดับปานกลาง ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานระดับสามัญ มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย สำหรับคุณลักษณะการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ อ่านหนังสือประกอบ/ค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่ในระดับน้อย รูปแบบการเรียนที่อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด คือ การเรียนแบบอิสระ แต่ปัจจุบันนักศึกษาใช้แบบการเรียนแบบจำใจ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับบัณฑิต 65 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 60 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.30 ร้อยละ 90.77 นับถือศาสนาพุทธและส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก บัณฑิตร้อยละ 51.67 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษาต่ำกว่า 2.5 ร้อยละ 30 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5-3.25 บัณฑิตมีงานทำร้อยละ 83.33 ส่วนใหญ่เป็นงานบัญชี รองลงมาเป็นงานสอบบัญชีและงานการเงิน บัณฑิตร้อยละ 63.33 ได้รับเงินเดือนในอัตรา 5,001-10,000 บาท บัณฑิตร้อยละ 48.33 ได้งานทำโดยการสมัครงานด้วยตนเอง อีกร้อยละ 21.67 ให้ญาติแนะนำ บัณฑิตมีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาพื้นฐานว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาแกน บัณฑิตมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นมีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี กลุ่มวิชาเอกเลือก มีความเหมาะสมในระดับดี โดยให้ความเห็นว่าบางรายวิชา ควรมีการปรับปรุงในบางด้าน การจัดการเรียนการสอนบัณฑิตชอบวิธีการเรียนแบบร่วมมือและแบบอิสระ และเห็นว่าแบบร่วมมือเป็นวิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน บัณฑิตเห็นว่าการติดต่อสื่อสาร-การปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับดี บัณฑิตเห็นว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติงานมากที่สุด บัณฑิตคิดว่าตนเองมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อยถึงปานกลาง บัณฑิตมีความเห็นว่าคุณสมบัติที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงาน คือ การมีศีลธรรมและคุณธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ มีความรับผิดชอบ อดทนสู้งาน ซึ่งตรงกับที่บัณฑิตคิดว่าเป็นคุณสมบัติที่ตนเองมี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตโดยให้บัณฑิตเป็นผู้ส่งให้กับผู้บังคับบัญชา จากจำนวนที่ส่งทั้งหมด 150 ชุด ผู้ใช้บัณฑิตตอบกลับมาเพียง 8 ชุด คิดเป็นร้อยละ 5.33 ของแบบสอบถามทั้งหมดที่่ส่งออกไป ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนความคิดของผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมดได้ ผู้ใช้บัณฑิตได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานว่าเป็นหน่วยงานเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน จะพิจารณาจากสาขาวิชาที่บัณฑิตจบตรงกับลักษณะงานเป็นสำคัญ ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก และมีศักยภาพการทำงานเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นในระดับที่มากกว่า ได้แก่่ ความรู้ด้านวิชาการ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการเรียนรู้งาน การอุทิศเวลาให้กับงาน มานะอดทนสู้งาน ในระดับที่เท่ากับสถาบันอื่น คือ ความคิดริเริ่มและการมองการณ์ไกล ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษาปัจจุบัน คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้นักศึกษาปัจจุบัน 70 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 50 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.42 นักศึกษาปัจจุบันร้อยละ 92 เป็นนักศึกษาหญิงภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ นักศึกษามีความเห็นต่อหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ว่ามีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาแกน มีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี สำหรับหมวดวิชาเลือกเสรี ไม่มีผู้ตอบแบบสอบถาม ความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน นักศึกษามีความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรในระดับดี มีเพียงบางหัวข้อที่มีระดับปานกลาง เช่น นวัตกรรมการเรียนการสอน Website สื่อการสอในรูป CD ROM กิจกรรมเสริมการดูงาน หนังสือค้นคว้าในห้องสมุด th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2547 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject การบัญชี -- หลักสูตร th
dc.subject Accounting -- Curricula th
dc.subject การบัญชี -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Accounting -- Study and teaching th
dc.title การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Accounting Degree's Curriculum for Academic Year 2000 Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account