DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน พุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ
dc.contributor.author เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล
dc.contributor.author วรสิทธิ์ จักษ์เมธา
dc.contributor.author สมนึก อัศดรวิเศษ
dc.contributor.author Tassachan Piyatanti
dc.contributor.author Penn Chayavivatkul
dc.contributor.author Worasith Jackmetha
dc.contributor.author Somnuk Asdornwised
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-02-21T06:27:28Z
dc.date.available 2024-02-21T06:27:28Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1735
dc.description.abstract การวิจัยประเมินหลักสูตรการเงิน (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชาการทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบทด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 6 ชุด มีการตอบกลับมา 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและมีอายุงานระหว่าง 3-6 ปี โดยมีอาจารย์ร้อยละ 33 ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และเห็นว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน ดูแลมาตรฐานบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีสัดส่วนในหลักสูตรค่อนข้างมาก แต่หมวดวิชาเอกทั้งวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือกมีสัดส่วนในหลักสูตรค่อนข้างน้อย สำหรับพฤติกรรมในเรื่องการแทรกการอบรมสั่งสอนคุณธรรมและศีลธรรมในรายวิชาที่สอนแก่นักศึกษา อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเอง มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.83) ในขณะที่พฤติกรรมด้านอื่นๆ อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุดและผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะดังกล่าวมากทีสุด คือ การมีศีลธรรม แต่คุณลักษณะของการขวนขวายติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของความรู้ใหม่ๆ และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ เป็นลักษณะที่อาจารย์ผู้สอนมีอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ตนเองคิดว่าควรจะมี ในด้านการสอนอาจารย์ผู้สอนใช้การสอนแบบสัมมนา และการสอนแบบ Brain Storming Groups ค่อนข้างน้อย สื่อการสอนที่อาจารย์ผู้สอนใช้เพียงร้อยละ 50 ได้แก่ โปรแกรม Black Borad ความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนร้อยละ 66.67 มีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนสม่ำเสมอแต่ยังอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งน้อย ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารการเงิน (ต่อเนื่อง 2 ปี) ทั้งหมด 7 ชุด ตอบกลับมา 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.71 ของจำนวนที่่ส่งไป นักศึกษาร้อยละ 66.67 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และมีร้อยละ 33.33 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักศึกษาจำนวนครึ่งหนึ่งสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือ ปวท. ในสาขาวิชาการบัญชี รองลงมาคือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ความคิดเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่่วไป นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่ารายวิชาโดยส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง แต่มีวิชา MA1033 คณิตศาสตร์ทั่่วไป ที่นักศึกษาร้อยละ 50 มีความเห็นว่าควรปรับปรุงในด้านความทันสมัยของเนื้อหาและร้อยละ 33 คิดว่าต้องปรับปรุงในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่น ความคิดเห็นต่อรายวชาในหมวดวิชาแกน มีนักศึกษาร้อยละ 50 เห็นว่าวิชา MG4103 การจัดการเชิงกลยุทธ์ ควรปรับปรุงตัวอย่างประยุกต์ใช้ ความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่้น และความทันสมัยของเนื้อหา ความเห็นต่อรายวิชาในหมวดวิชาเอกบังคับของนักศึกษาค่อนข้างมีความหลากหลายและแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับ ปานกลางถึงดี มีนักศึกษาร้อยละ 16.67 เห็นว่า ควรมีการปรับปรุงรายวิชาในหมวดวิชาเอกบังคับ เช่น FN2613 การเงินการธนาคาร FN3613 หลักการลงทุน FN3633 การจัดการทางการเงิน FN4623 การวาณิชธนกิจ และ FN4633 การศึกษาความเป็นไปได้และประเมินโครงการ นักศึกษามีความเห็นต่อวิชาเอกเลือกว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางถึงดี สำหรับรายวิชาเลือกเสรี นักศึกษาร้อยละ 100 เห็นว่าวิชา HU2203 เทคโนโลยีเพื่อการนำเสนอ มีความเหมาะสมในระดับดีในหลักสูตร มีความเห็นว่าการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลางถึงดี นักศึกษาร้อยละ 66.67 เห็นว่าการให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาอยู่ในระดับดี มีนักศึกษาคิดเป็นร้อยละ 50 เห็นว่าสิ่งที่ควรปรับปรุง คือ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 32 ชุด มีการส่งกลับมาทั้งสิ้น 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 15.63 ของบัณฑิตทั้งหมด จากแบบสอบถามที่ตอบกลับมา บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายะ 22-24 ปี ทุกคนมีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลางและร้อยละ 60 อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตร้อยละ 20 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป ด้านการทำงาาน บัณฑิตทุกคนมีงานทำในหน่วยงานเอกชน โดยมีตำแหน่งงานเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน โดยมีบัณฑิต 1 ราย ทำกิจการของครอบครัว ลักษณะงานของบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นงานขาย รองลงมา ได้แก่ งานบัญชีและงานฝ่ายส่งออกบัณฑิตร้อยละ 60 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท และหางานด้วยการสมัครงานด้วยตนเองที่หน่วยงาน และร้อยละ 20 หางานด้วยการสมัครทาง Internet ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร บัณฑิตทุกคนเห็นว่ารายวิชาหมวดการศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะมีความเหมาะสม ส่วนรายวิชาเลือกเสรี บัณฑิตร้อยละ 80 มีความเห็นว่า เหมาะสมแล้ว บัณฑิตร้อยละ 40 มีความเห็นว่าวิชาภาษาอังกฤษและวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน และวิชาภาษาอังกฤษ มีความทันสมัยมาก บัณฑิตมีความเห็นต่อวิชาที่มีประโยชน์ต่อการทำงานน้อยแตกต่างกันไป ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน บัณฑิตส่วนใหญ่มีความเห็นว่าวิธีการเรียนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน คือ แบบร่วมมือ ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการเรียนที่ชอบ การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานของตนเอง ว่า มีความรู้ทางด้านการเงินมาก และมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างมาก บัณฑิตมีความเห็นว่าตนเองมีความรู้ทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อย คุณลักษณะที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยที่คุณสมบัติที่บัณฑิตมีมากที่สุด ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 32 ชุด ได้รับตอบกลับจากผู้ใช้บัณฑิต 4 ชุด เนื่องจากมีบัณฑิต 1 รายทำธุรกิจของครอบครัวโดยเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานและร้อยละ 75 เป็นหญิง ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เช่น ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมงาน สามารถทำงานได้รวดเร็วทันกำหนด ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าคุณลักษณะที่เสริมการปฏิบัติงานของบัณฑิต คือ ความกล้าในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และความสามารถในการพูดโน้มน้าว เมื่อเปรียบเทียบความสามารถของบัณฑิตกับบัณฑิตจากสถาบันอื่น ผู้ใช้บัณฑิตทุกคนมีความเห็นว่า บัณฑิตมีความสามารถในการเรียนรู้งานและมีความกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50 มีความเห็นว่าบัณฑิตมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อยกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่น th
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2545 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การประเมินหลักสูตร th
dc.subject Curriculum evaluation th
dc.subject การเงิน -- การศึกษาและการสอน th
dc.subject Finance -- Study and teaching th
dc.subject การเงิน -- หลักสูตร th
dc.subject Finance -- Curricula th
dc.title การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการเงิน พุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.title.alternative An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Finance (2 Year Continuing Program) Degree's Curriculum for Academic Year 1999 Huachiew Chalermprakiet University th
dc.type Technical Report th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account