งานวิจัยศึกษาความเป็นไปได้ของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และศึกษาความคิดเห็น และความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว ภายในตำบลบางโฉลง เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเชิงสำรวจ ผู้วิจัยใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แผนที่ การลงพื้นที่จริง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเลือกจากผู้นำชุมชนใน 11 หมู่บ้าน และผู้ประกอบการการผลิตสินค้าภายในชุมชน รวมทั้งสิ้น 12 คน พบว่า ความเป็นไปได้ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ สามารถพัฒนาและผลักดันได้ 3 เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ 1. เส้นทางท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตท้องถิ่น 2. เส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาและประวัติศาสตร์ 3. เส้นทางท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อและร่วมกิจกรรมต่างๆ และผลการวิจัยความคิดเห็น และความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ต่อการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวภายในตำบลบางโฉลง พบว่าส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันที่จะพัฒนาและผลักดันให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวกิจกรรม ตลอดจนสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นมีอัตลักษณ์แสดงถึงคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ สามารถสรุปได้ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายในพื้นที่ยังขาดความเชี่ยวชาญในการจัดการด้านการท่องเที่ยว ขาดบุคลากรและผู้ประสานงานในการจัดทำแผนงานและดูแลการจัดการการท่องเที่ยว คนในท้องถิ่นยังขาดทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐมีลักษณะเป็นวาระทำให้การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว ภายในตำบลเป็นไปตามนโยบาย ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผุ้บริหาร มีการโอนย้ายตำแหน่งต่างๆ ส่งผลให้งานด้านพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ขาดการวางแผน การประชาสัมพันธ์ การจัดพื้นที่ การจัดกิจกรรม ทางการตลาด การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ป้ายสื่อความหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ตลอดจนการวางแผนเพื่อประเมินผลกระทบที่จะได้รับการท่องเที่ยวทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ข้อเสนอแนะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรวางแผนในเรื่องของการตลาดและการประชาสัมพันธ์เส้นทาง ข้อเสนอแนะ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรวางแผนในเรื่องของการตลาดและการประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้ให้เป็นที่รู้จักทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยอาจเพิ่มการเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ หรืออาจนำไปรวมในรายการนำเที่ยวของบริษัทจัดนำเที่ยวต่างๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมองหาความเป็นไปได้ในการจัดหาที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเที่ยวชมและพักผ่อนภายในตำบลบางโฉลงมากกว่าหนึ่งวัน
Research on “Feasibility Study of Cultural Tourism Route in Bangchalong Sub-district, Bang Phli District, Samutprakarn Province” aims to investigate the cultural tourism attractions and the possibility to develop cultural tourism route in Bangchalong Sub-district, Bang Phli District, Samutprakarn Province. Also, local community’s view regarding their role I cultural tourism route development was examined. A survey was conducted by field study and in-depth interviewing of 11 village leaders and 1 local entrepreneur. It was found that there is possibility in developing the cultural tourism route in Bangchalong, Bangplee, Samutprakarn province. Three routes of cultural tourism are to be developed and promoted which are (1) visiting local way of life, (2) paying visit to religious and historical places, and (3) joining local cultural festival. The findings of the study revealed that the majority of respondents agreed to develop and promote the community as a cultural tourism destination bases on their resources including the cultural tourist attractions and their uniqueness of local culture. However, there are several barriers in tourism management in the area which can be summarized as follows: local government and private sectors lack of professional tourism management skills; lack of personnel and skills of being good hosts; the administration of the government sector serves for aa definite term therefore the tourism policy and operation are disconnected; and lack of public relations, marketing planning, space and activities arrangement, provision of facilities, interpretation signs even the evaluation plan to assess the impact of tourism both the positive and the negative aspects. For suggestions, the stakeholders should develop marketing and public relations strategies to promote this cultural tourism route to both Thai and foreign visitors, creating tourism network with nearby attractions in Samutprakarn and including Bangchalong cultural tourism routes in the tour itinerary of the tour operators are also recommended. Local people could also take steps such as providing a homestay accommodation to accommodate tourists wishing to visit and relax in Bangchalong more than a single day.