การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหาปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในซูชิและเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคซูชิ กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยครั้งนี้ใช้ซูชิจำนวน 10 หน้า ข้าวปั้น และสาหร่ายโนริ แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในซูชิ ด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer โดยการใช้เทคนิค Graphite Furnace Atomic Absorption ผลการสำรวจ พบว่ามีปริมาณตะกั่วในหน้าแซลมอนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0022 mg/kg ในขณะที่ปริมาณแคดเมียมพบว่ามีในกุ้งมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0078 mg/kg นอกจากนี้ยังพบการรปนเปื้อนโลหะหนักในสาหร่ายโนริ ซึ่งปริมาณการปนเปื้อนทั้งตะกั่วและแคดเมียมเฉลี่ยเท่ากับ 0.0050 mg/kg และ 0.0146 mg/kg ตามลำดับ และในข้าวมีปริมาณตะกั่วและแคดเมียมเฉลี่ย 0.0003 และ 0.0010 mg/kg ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม โลหะหนักที่ปนเปื้อนในหน้าซูชิ และสาหร่ายโนริ มีค่าไม่เกินข้อกำหนดชอง CODEX Alimentarius Food Standard นอกจากนี้ ผลประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคซูชิ พบว่า การปนเปื้อนโลหะหนักจากการรับประทานซูชิยังไม่อยู่ในระดับที่ส่งผลต่อความเสี่ยงสุขภาพ
Furnace Atomic Absorption. The results found that Lead contamination was maximized in salmon topping with the average concentration as 0.0022 mg/kg. Cadmium concentration was maximized in shrimp topping with the average concentration as 0,0078 mg/kg. In addition, average concentration of Lead and Cadmium were found in Nori seaweed to be 0.0050 mg/kg and 0,0146 mg/kg, respectively, while these heavy metals were found in the rice with the average concentration as 0.0003 and 0.0010 mg/kg, respectively. However heavy metals in all sample did not exceed than The CODEX Alimentarius regulation. Moreover, the health risk assessment from sushi consumption was not to have any impact to health.