วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง “การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของข้าราชการ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา” คือ เพื่อศึกษาลักษณะการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อศึกษาแนวทางและกระบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้คงอยู่ในวิถีชีวิตของข้าราชการ และเพื่อศึกษาวิถีชีวิตภายหลังการปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บัญชาการเรือนจำ ข้าราชการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ซึ่งเป็นกรณีศึกษาจำนวน 14 คน และจัดสนทนากลุ่มครอบครัวข้าราชการที่เป็นกรณีศึกษาผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของข้าราชการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว เริ่มจากผู้บัญชาการเห็นถึงความยากลำบากของข้าราชการที่ต้องเดินทางไปซื้อสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเรือนจำอำเภอสีคิ้วอยู่ห่างไกลจากชุมชน จึงมีแนวคิดในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในเรือนจำ หลังจากนั้นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้มาตรวจเยี่ยมเรือนจำ และได้มีนโยบายมอบหมายให้เรือนจำสีคิ้ว ดำเนินการบริหารและเปลี่ยนวิถีชีวิตของข้าราชการโดยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เรือนจำอื่น ๆ ผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า แนวทางและกระบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้คงอยู่ในวิถีชีวิตของข้าราชการ เริ่มจากผู้บัญชาการเรือนจำที่ได้ทำเป็นแบบอย่าง ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชาและครอบครัวเป็นอย่างดี การดำเนินงานเน้นการสร้างความสามัคคี และการมีส่วนร่วมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการดำเนินโครงการร่วมกัน ยังผลให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้รับการยอมรับจากเรือนจำอื่น ๆ ผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า วิถีชีวิตของข้าราชการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ภายหลังการปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดความสามัคคีในหมู่ราชการมากขึ้น เกิดการลดซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าที่ไม่จำเป็นลง หยุดการดื่มสุราหลังจากเลิกงาน ลดการออกไปเที่ยวเตร่ ซื้อของในห้างสรรพสินค้าลง ทำให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปสอนผู้ต้องขัง โดยจัดตั้งศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียงในเรือนจำ เพื่อฝึกให้ผู้ต้องขังเรียนรู้และนำไปปฏิบัติหลังพ้นโทษ และมีการนำผลผลิตจากเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในเรือนจำ ทำให้เรือนจำมีความสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น เกิดการยอมรับจากบุคคลภายนอกมากขึ้นจากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบายให้กรมราชทัณฑ์มีนโยบายส่งเสริมให้มีเรือนจำที่เป็นศูนย์กลางในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละภาค เพื่อให้เรือนจำในเขตได้เข้ามาดูงาน ส่งเสริมให้ทุกเขตควรมีเรือนจำนำร่องในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในเรือนจำทั่วประเทศ โดยใช้แนวทางการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการใช้ทุน 3 ด้าน ที่มีอยู่ในเรือนจำอย่างสมดุลกัน ได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะสามารถสร้างเครือข่ายแห่งความร่วมมือ ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเรือนจำต่าง ๆ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ การขับเคลื่อนองค์กรแห่งความพอเพียงในเรือนจำควรเริ่มจากการปฏิบัติจริงก่อนเพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธา ควรมีการประชุมหารือกันเป็นประจำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันซึ่งควรเริ่มที่ผู้บัญชาการเรือนจำก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายออกไปยังบุคลากรทุกคน นอกจากนี้เรือนจำที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหนึ่งแล้วควรมีส่วนช่วยให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพของชุมชน รอบข้างในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยสอนคนในชุมชนให้รู้จักตนเอง ส่งเสริมศักยภาพในการเรียนรู้ ให้รู้จักทุนเศรษฐกิจและทุนทางสังคมของชุมชนตนเอง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้คนในชุมชนสามารถวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับผลกระทบของกระแสทุนนิยมที่มีต่อชุมชนในทุกระดับ เพื่อให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทัน และไม่ตกหลุมพรางของโลกาภิวัตน์
The objectives of this research was to study application of economic sufficiency philosophy in daily life of civil servant of Sikhio prison, to study methods and procedures of driven economic sufficiency of civil servant life style in the long run, and to study way of life of civil servant of Sikhio prison after used economic sufficiency. This research used qualitative methods to collect data. The in-depth interview was used to interview the prison commander and 14 prison civil servant as case study. The focus group was used to discuss with family of civil servant case study. The study of the first objective showed that methods and procedure to driven economic sufficiency started by the prison commander of Sikhio prison due to the location of Sikhio prison far away from community. The civil servants and their family have difficulty to buy goods and food, so the idea to driven economic sufficiency was the solution for their difficulty. After that, the Director of Correction Department visited Sikhio prison and assigned Sikhio prison to manage its organization and changing way of life of civil servants by adopting economic sufficiency philosophy.The study of the second objective showed that the methods and procedures of driven economic sufficiency starting from the prison commander performing economic sufficiency model to convince the civil servants. As a result, there were acceptance and support from civil servants’ family and their way of life have changed significantly. The methods and procedures emphasis on unity and participation of civil servants which making them pound of recognition by the others prison as sufficiency organization model.The study of the third objective showed that the life style of civil servant in Sikhio prison have been changing e.g. better unity among civil servants, less unnecessary expenses, decrease shopping in department store, no more drinking alcohol after working hour, saving money of civil servant ‘s family getting higher, etc. Moreover, economic sufficiency life style is applied to teach prisoner by setting up the demonstration center of economic sufficiency to train prisoner. The product of economic sufficiency were used in prison making prison clean and odorless. These changes helped improvement of Sikhio prison’s image which leading to receive more acceptance by outsider.From the finding of study, the suggestion in policy level composed of the Department of Prison should promote a prison in each region as a model of economic sufficiency for learning center of each region, support a pilot prison in economic sufficiency in the region, support economic sufficiency in prison nationwide by applying holistic approach to develop social capital, economic capital and resource capital properly in each locality. The result of supporting can build cooperative network, helping interactive learning between any prison, and resulting sustainable develop in the future. For practical suggestions, the promotion of sufficiency organization in prison should be started from real practice for stimulating faith, regular meeting should be performed to create the understanding in the same direction which should begin from prison commander and extending to all staff. Moreover, the successfully prison in economic sufficiency should transfer knowledge and develop potential of surrounding community in analyzing themselves, developing potential of learning, and knowing economic and social capital of their community. This will enable community to analyze and understand the impact of capitalism in every level, creating immunization of community, aware of and not fall in trap of globalization.