นิคมสร้างตนเองก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ราษฎรได้รู้จักอาชีพใหม่ๆ ที่คนไทยไม่คุ้นเคยซึ่งสามารถยึดเป็นพื้นฐานที่มั่นคงในทางเศรษฐกิจและขยายให้เพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตได้และเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับราษฎรและระหว่างราษฎรกับราษฎรโดยได้มีการวางผัง แบ่งแปลงที่ดิน และจัดคนเข้าครอบครองทำกินครบถ้วนตามสภาพของที่ดินที่จัดแล้ว จัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ให้ประชาชนได้ตั้งเคหสถาน ซึ่งมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปของเกษตรกร ในท้องถิ่นใกล้เคียงเป็นหลักแหล่ง และประกอบอาชีพมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีไม่น้อยกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรในท้องที่ใกล้เคียง งานนิคมสร้างตนเองดำเนินการในลักษณะเชิงบูรณาการเน้นให้สมาชิกนิคมมีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินร่วมปฏิบัติและร่วมติดตามผล ผู้ที่อยู่ในนิคมเป็นราษฎรที่ยากจนไม่มีที่อยู่อาศัย เป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง และได้รับการคัดเลือกให้อพยพตนเองและครอบครัว เข้าไปตั้งถิ่นฐานตามแปลงที่ดินที่ได้จัดทำผังไว้แล้ว โดยทั่วไปจะจัดให้ครอบครัวละ 25 ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ และที่ดินทำกิน 23ไร่ ปัจจุบันมีนิคมสร้างตนเองอยู่ที่สิน 44 แห่ง ทั่วประเทศ การศึกษาปัญหา และความต้องการของคนไร้ที่พึ่งในนิคมสร้างตนเองใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านคนไร้ที่พึ่ง พนักงานส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้แทนสมาชิกโครงการและองค์กรสาธารณประโยชน์ รวมจำนวน 40 คน การจัดสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านคนไร้ที่พึ่ง และผู้แทนสมาชิกโครงการ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า บุคคลไร้ที่พึ่งได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามนโยบายของการจัดตั้งนิคม แต่ยังคงมีปัญหา อุปสรรคที่ต้องแก้ไขอีกหลายประการ ได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอและไม่มีความเชี่ยวชาญ การดําเนินงานพัฒนาทักษะอาชีพมีแต่เกษตรกรรม งบประมาณรายรับร่ายจ่าย คือ ค่าอาหารสาธารณูปโภคและค่าจ้างเหมาบุคลากรไม่เพียงพอ ปัญหาและความต้องการ มี 5 ด้าน คือ ต้องการติดต่อญาติและการไปเยี่ยมบ้าน ต้องการให้ผ่อนปรนกฎระเบียบที่ให้อิสระในการดำรงชีวิตมากขึ้น ต้องการได้รับการจัดสรรที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพ และต้องการขอลาออกจากโครงการ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการส่งเสริมการจัดบริการสวัสดิการสังคมให้แก่บุคคลไร้ที่พึ่ง 9 แนวทาง คือ การสร้างความตระหนักความภาคภูมิใจในตนเองและพึ่งตนเอง การจ้างงานประจำในหน่วยงาน การจัดกิจกรรมนันทนาการ การดำรงชีวิตอิสระ การจ่ายเบี้ยยังชีพ การเยี่ยมบ้าน และการส่งเสริมให้มีงานทำสร้างรายได้
The self-establishment estate was established to encourage people to learn new occupations that Thai people are unfamiliar with, which can be taken as a solid foundation in the economy and can expand further in the future, and to resolve disputes between the government and the people, and between the people themselves, which has been planned to divide the land and arrange people to occupy the land in full according to the condition of the land already divided. established infrastructure for the people to establish a dwelling place which has a section not lower than the general section of farmers in the local area as its main source and has an average income per person per year not less than the average income of farmers in nearby areas. The self-establishing estate works in an integrated manner and emphasizes the members of the estate's participation in thinking, decision-making, practice, and follow-up. The residents of the estates were poor, homeless, and helpless citizens. Generally, 25 rai per family is arranged, divided into 2 rai of residence and 23 rai of arable land. Currently, there are 44 self-established estates across the country. The study on the problems and needs of the homeless in the self-establishment estates employed qualitative research methods by conducting in-depth interviews with officials working on the defenseless, local staff in the area, representatives of project members, and nongovernmental organizations, totaling 40 people. and 10 representatives of project members. The results showed that homeless people receive welfare protection in accordance with the policy of establishing settlements but still have many problems that need to be solved, including insufficient personnel and lack of expertise, occupational skills development, and operations based only on agriculture. The income and expenditure budgets are insufficient for food, utilities, and personnel wages. A homeless person has five problems and needs: wanting to contact relatives and home visits; must ask for a waiver of the rules and regulations that give more freedom to live; wanting to be allocated land for occupation; and wanting to resign from the project. The researcher has nine suggestions for promoting social welfare services for the homeless, which are to raise awareness of self-esteem and self-reliance; permanent employment in the agency; recreational activities; independent living; pension payment; home visit; and promoting jobs to make income.