งานวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้คุณค่าวรรณคดีไทยผ่านรูปแบบสื่อประสม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีไทย และเพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยผ่านรูปแบบสื่อประสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจปัญหาการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีไทย ด้วยวิธีการสัมภาษณ์นักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย จำนวนรวม 180 คน และประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยผ่านรูปแบบสื่อประสม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนไม่ได้เกลียดหรือไม่ชอบเนื้อหาในวรรณคดีไทย แต่เบื่อหน่ายการเรียนการสอนวรรณคดีไทย เนื่องจากครูสอนอ่านเอาเรื่อง ให้ท่องจำคำศัพท์ สอนโดยไม่เชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตประจำวันของผู้เรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดี ควรให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด การกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกตั้งคำถาม การเล่นเกม การแสดงบทบาทสมมุติ การฝึกคิดแก้ปัญหาแทนตัวละคร การเชื่อมโยงเนื้อหาในอดีตมาสู่ชีวิตจริงในปัจจุบัน การวิเคราะห์วิจารณ์ภาษา เนื้อหา คุณค่าในวรรณคดี ผลการคัดเลือกวรรณคดีไทยที่จะนำไปทำสื่อประสม จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ นิราศภูเขาทอง พระอภัยมณี ลิลิตตะเลงพ่าย มัทนะพาธา ขุนช้างขุนแผน สามก๊ก โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปจัดทำสื่อประสมและเทคนิคการนำเสนอ ด้วยการวาดภาพตัวละคร การถ่ายทำวีดิทัศน์ การเล่นเกม จัดทำการ์ตูนเอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก การนำสื่อภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์ บางตอนมาประกอบในสื่อประสม การอัดเสียงบรรยาย สนทนา การอ่านบทกลอนเป็นร้อยแก้ว ปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดทำสื่อประสมวรรณคดีไทยประสบความสำเร็จคือ การให้ความสำคัญกับการจัดทำ Storyboard และเนื้อหาวรรณคดีไทยทั้ง 6 เรื่อง เป็นอย่างมาก ตรวจแก้ไข และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียดมากเพื่อให้สื่อประสมที่จัดทำสามารถสื่อเรื่องราววรรณคดีไทยที่สามารถพัฒนาผู้เรียนด้านการเรียนรู้คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ คุณค่าด้านสังคม และคุณค่าด้านคติธรรม ได้อย่างลึกซึ้งตามแนวคิดสำคัญของวรรณคดีไทยทั้ง 6 เรื่อง
This research aimed to investigate problems of learning Thai literature and to propose guidelines for improving learning Thai literature through multimedia. Methods of a survey research were applied to find out problems of teaching Thai literature by interviewing 180 students of the secondary level and of university, majoring in Thai. Group discussions of scholar were held in order to give guidelines for designing learning Thai literature through multimedia.
The research found that students did not dislike contents of Thai literature but felt bored of teachers’ teaching styles focusing on reading comprehension and memorizing vocabulary without relating the stories to learners’ daily life. In order to solve the problems, the focus of teaching should be on improving learners’ skills of thinking, asking questions, creating games or activities, performing role-plays, solving problems of characters, relating stories in the past to nowadays lives, and analyzing stories and values in the studied literature. Six classical Thai literature were selected for making multimedia, which were Niras Phukhaotong; Pra Apaimanee; Lilit Talaengpai; Muttanapatha; Khunchang Khunphan; and Samkok. The multimedia suggested to be created were: drawings of characters; video making; electronic games; animated cartoons; moving pictures; graphic pictures; adding parts of films, stage dramas, or television dramas in the teaching media; audio recording; conversations; and reading proses of the poetry. Factors making the created multimedia efficient were the focus on storyboard and the content of the six literature. Also, the careful reviews and suggestions made the completed media very effective, which motivated learners to be aware of aesthetic, social, and moral values of the six literature.