DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส : ศึกษากรณีประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.author กนิษฐา บุญยัง
dc.date.accessioned 2024-03-18T14:12:07Z
dc.date.available 2024-03-18T14:12:07Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1913
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 th
dc.description.abstract การทำสารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอกได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพคู่สมรส ช่วงอายุที่ต่างกัน จำนวนบุตร รายได้ของครอบครัว รายจ่ายของครอบครัว ระยะเวลาในการสมรส กับความพึงพอใจในชีวิตสมรส และเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตสมรส ได้แก่ ความสมานฉันท์ทางบทบาทต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส การสื่อสารระหว่างคู่สมรส ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต โดยศึกษาประชาชนน จำนวน 404 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1. คู่สมรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียงมีความสมานฉันท์ในครอบครัว สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และมีรายได้น้อยและไม่พอเพียง 2. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าชายและรับจ้างอิสระ มีการศึกษาสูง มีรายได้สูงและพอเพียง มีการสื่อสารในครอบครัวดีกว่าคู่สมรสที่มีอาชีพอื่น มีการศึกษาน้อยและมีรายได้น้อยไม่พอเพียง 3. คู่สมสรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียง มีการศึกษาสูง แต่อยู่กินกับคู่สมรสไม่นาน มีความเป็นเพื่อนคู่ชีวิตสูงกว่าคู่สมรสอาชีพอื่น 4. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าขายและรับจ้างอิสระมีรายได้สูง และพอเพียง มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสมากกว่าคู่สมรสจากอาชีพอื่น และมีรายได้น้อย ไม่พอเพียง5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสตามลำดับ คือ ความสมานฉันท์ทางบทบาท ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต การสื่อสารระหว่างคู่สมรส มีความพอเพียงของรายได้ อาชีพแรงงานในภาคอื่นที่ไม่ใช่ภาคอุตสาหกรรม การมีบุตรและระดับการศึกษาข้อเสนอแนะ 1. กระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันการศึกษา ควรแทรกเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการดำเนินชีวิต พัฒนการรู้จักใช้ชีวิตร่วมกันในกลุ่มเพื่อน รู้จักการสร้างเสริมสามัคคี และแบ่งหน้าที่กันในกลุ่ม อันจะไปสู่การรู้จักบทบาทหน้าที่ในชีวิตคู่ต่อไป 2. วัดและบุคลากรทางศาสนา ควรส่งเสริมให้สมาชิกในแต่ละครอบครัวได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง การเดินทางสายกลางและการใช้หลักเหตุผล3. กระทรวงสาธารณสุข เช่น กรมสุขภาพจิต ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่คู่สมรส ในการวางแผนและการสร้างความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส เพื่อให้คู่ชีวิตสมรสมีความสุขมากยิ่งขึ้น th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การสมรส th
dc.subject Marriage th
dc.subject คู่สมรส th
dc.subject Spouses th
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล th
dc.subject Interpersonal relations th
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษกับสตรี th
dc.subject Man-woman relationships th
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส : ศึกษากรณีประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Factors Effecting Satisfaction in Marriage Lives : A Case Study on People in Samutprakarn Province th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account