DSpace Repository

เปรียบเทียบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม

Show simple item record

dc.contributor.author มธุรส อ่อนไทย
dc.contributor.author ผุสดี สิรยากร
dc.contributor.author อุมา รัตนเทพี
dc.contributor.author ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์
dc.contributor.author สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา
dc.contributor.author เกษม พลายแก้ว
dc.contributor.author Mathuros Ornthai
dc.contributor.author Phudsadee Sirayakorn
dc.contributor.author Uma Rattanathepee
dc.contributor.author Siriwan Tantawanich
dc.contributor.author Sureeporn Homvisasevongsa
dc.contributor.author Kasem Plaikaew
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology th
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Science and Technology
dc.date.accessioned 2024-03-02T05:45:27Z
dc.date.available 2024-03-02T05:45:27Z
dc.date.issued 2023
dc.identifier.citation วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 9,1 (มกราคม-มิถุนายน 2566), 69-82 th
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1760
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu/article/view/248983/169009 th
dc.description.abstract จังหวัดสมุทรปราการมีหนึ่งในผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นได้แก่ “ปลาสลิด” ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศในชื่อของปลาสลิดบางบ่อ โดยปัจจุบันพบว่ามีปริมาณลดลงไปอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากพื้นที่เลี้ยงลดลง จึงต้องมีการนำปลาสลิดที่เลี้ยงจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียงมาแปรรูปขายแทน ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความไม่แน่ใจว่าปลาสลิดที่วางขายเป็นปลาสลิดบางบ่อแท้หรือไม่ และปลาสลิดบางบ่อแท้มีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร งานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะภายนอกรวมทั้งปริมาณโปรตีนและไขมันของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีการเลี้ยงอยู่ในบริเวณ 4 อำเภอ คือ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอเมือง และอำเภอบางเสาธง เปรียบเทียบกับปลาสลิดที่เลี้ยงในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงครามโดยเชื่อมโยงกับวิธีการเลี้ยงและลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าลักษณะภายนอกของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการในแต่ละอำเภอมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดลำตัวเล็กเรียวยาว ด้วยเหตุที่เลี้ยงโดยใช้อาหารตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ทำให้ต้องแหวกว่ายหาอาหารส่งผลให้มีการสะสมของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีสีตัวออกดำคล้ำซึ่งเข้มกว่าปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครที่มีสีตัวออกดำเหลืองมีโทนสีเข้มน้อยกว่าและมีขนาดใหญ่อวบอ้วนกว่าเมื่อเทียบกับปลาที่มีอายุการเลี้ยงใกล้เคียงกัน เนื่องจากการเลี้ยงแบบเชิงพาณิชย์ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นหลักทำให้ปลามีการสะสมของไขมัน ในส่วนองค์ประกอบทางเคมีพบว่าปริมาณไขมันในเนื้อปลาสลิดอำเภอบางเสาธงมีปริมาณไขมันน้อยกว่าอำเภอบางพลีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 แต่เมื่อเทียบกับอำเภอที่เหลือในจังหวัดสมุทรปราการพบว่าไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในภาพรวมของจังหวัดพบว่าปริมาณไขมันในเนื้อปลาสลิดของจังหวัดสมุทรปราการมีค่าน้อยกว่าจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณโปรตีนไม่แตกต่างกันก็ตาม โดยผลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องสำหรับผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อปลาสลิดบางบ่อแท้และใช้เป็นข้อมูลประกอบการยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในชื่อของปลาสลิดบ่างบ่อ th
dc.description.abstract Samut Prakan Province is well-known for its local agricultural product, the gourami, specifically the Bang Bo gourami, which has gained popularity throughout the country. However, the production of gourami has significantly decreased due to a reduction in the farming area. As a result, gourami from nearby provinces are now being brought in for processing and sale. This has led to uncertainty among consumers about whether the gourami they purchase is genuine Bang Bo gourami or not. To address this issue, this study examined the external appearance, including the amount of protein and fat, of gourami from four districts in Samut Prakan Province (Bang Bo District, Bang Phli District, Mueang District, and Bang Sao Thong District) compared to gourami from Samut Sakhon and Samut Songkhram provinces in connection with farming methods and geographical characteristics. The results indicated that the external appearance of gourami in each district was similar, with a small and elongated body. They were mainly fed with natural food, which required them to swim to find their food resulting in muscle accumulation. Additionally, the body color of gourami from Samut Prakan Province was darker compared to gourami from Samut Songkhram and Samut Sakhon Province, which had a less dark yellowish-black body color and were larger and plumper compared to fish of a similar farming age. This was due to commercially raised fish primarily being fed with ready-made feed pellets, causing fat accumulation. In terms of chemical composition, it was found that the fat content of gourami in Bang Sao Thong District was significantly lower than that of Bang Phli District at P<0.05, but there was no difference when compared to the rest of Samut Prakan Province. Although there was no difference in the amount of protein, it was discovered that the fat content of gourami in Samut Prakan Province was significantly lower than that of Samut Songkhram Province and Samut Sakhon Province at P<0.05. This research data can be used as information to create accurate awareness for consumers who want to buy genuine Bang Bo gourami and used as information for registering a geographical indication in the name of Bang Bo gourami. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ปลาสลิด -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject ปลาสลิด -- ไทย -- สมุทรสงคราม th
dc.subject ปลาสลิด -- ไทย -- สมุทรสาคร th
dc.subject Snakeskin gourami -- Thailand -- Samut Prakarn th
dc.subject Snakeskin gourami -- Thailand -- Samut Sakhon th
dc.subject Snakeskin gourami -- Thailand -- Samut Songkhram th
dc.subject องค์ประกอบทางเคมี
dc.subject Composition
dc.subject รูปทรง
dc.subject Shapes
dc.subject การประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัส
dc.subject Sensory evaluation
dc.title เปรียบเทียบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม th
dc.title.alternative Comparison of the External Appearance and Chemical Composition of Gourami in Samut Prakan, Samut Sakhon, and Samut Songkhram Provinces th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account