วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อวิเคราห์การปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟีคัลโลลิฟอร์มแบคทีเรีย และ E. coli ในตัวอย่างเนื้อหมู ด้วยวิธี conventional MPN โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อหมู จำนวน 24 ตัวอย่าง จากตลาดสดและร้านสะดวกซื้อ ตำบาลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ผลการตรวจวิเคราะห์พบการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และ E. coli ในตัวอย่างเนื้อหมู คิดเป็นร้อยละ 100, 95.8 และ 45.8 ตามลำดับ ตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดสดส่วนใหญ่มีปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมดและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 MPN ต่อกรัม ซึ่งสูงกว่าตัวอย่างจากร้านสะดวกซื้อที่มีปริมาณอยู่ในช่วง 3-100 MPN ต่อกรัม ในขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่จากตลาดสดและร้านสะดวกซื้อมีปริมาณ E. coli อยู่ในระดับต่ำ คือ น้อยกว่า 3 MPN ต่อกรัม ทั้งนี้ตัวอย่างจากตลาดสดและร้านสะดวกซื้อมีปริมาณ E. coli ผ่านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหาร คิดเป็นร้อยละ 90.1 และร้อยละ 100 ตามลำดับ จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าเนื้อหมูมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์กลุ่มโคลิฟอร์มแบคทีเรียอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรตระหนักถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคอุจาระร่วงอันมีสาเหตุมาจากการบริโภคเนื้อหมูเหล่านี้
The objective of this study was to analyse the contamination of total coliform bacteria, fecal coliform bacteria and E.coli in pork by conventional MPN method. Twenty-four pork samples were collected from fresh markets and convenience stores in Bang Chlong, Bang Phli, Samut Prakan Province, during October to November 2016. The result showed that contamination of total coliform bacteria, fecal coliform bacteria and E.coli in pork samples were 100%, 95.8% and 45.8%, respectively. The quality of total coliform bacteria and fecal coliform bacteria in most of fresh market samples, with the high number of over 1,000 MPN.g, were greater than convenience store samples with 3-100 MPN/g. While major samples obtained from fresh market and convenience store were demonstrated the low number of E.coli as less than 3 MPN/g. The quality of E.coli in fresh market and convenience store samples were below the limit of food microbiological standard according for 90.1% and 100%m, respectively. According to the results, pork was contaminated with high level of coliform bacteria. Therefore, consumer should be aware the risk of acute diarrhea through the consumption of these pork products.