DSpace Repository

การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงผิว

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชัย สายสดุดี
dc.contributor.advisor Apichai Saisadudee
dc.contributor.author จันทนา ลิ้มสุขเสกสรรค์
dc.contributor.author Jantana Limsukseksun
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-04-27T13:02:57Z
dc.date.available 2024-04-27T13:02:57Z
dc.date.issued 2006
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2068
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 th
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภท Cream บำรุงผิว (Nourishing Cream) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาที่มีผลต่อค่าประสิทธิผลโดยรวมของกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ประเภท Cream พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตโดยวิธีการเปรียบเทียบกับค่า Benchmarking ของข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี โดยใช้เครื่องมือทดสอบความสัมพันธ์ที่เรียกว่า การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และใช้เครื่องมือ TPM (การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม) ในเสาหลักที่มีชื่อว่า การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement) ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง การเก็บข้อมูลขณะทำการศึกษา/แก้ไข เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และสุดท้ายการวิเคราะห์ข้อมูลหลังทำการศึกษา พร้อมเปรียบเทียบผลที่ได้ก่อนและหลังทำการศึกษาโดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพช่วยในการศึกษา คือ ใบตรวจสอบ (Check Sheet) การวิเคราะห์พาเรโต (Pareto Analysis) และผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ผลการศึกษา พบว่าปัญหาที่ทำให้ค่า ร้อยละ Service Level ของผลิตภัณฑ์ประเภท Cream มีค่าต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์กลุ่มของ Roll-On และ Body นั้นมาจากปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต เนื่องมาจากค่าเฉลี่ยร้อยละประสิทธิผล โดยรวมของเครื่องจักรก่อนทำการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนกันยายน 2548 นั้นมีค่าเพียง 38.30 แต่เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างร้อยละ Service Level และค่าเฉลี่ยร้อยละ Supplier Performance Evaluation นั้นมีค่าเพียง 0.33 ซึ่งพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันค่าร้อยละเฉลี่ย Supplier Performance Evaluation นั้น ยังมีค่าสูงถึง 96.50 ซี่งสนับสนุนผลจากการวิเคราะห์ว่าปัญหาที่ทำให้ค่าร้อยละ Service Level มีค่าต่ำนั้นมีที่มาจากปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต สำหรับการศึกษาในส่วนของปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต พบว่า สาเหตุที่ทำให้ค่าร้อยละประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร มีค่าต่ำนั้นมาจากปัญหาตลับคว่ำ/ตัวยาราด และปัญหาฝาลงไม่ทันคิดเป็นร้อยละ 14.01 และ 13.86 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเวลารับภาระงานทั้งหมด โดยหลังจากทำการปรับปรุง/ศึกษา ค่าความสูญเสียลดลงเหลือร้อยละ 6.03 และ 2.45 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเวลารับภาะงานทั้งหมด ทำให้ค่าร้อยละประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมีค่าเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยก่อนปรับปรุงซึ่งอยู่ที่ 38.30 เป็น 67.50 และค่าร้อยละเฉลี่ย Service Level เพิ่มขึ้นจาก 94.86 เป็น 98.06 th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การวางแผนการผลิต th
dc.subject Production planning. th
dc.subject การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม th
dc.subject Total productive maintenance. th
dc.subject การควบคุมความสูญเปล่า th
dc.subject Loss control th
dc.subject ครีมบำรุงผิว th
dc.subject Nourishing cream th
dc.subject บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด th
dc.subject Beiersdore Company Limited th
dc.title การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงผิว th
dc.title.alternative Efficency Improvement of Total Processing for Nourishing Cream Products Group : Case Study of Beiersdore Company Limited th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account