DSpace Repository

พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล
dc.contributor.author คนึงนิตย์ โชติช่วง
dc.date.accessioned 2024-04-27T16:03:38Z
dc.date.available 2024-04-27T16:03:38Z
dc.date.issued 2003
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2083
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 th
dc.description.abstract ยาเป็นปัจจัยหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ร้านขายยาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่กระจายยาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญเปรียบเสมือนเป็น “ที่พึ่งด้านสุขภาพของชุมชน” เป็นทางเลือกกนึ่งของประชาชนในการใช้บริการเมื่อมีอาการหรือเจ็บป่วยเบื้องต้น ร้านขายยาในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบการบริการที่หลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าจะพิจารณาจากทำเลที่ตั้งการตกแต่งร้าน ราคายา การมีเภสัชกรประจำร้าน เป็นต้น ความแตกต่างของคุณภาพการบริการของร้านขายยาเป็นประเด็นหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือผู้ป่วย มาตรฐานร้านขายยาจึงถูกพัฒนาขึ้น ให้สามารถเป็นหน่วยบริการหนึ่ง ในเครือข่ายระบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น และมีเสรีในการเลือกใช้บริการได้ตามความพึงพอใจ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนร้านขายยาทั่วประเทศไทยมีมากกว่า 12,119 แห่ง เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย. 1) จำนวน 4,723 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จ (ขย. 2) 5,147 แห่ง ร้านขายยาแผนโบราณ 2,249 แห่ง และอีกจำนวนหนึ่งเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2540) จากจำนวนร้านขายยาที่มีอยู่มาก และกระจายอยู่ทั่วไป จึงทำให้การซื้อยารับประทานเองมีความสะดวกกว่าการไปพบแพทย์ ทำให้ร้านขายยาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมาใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคในเขตเมืองพัทยา โดยมีสมมติฐานในการศึกษา คือ สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ และสถานภาพการสมรส มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคและสมมติฐานที่ 2 ร้านขายยาที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านขายยามากที่สุด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาวิจัย คือ 1. นำไปวางแผนทางด้านการตลาด 2. นำมาเป็นแนวทางในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากสุด 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้ที่มีความสนใจทั่วไป จากการวิจัย นำมาสู่ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกลยุทธ์ทางด้านตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านทำเลที่ตั้ง (Place) และด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) ของร้านขายยาในปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค th
dc.subject Consumer behavior th
dc.subject ร้านขายยา -- ไทย -- ชลบุรี (พัทยา) th
dc.subject Drugstores -- Thailand -- Chonburi (Pattaya) th
dc.subject ร้านขายยา -- การจัดการ th
dc.subject Drugstores -- Management th
dc.title พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านขายยาในเขตเมืองพัทยา th
dc.title.alternative Consumer Behavior in Drug Stores Services : A Case Study of People in Pattaya City th
dc.type Independent Studies th
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account