DSpace Repository

การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงชมพู โจนส์
dc.contributor.author กันต์ฤทัย เมฆสุทร
dc.date.accessioned 2024-03-31T01:39:12Z
dc.date.available 2024-03-31T01:39:12Z
dc.date.issued 2010
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1979
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553 th
dc.description.abstract การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเข้าศึกษากิจกรรมทางการตลาดที่นักเรียนและอาจารย์แนะแนวให้ความสำคัญ และทัศนคติของอาจารย์แนะแนวต่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสอบถามจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 413 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การวิจัยครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการสัมภาษณ์อาจารย์แนะแนว จำนวน 6 ราย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุ 17 ปี มีระดับผลการเรียน 3.00-3.50 ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดโรงเรียนประเภทรัฐบาล มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ภาคใต้ มีรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวเฉลี่ย 10,001-15,000 บาท กรณีที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐบาลไม่ได้ จะเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนรองลงมา โดยเลือกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด คือ การเข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย (Open House) และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ คือ ตัวของนักเรียนเอง ในการประเมินความสามารถของนักเรียนพบว่า นักเรียนประเมินตนเองว่ามีความสามารถปานกลาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในทุกปัจจัย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ภูมิภาคที่อาศัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเกรดเฉลี่ยสะสม รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อมูลส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ เกรดเฉลี่ยสะสมส่งผลต่อการเลือกประเภทสถาบันอุดมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามภูมิภาคที่อาศัย และรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว ส่งผลต่อการเลือกประเภทสถาบันอุดมศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการประเมินความสามารถตนเองต่อการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จัดขึ้น มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันตามกัน ส่วนการสัมภาษณ์อาจารย์แนะแนวเกี่ยวกับทัศนคติของอาจารย์แนะแนะต่อสถาบันอุดมมศึกษาเอกชน พบว่า อาจารย์แนะแนวมีทัศนคติในด้านบวกต่อสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านความไว้วางใจและเชื่อมั่นความมีชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับมาตรฐานความทันสมัย หลักสูตรสาขาวิชาที่หลากหลาย มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย และอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนควรจัดกิจกรรมมากที่สุดให้กับนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คือ กิจกรรมเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย (Open House) และ ควรมีการเสริมทักษะความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการสอนของอาจารย์แนะแนวด้วย th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- การรับนักศึกษา th
dc.subject Universities and colleges -- Admission th
dc.subject การสื่อสารทางการตลาด th
dc.subject Communication in marketing th
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา) th
dc.subject Motivation (Psychology) th
dc.title การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทย th
dc.title.alternative Marketing Activity Development for Private Higer Education Institutions of Thailand th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account