DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : บริษัท อุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงชมพู โจนส์
dc.contributor.author กานต์รวี จันทร์เจือมาศ
dc.date.accessioned 2024-03-31T03:42:24Z
dc.date.available 2024-03-31T03:42:24Z
dc.date.issued 2005
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1992
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 th
dc.description.abstract ปัจจุบัน ปัญหาประการหนึ่งที่ทางธุรกิจประสบกันอย่างมาก ก็คือ การสูญเสียบุคลากร ซึ่งปัญหาดังกล่าว อาจเกิดจากสาเหตุสำคัญหลายประการ สาเหตุประการหนึ่ง ก็คือ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรนั่นเอง ซึ่งเมื่อธุรกิจได้รับบุคลากรเข้าทำงานแล้ว บุคลากรไม่มีความรักในองค์การ บุคคลประเภทนี้ก็จะไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความทุ่มเทในการทำงาน องค์การจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความผูกพันต่อองค์การให้เกิดขึ้น เพื่อมัดใจให้บุคลากรอยู่กับองค์การนานๆ ซึ่งเมื่อบุคลากรเกิดความผูกพันต่อองค์การแล้ว ก็อาจจะนำไปสู่ความจงรักภักดี ความทุ่มเท ความกระตือรือร้นในการทำงาน ทั้งยังอาจช่วยลดปัญหาการลาออกของพนักงานในอนาคตต่อไปได้อีกด้วย การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพบต่อความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา บริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด” ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษาเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติที่ทำงาน ณ โรงงานบางบ่อ ถนนบางนา-ตราด กม. 35 เท่านั้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยทำการแบ่งคำถามออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นคำถามวัดความพึงพอใจในปัจจัยจูงใจ 6 ด้าน ส่วนที่ 3 เป็นคำถามวัดความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การ การวิเคราะห์ใช้ค่าสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูล คือ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ข้อมูลด้านปัจจัยจูงใจและข้อมูลความผูกพัน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรตามใช้การทดสอบที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ ส่วนการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ใช้ค่าสถิติไคสแควร์ในการทดสอล สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือ ปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เงินเดือน/ผลตอบแทน ความมั่นคงในงาน ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอิทธิพลกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การในระดับปานกลาง ผลการวิจัยในครั้งนี้ อาจจะมี Bias บ้าง เนื่องจากพนักงานอาจจะไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการถูกตำหนิจากหัวหน้างาน แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องของบริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด ควรจะพิจารณานำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงหน่วยงาน พร้อมทั้งแก้ไขในเรื่องของการบริหารทรัพยากมนุษย์ในองค์การ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างความผูกพันในองค์การ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การต่อไป th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject บริษัท อุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด th
dc.subject Acme Industries Co., Ltd. th
dc.subject พฤติกรรมองค์การ th
dc.subject Organizational behavior th
dc.subject การบริหารงานบุคคล th
dc.subject Personnel management th
dc.subject การบริหารองค์การ th
dc.subject Organization -- Management th
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ th
dc.subject Organizational commitment th
dc.title การศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : บริษัท อุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด th
dc.title.alternative The Motivational Factors Influencing Loyalty to the Organization : Case Study of Acme Industries Co., Ltd. th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account