Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา : องค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 3 ประการ คือ 1. เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ด้านดูแลสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 2. เพื่อศึกษาการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 3. เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปปรับระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์กรรัฐวิสาหกิจ ที่ผ่านการตรวจสอบ ขอใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 14001 แล้ว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และบางจากปิโตรเลียม บจก. มหาชน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำถาม 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และความรู้พื้นฐาน ISO 14001 ส่วนที่สอง เป็นแบบวัดเพื่อศึกษาระบบมาตรฐานน ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยในลักษณะคำถามแบ่งออกเป็น 7 ด้านได้แก่ 1. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ควบคุมมลพิษได้ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม 2. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กรในสายตาบุคคลภายนอก 3. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 สร้างความพึงพอใจของพนักงานในองค์กรได้ 4. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ช่วยลดต้นทุนได้ 5. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ทำให้คุณภาพงานดีขึ้น ได้มาตรฐาน 6. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ทำให้พนักงานมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม 7. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ใช้ค่าร้อยละในการพรรณนาข้อมูล ส่วนการทดสอบสมมุติฐาน ผู้ศึกษาได้ใช้ตัวสถิติทดสอบ คือ ใช้ ไคสแควร์ทดสอบ โดยกำหนดนัยสำคัญ ณ ระดับ 0.05 ผลการศึกษาเกี่ยวกับระบบมาตรฐาน ISO 14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการทำแล้ว พบว่า 1. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ควบคุมมลพิษได้ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมในระดับสูงร้อยละ 50 2. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์กรในสายตาบุคคลภายนอกในระดับสูงร้อยละ 52 3. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 สร้างความพึงพอใจของพนักงานในองค์กรได้ในระดับสูงร้อยละ 64 4. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ช่วยลดต้นทุนได้ ในระดับสูงร้อยละ 70 5. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ทำให้คุณภาพงานดีขึ้น ได้มาตรฐาน ในระดับสูงร้อยละ 64 6. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ทำให้พนักงานมีจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมในระดับสูงร้อยละ 52 7. ระบบมาตรฐาน ISO 14001 ช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุในการทำงานในระดับสูงร้อยละ 68 เพราะฉะนั้นสมมติฐานทั้ง 7 ด้านนี้ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่า เป็นที่ยอมรับของกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นองค์กรรัฐวิสาหกิจควรจะนำผลการศึกษาในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรต่อไป พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขในเรื่องจัดให้มีการอบรม สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐาน ISO 14001 ให้กับพนักงานทั้งองค์กร และปลูกฝังจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความรู้สึกเต็มใจที่จะปฏิบัติจนเป็นนิสัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ต่อผู้ที่สนใจ และต่อประชากรบนโลก