Abstract:
การทำภาคนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการใช้บริการฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ 3. เพื่อนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางในการเสนอแนะ ให้กับฟาร์จระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ในการที่จะจัดการบริการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นที่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวขาวไทยมากยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูล ได้สอบถามข้อมูลจากผู้มาใช้บริการฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สำหรับเครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถาม มีคำถามรวม 49 ข้อ แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้กรอกแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการมาใช้บริการ ตอนที่ 3 ในส่วนความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window 7.5 หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้มาใช้บริการ กับระดับความพึงพอใจ การทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีของไค-สแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.44 2. ผู้มาใช้บริการมีระดับความพึงพอใจแบ่งแยกตามส่วนต่างๆ 7 ส่วน เรียงลำดับ ดังนี้ ลำดับ 1 ส่วนของความสะดวกในการเดินทาง มีระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.77 ลำดับที่ 2 ส่วนของคุณภาพการบริการมีระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.70 ลำดับ 3 ส่วนของฟาร์จระเข้และสวนสัตว์ มีระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.68 ลำดับ 4 ส่วนอำนวยความสะดวก มีระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.51 ลำดับ 5 ส่วนของการบริการของเจ้าหน้าที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.28 ลำดับ 6 ส่วนการประชาสัมพันธ์ มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.18 ลำดับ 7 ส่วนค่าบริการ มีระดับความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.99 3. สรุปผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า สมมติฐาน 8 ข้อ ได้รับการยอมรับ 3 ข้อ ปฏิเสธ 5 ข้อ คือ ได้รับการยอมรับ 3 ข้อ ดังนี้ 3.1 จำนวนครั้ง (ความถี่) ที่มาใช้บริการฟาร์มจระเข้ฯ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.2 เพศ ไม่มมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.3 อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.3 อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ ปฏิเสธสมมติฐานหลัก โดยยอมรับสมมติฐานรอง 5 ข้อ ดังนี้ 3.4 ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า ผู้มาใช้บริการ มีความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการในระดับมาก คือ ผู้มาใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการมาใช้บริการในระดับปานกลาง 3.5 ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า สถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ คือ สถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.6 ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า การศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ คือ การศึกษา มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.7 ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ คือ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ 3.8 ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า รายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ คือ รายได้ มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจที่มาใช้บริการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่า ทางฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ ควรเร่งปรับปรุงในส่วนของการบริการที่มีระดับความพึงพอใจปานกลาง คือ ส่วนของการบริการของเจ้าหน้าที่ ส่วนการประชาสัมพันธ์ และส่วนค่าบริการ