DSpace Repository

คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสนาะ ติเยาว์
dc.contributor.advisor Sanoh Tiyao
dc.contributor.author จิรากร ยิ้มเนียม
dc.contributor.author Jirakorn Yimniam
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-05-14T14:41:15Z
dc.date.available 2024-05-14T14:41:15Z
dc.date.issued 1999
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2239
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 en
dc.description.abstract เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความสำคัญต่อการบริหารของทุกองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การของภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้คนมีความพึงพอใจในการทำงาน และองค์การสามารถจะนำคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ องค์การจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของคนหรือผู้ที่ปฎิบัติงานให้แก่องค์การให้มากที่สุด และจากแนวคิดนี้ทำให้การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การถือว่าเป็นแนวคิดทางด้านการบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ที่องค์การต่างๆ ได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคคล ทั้งนี้ เพราะบุคคลถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีส่วนในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตและความสำเร็จขององค์การ และด้วยปัจจุบันองค์การโดยเฉพาะองค์การมหาชน กำลังเผชิญกับภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงที่นอกจากจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการแล้ว ยังต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาคุณภาพของคนภายในองค์การด้วย ดังนั้น บุคลากรผู้ปฎิบัติงานในองค์การเอกชนจึงควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชน ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ ที่ได้ทำการเลือกกลุ่มประชากรที่เป็นพนักงานขององค์การเอกชนแห่งหนึ่งมาทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การแห่งนี้ และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลบางประการ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน และระดับตำแหน่งงาน เพื่อดูผลความเหมือนหรือความแตกต่างกันของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัยไว้ว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงานและระดับตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันของพนักงาน มีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมีความแตกต่างกัน ส่วนองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงาน ผู้วิจัยได้นำตัวแปรองค์ประกอบตามแนวคิดของฮิวส์ และ คัมมิงส์ (Huse and Commings) ซึ่งได้แก่ รายได้และผลประโยชน์ตอบแทนที่ยุติธรรม และพอเพียง สภาพที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย โอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน การบริหารงานที่เป็นธรรมและเสมอภาค ความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการทำงานและช่วงเวลาที่ได้พักผ่อนมีความเป็นส่วนตัว และความภูมิใจในองค์การ วิธีการศึกษาวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณา โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 192 ตัวอย่างซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยอาศัยระดับตำแหน่งงานเป็นเกณฑ์ การสร้างแบบสอบถามสร้างขึ้นตามมาตรวัดของ Likert Scale ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทดสอบสมมติฐานต่างๆ ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (F-Test) และทดสอบหาคู่แตกต่างด้วยวิธีของเชฟเฟ่ โดยการทดสอบสมมติฐานถือเอาระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นเกณฑ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พนักงานในองค์การเอกชนแห่งนี้ มีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความแตกต่างในเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน และระดับตำแหน่งงานของพนักงานในองค์การเอกชนแห่งนี้ ไม่ได้มีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมีความแตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% 3. เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงานแต่ละด้าน และทดสอบหาคู่แตกต่างพบว่า เพศหญิงมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานสูงกว่าเพศชาย พนักงานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความก้าวหน้าในการทำงานสูงกว่าพนักงานที่มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ในขณะที่จะมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานต่ำกว่าพนักงานในระดับอายุอื่นๆ และพนักงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และอยู่ในระดับบริหาร จะมีคุณภาพชีวิตในการาทำงานด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และที่ทำงานอยู่ในระดับปฏิบัติการ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน en
dc.subject Quality of work life en
dc.subject ความพอใจในการทำงาน en
dc.subject Job satisfaction en
dc.title คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง en
dc.title.alternative Quality of Work Life of Employees in a Private Organization en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account