การวิจัยในโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยศึกษากฎหมายของประเทศต่างๆในระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก ตะวันตก และ เหนือ ใต้ เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายที่มีอยู่ของแต่ละประเทศนั้นมีลักษณะและเนื้อหาสาระอย่างไร มีการบังคับใช้อย่างไร และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้างในทางปฏิบัติ อีกทั้งศึกษามูลฐานของปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งเกิดจากปัญหาทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะการขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย จากผลของการศึกษาพบว่า ปัญหาทางด้านกฎหมายของแต่ละประเทศมีลักษณะร่วมบางประการได้แก่ ปัญหาการตีความ ขอบเขตของการนิยาม “การค้ามนุษย์” เพราะในสังคมที่แตกต่างกันอาจจะมีลักษณะของการค้ามนุษย์ที่แตกต่างกัน ปัญหาในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด การแยกเหยื่อจากการเป็นผู้กระทำความผิด การคุ้มครองป้องกันพยาน การขาดแคลนงบประมาณ การขาดความเชี่ยวชาญ ชำนาญการของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวของ การต้องบังคับการตามกฎหมายหลายฉบับที่อาจจะซ้ำซ้อนกัน หรือเป็นช่องว่างในการบังคับกฎหมาย ปัญหาการทุจริจ คอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับระดับภูมิภาคยังไม่มีการประมวลกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ความร่วมมือในการดำเนินคดีในระดับภูมิภาค และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของการประเมินสภาพการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นเอกภาพในระดับอาเซียน สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระดับภายในประเทศเสนอให้มีการประมวลกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยผนวกกฎหมายสาระบัญญัติ และวิธีสบัญญัติไว้ในประมวลเดียวกันโดยแบ่งเป็นภาคสาระบัญญัติและภาควิธีสบัญญัติ ให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับลักษณะคดีการค้ามนุษย์ มีการอบรมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดงบประมาณให้เพียงพอ การคุ้มครองเหยื่อและพยาน ส่วนในระดับภูมิภาคให้มีการทำสนธิสัญญากำหนดความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พร้อมทั้งกำหนดมาตรฐานอาเซียนในการประเมินการปฎิบัติการ กำหนดกรอบและขอบเขตคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ให้ชัดเจน
The research aims to study and analyze the human trafficking problem. Studying the laws and regulations of various countries in the East-West, North-South Economic Corridor to know the existing laws of the studied countries, what are the substantive and procedural laws of each country? How to enforce the laws, and what are the problems of law enforcement in practice of these countries? The study in this research was carried out at the level of domestic law and international law, studying the treaties on the prevention and suppression of human trafficking at the international and regional level. The fundamental causes of human trafficking are the social, economic and political problems, particularly the lack of the effective law enforcement. The results of the study showed that the legal issues of each country have some common characteristics. They are the problems of the Interpretation, scope of definition of "Human Trafficking" because in different societies may have different traits of human trafficking. Lawsuit against the perpetrator, the problem of the separation of victims from being an offender, protection of witness, lack of expertise of the staffs, law enforcement agency may be overlapping, or in some circumstances there is a vacuum to enforce the laws, and corruption of related officers. To solve the problems, at the regional level, there is no treaty or regional code on the prevention and suppression of human trafficking. There are no regional standards for assessing law enforcement at the ASEAN level. Internationally level, there are problems of enforcing the treaty or the lack of efficient application of the obligation under the treaty. Most of them are just lip-services, the parties to the treaty make no concrete regulatory action and action plan for implementation of the law. The assessment of the suppression of human trafficking has also influenced by the political involvement. For solutions at the national level, the Codification of the Prevention and Suppression of Human Trafficking by combining the substantive laws and procedural law in the same code will be needed, it will be divided into the part of substantive law and the other part dealing with the procedural law to be more appropriate to the specific nature of the human trafficking case. Training the related staffs of the competent authority, providing sufficient budget, protection of Victims and Witnesses. At the regional level, there should be a treaty on cooperation in prevention and suppression of human trafficking. It should also set the ASEAN standard for performance appraisal, establish clear legal framework and definition of scope for human trafficking.