การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา กายวิภาคศาสตร์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการเรียน ระหว่างการเรียนโดยวิธีการประยุกต์ ใช้เทคนิคเอไอซีและวิธีเรียนแบบปกติ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคนิคการแพทย์และคณะสาธารณสุข ศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ จำนวน 200 คน แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 95 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 105 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นลำดับชั้น เปรียบเทียบผลการศึกษาโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมและคะแนนปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) แต่คะแนนภาคบรรยายมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (p>.05) นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ p<.01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้เทคนิคเอไอซีในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์มีผลในการเพิ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของนักศึกษาได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
This study aimed to compare the learning achievement of students in the anatomical course and the affecting factors between the students learned by the application of AIC technique and the conventional method of both pre and post experiments. The samples were 200 second year students of the Faculty of Medical Technology and Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University enrolled in the anatomical course. By multistage sampling method, the students were divided into an experimental group and a control group of 95 and 105 students respectively. The data were analyzed by multivariate analysis of variance (MANOVA). The results revealed that the students in both groups had post experimental total and laboratory score higher than their pre-experimental score significantly (p<.001) but their lectural score was not different (p>.05). In addition, the students in the experimental group had average change score of the affecting factors higher than their pre-experimental and the control group significantly (p<.001 and p <.01). So applying AIC in anatomy learning activities of anatomy has resulted in an increase of factors affected to students learning effectively.